การปรับตัวและการร่วมมือกันในสถานการณ์โควิด ๑๙ ตามแนวพุทธศาสน์

Main Article Content

Teerachoot Kerdkaew

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         บทความนี้มุ่งนำเสนอการปรับตัวและการร่วมมือกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ๑๙ โดยประยุกต์จากหลักสัทธรรม หมายถึง หลักหรือแก่นพระพุทธศาสนามาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติใน ๔ ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมรับ คือ การยอมรับความจริงอย่างมีสติว่า โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดกับสัตว์โลกอยู่ตลอด และเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับโรคภัยอย่างรู้เท่าทัน ไม่ประมาท ขั้นเตรียมการ คือ การเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน คิด ทำ พูดเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อกัน คัดกรองข่าวสารที่ถูกต้องเป็นจริงเพื่อใช้เป็นแนวทางป้องกันตัวและปฏิบัติให้ถูกต้องในสถานการณ์ที่มีอันตรายเช่นนี้บนพื้นฐานของการใช้ปัญญาพิจารณาอย่างรอบคอบ ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ ขั้นปฏิบัติ คือ การสร้างบุญร่วมกันด้วยการเสียสละ ช่วยเหลือ ชื่นชม ให้กำลังใจ แนะนำเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อกัน เป็นคนที่รู้จักเหตุ ผล ตัวเอง ประมาณ กาลเวลา ชุมชน และบุคคล และปฏิบัติต่อเรื่อง นั้น ๆ ได้อย่างถูกต้อง พิจารณาก่อนกินใช้สิ่งต่าง ๆ โดยคำนึงถึงประโยชน์และความปลอดภัยเป็นที่ตั้ง ทุกคนต้องไม่มีอคติต่อกัน แต่จะร่วมกันสร้างพลังแห่งธรรมเพื่อขจัดโรคร้ายด้วยปัญญา ความเพียร ความสุจริต และการสงเคราะห์กันตามความเหมาะสม มีความรัก สงสาร ชื่นชน และความยุติธรรมให้แก่กัน ขั้นรับผลของการปฏิบัติ คือ ประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคมที่เกิดจากการเตรียมรับอย่างมีสติ การเตรียมการให้มีภูมิคุ้มกันตัวเอง และการสร้างพลังแห่งความดีที่จะช่วยให้มนุษยชาติผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปได้ด้วยกันอย่างปลอดภัย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๓๐.

กรุงเทพมหานคร: ธรรมทานกุศล, ๒๕๕๘.

______. พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ ๔๓. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิธรรมทานกุศลจิต, ๒๕๕๘.

พระสิริมังคลาจารย์. มงฺคลตฺถทีปนิยา ปฐโม ภาโค. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย,

๒๕๒๔.

พันธุ์ทิพย์ ธีรเนตร. (๑๙ มีนาคม ๒๕๖๓). ‘โรคระบาด’ ในประวัติศาสตร์ไทย เราผ่านพ้นมาได้อย่างไร?.

ค้นคืนจาก https://www.matichon.co.th/prachachuen/prachachuen-scoop/news_

๒๐๖๙๘๒๖.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร:

การศาสนา, ๒๕๑๔-๒๕๑๕.

______. อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺฐกถา. กรุงเทพมหานคร: วิญญาณ, ๒๕๓๒.

______. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร:

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

Muzika. (๒๘ มกราคม ๒๕๖๓). ๑๐ โรคระบาด ภัยร้ายแรงในประวัติศาสตร์โลก คร่าชีวิตผู้คนนับล้าน.

ค้นคืนจาก https://travel.trueid.net/detail/KwMX๒yMxJzzG?gclid=EAIaIQobChMIjPay

๙pLQ๖AIVgg๔rCh๒akghTEAAYASAAEgJ๑๖PD_BwE.