วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๒ ประจำเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม ๒๕๖๓ วารสารที่มีเนื้อหาการเผยแพร่บทความทางวิชาการและวิจัยด้านพระพุทธศาสนาและปรัชญารวมถึงส่งเสริมการผลิตผลงานทางวิชาการและงานวิจัยบทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องหรือเชื่อมโยงกับหลักพระพุทธศาสนาทั้งแนวคัมภีร์และแนวประยุกต์บูรณาการคำสอนทางพระพุทธศาสนา และหรือทฤษฎีด้านปรัชญาตะวันออกและปรัชญาตะวันตก ถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของวารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์

วารสารฉบับนี้ ยังคงอยู่ในช่วงที่โลกยังต้องเผชิญกับวิกฤติโรคระบาดไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลาติดต่อกัน จนทำให้วิถีชีวิตของมนุษย์ทั่วทุกมุมของโลกมีการดำรงชีวิตที่แปรเปลี่ยนไป จนเกิดคำสำคัญคำหนึ่งได้แก่ “New Normal” ซึ่งราชบัณฑิตยสภาให้ความหมายไว้ว่า “ความปกติใหม่ , ฐานวิถีชีวิตใหม่ หมายถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีต อันเนื่องจากมีบางสิ่งมากระทบ จนแบบแผนและแนวทางปฏิบัติที่คนในสังคมคุ้นเคยอย่างเป็นปกติและเคยคาดหมายล่วงหน้าได้ ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีใหม่ภายใต้หลักมาตรฐานใหม่ที่ไม่คุ้นเคย”

รูปแบบวิถีชีวิตใหม่นี้ ถ้ามองในภาพรวมก็จะประกอบด้วยวิธีคิด วิธีเรียนรู้ วิธีสื่อสาร รวมถึงวิธีปฏิบัติและการจัดการเป็นต้น การใช้ชีวิตแบบใหม่เกิดขึ้นหลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงในสถานกาณ์การแพร่ระบาดของ “โควิด-19” ช่วงปลาย พ.ศ. ๒๕๖๒ จนถึง ณ เวลาปัจจุบันที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงจนแพร่กระจายไปในประเทศต่างๆ ทั่วโลก จึงทำให้มนุษย์ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ปัจจุบันมากกว่าจะที่จะกลับมาดำเนินชีวิตในรูปแบบเดิมๆ ซึ่งในมุมมองทางพระพุทธศาสนาถือเป็นเรื่องที่ท้าทาย เป็นการบ้านโจทย์สำคัญที่นักวิชาการด้านพุทธศาสนาจะต้องตื่นตัวและพร้อมที่จะให้ตอบต่อคำถามเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติต่อไป

เผยแพร่แล้ว: 2020-06-02

แนวคิดเรื่อง “ความหวัง” ในพุทธศาสนาเถรวาท

ดร.พิชญรัตน์ เหมนาไลย, ผศ.ดร. เดโชพล เหมนาไลย

12-29

การวิเคราะห์สังเคราะห์องค์ความรู้และกระบวนการให้การปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยา

นวลวรรณ พูนวสุพลฉัตร, พระครู พิพิธปริยัติกิจ, พระครู กัลยาณสิทธิวัฒน์, กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์

79-91