https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/issue/feed วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ 2024-12-20T17:43:40+07:00 ดร.อุดม จันทิมา udomchantima@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรรศน์</strong> <br>ISSN : 1905-1603&nbsp; &nbsp;(Print) <br>ISSN : 2697-4215&nbsp; &nbsp;(Online)</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p>&nbsp; &nbsp;๑. เพื่อส่งเสริมการผลิตผลงานทางวิชาการและงานวิจัยด้านพระพุทธศาสนาและปรัชญา</p> <p>&nbsp;&nbsp; ๒. เพื่อให้บริการทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนาและปรัชญาแก่สังคม</p> <p>&nbsp;&nbsp; ๓. เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนแนวคิดทางพระพุทธศาสนาและปรัชญา</p> <p>&nbsp;&nbsp; ๔. เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย</p> https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/271509 ศึกษาสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบันของภิกษุณีในประเทศไทย 2024-06-21T22:09:08+07:00 nichakorn ruaydee nichakorn110619kt@gmail.com <p>บทความวิจัยเรื่อง ศึกษาสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบันของภิกษุณีในประเทศไทย <br>มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบันของภิกษุณีในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่าภิกษุณีเป็นหนึ่งในพุทธบริษัท ๔ ที่มีความสำคัญกับพุทธศาสนา ซึ่งในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของภิกษุณีที่เผยแผ่พุทธศาสนาในด้านต่าง ๆ แต่ปัจจุบันในสังคมไทยส่วนใหญ่ มองข้ามบทบาทของภิกษุณี รวมไปถึงสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบันด้วย ซึ่งสภาพความเป็นอยู่แบ่งออกเป็น ๒ ด้านคือ สภาพความเป็นอยู่ตามหลักปัจจัย ๔ และสภาพความเป็นอยู่ตามหลักของพระธรรมวินัย ด้านสภาพความเป็นอยู่ตามหลักของปัจจัย ๔ เป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำเนินชีวิต คือ ไตรจีวร อาหาร เสนาสนะ และศิลานเภสัช และในด้านสภาพความเป็นอยู่ตามหลักของพระธรรมวินัย คือ การดำรงชีวิตตามหลักของพุทธศาสนา ที่ภิกษุณีพึงต้องปฏิบัติ ซึ่งในปัจจุบันสภาพความเป็นอยู่ของภิกษุณีได้เปลี่ยนแปลงไปจากที่บัญญัติไว้ในพระธรรมวินัย เนื่องจากสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้มีสิกขาบทบางข้อได้ยืดหยุ่นไปจากเดิมจึงชี้ให้เห็นว่า สภาพความเป็นอยู่ของภิกษุณีในประเทศไทยถูกปรับให้เข้ากับยุคสมัยในปัจจุบัน</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/272147 การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2024-07-19T12:07:32+07:00 พระครูปฐมธรรมรักษ์ (ประสิทธิ์ชัย คำดี) non2518@hotmail.com พระมหาวิโรจน์ คุตฺตวีโร non2518@hotmail.com <p>บทความวิจัยเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาอินทรียสังวรในอินทรียสังวรสูตร ๒) การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาเป็นกระบวนการสำคัญในพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่เน้นการฝึกจิตใจเพื่อให้เกิดปัญญาและความเข้าใจในธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า วิปัสสนาภาวนามีจุดมุ่งหมายเพื่อการละกิเลสและการเข้าถึงนิพพาน ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพุทธศาสนา การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทถูกบรรยายไว้อย่างละเอียดในพระไตรปิฎกและอรรถกถาต่าง ๆ โดยมีหลักการและวิธีการที่ชัดเจน เช่น การพิจารณากาย เวทนา จิต และธรรม (สติปัฏฐาน 4) การพิจารณาอริยสัจ 4 และการฝึกสมาธิ (สมถกรรมฐาน) เพื่อเสริมสร้างสติและสมาธิในการพิจารณา การสำรวมอินทรีย์ ๖ อย่างเพื่อมิให้ยึดถือสิ่งที่กระทบเป็นรูป (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส) อันเป็นเหตุให้เกิดความยินดีเกิดความยินร้ายกระทบเข้ามาสู่จิตใจ ทำให้ได้รับความสุขอันประณีตปราศจากกิเลส การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท คือ การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ ๑) การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๒) การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๓) การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และ ๔) การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นการเจริญปัญญาจนรู้รูปนามตามความเป็นจริง</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/272587 คุณภาพซอฟต์แวร์ประยุกต์พระไตรปิฎกอิเล็กทรอนิกส์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและคุณภาพการใช้งานตามกรอบมาตรฐาน ISO/IEC 25010 2024-08-08T16:55:40+07:00 ศิรินภา กองวัสกุลณี tripitaka.man@mcu.ac.th วศิณ ชูประยูร vasin@rsu.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพซอฟต์แวร์พระไตรปิฎกอิเล็กทรอนิกส์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและและคุณภาพการใช้งานตามกรอบมาตรฐาน ISO/IEC 25010 ใช้แบบสอบถามที่มีค่าดัชนีความเที่ยงระดับสูง (ค่า CVI = 1.00) ทั้งในเชิงเนื้อหาและโครงสร้างที่ และค่าความเชื่อมั่นระดับสูงเช่นเดียวกัน (ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา = .๘๓) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระนิสิตและนิสิตจำนวน ๕๐๐ รูป/คน ผลการวิจัยพบว่าคุณภาพซอฟต์แวร์พระไตรปิฎกอิเล็กทรอนิกส์และและคุณภาพการใช้งานอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุทำให้ได้สมการทางคณิตศาสตร์ที่มีขนาดอิทธิพลร้อยละ ๗๐ ขึ้นไปจำนวน ๓๑ สมการ (ขนาด R<sup>2</sup> อยู่ระหว่างร้อยละ ๗๐ - ๘๓.๓) แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพซอฟต์แวร์กับคุณภาพการใช้งาน การใช้งานจริง และความตั้งใจใช้งานของผู้ใช้</p> <p> </p> 2024-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/264887 การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับชุมชนทางศาสนาของสตรีและสำนักแม่ชีไทย 2024-12-20T17:43:40+07:00 กรรณิการ์ ขาวเงิน kannikar.khaw@gmail.com พระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ Duangden.tun@mcu.ac.th <p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๒ ข้อ คือ ๑) เพื่อพัฒนาชุดความรู้เกี่ยวกับชุมชนทางศาสนาของสตรีและสำนักแม่ชีไทย และ ๒) เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับชุมชนทางศาสนาของสตรีและสำนักแม่ชีไทย เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยการศึกษาเชิงเอกสาร และสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเป้าหมายจำนวน ๒๐ คน และนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ผลการวิจัยพบว่า ๑) การพัฒนาชุดความรู้เกี่ยวกับชุมชนทางศาสนาของสตรีและสำนักแม่ชีไทย พบว่า การสร้างข้อกติกาและชุมชนทางศาสนาของสตรีและแม่ชีไทยสะท้อนถึงวิถีชุมชนแม่ชีไทย ได้แก่ การสร้างชุมชนทางศาสนาของแม่ชี ข้อกติกา ระเบียบและจริยาวัตร วิถีชีวิตของการเป็นนักบวช การบริหารจัดการสำนัก บทบาทและการทำงาน อัตลักษณ์ของแม่ชีไทยกับความเป็นผู้กตัญญู ที่สำคัญคือ แม่ชีของไทยเป็นชุมชนของสตรีที่มีพลังมหาศาลในการมีพื้นที่ของตนเองในการขัดเกลาตนเอง และมีบทบาทหน้าทีหลักในการช่วยขับเคลื่อนสังคม สร้างทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ ผ่านการเป็นแบบอย่างที่ดี การให้ความรู้ ตลอดจนสามารถสร้างโอกาสให้กับสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำค่อนข้างสูงอย่างประเทศที่คนฐานะอยากจนมีจำนวนมากกว่าคนรวยได้รับโอกาสที่ทัดเทียม โดยเฉพาะกลุ่มสตรี และ ๒) การพัฒนาชุดความรู้ในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยเนื้อหา ๙ บท ประกอบด้วย บทที่ ๑ บันทึกเหตุการณ์: ความเป็นมาของสำนักแม่ชีของไทย บทที่ ๒ การสร้างชุมชนและความมีตัวตนของแม่ชี บทที่ ๓ บทบาทหลักของแม่ชีไทยในด้านต่าง ๆ บทที่ ๔ พลังของสตรี: แม่ชีผู้สร้างประโยชน์ บทที่ ๕ ศักยภาพแม่ชีไทย: หากมองหาจึงมองเห็นคุณค่า บทที่ ๖ ก้าวต่อไปในการทำงานของแม่ชีไทย บทที่ ๗ การพัฒนาศักยภาพด้านการส่งเสริมการรู้พระพุทธศาสนา บทที่ ๘ ก่อนจบ: บทสรุปท้ายเล่ม บทที่ ๙ ภาพประมวลกิจกรรม และส่วนที่ ๓ บรรณานุกรมและภาคผนวก</p> 2025-01-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/270209 ศึกษาแนวทางการปฏิบัติต่อผัสสายตนะเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต 2024-05-08T23:13:40+07:00 สุรัตนา ตฤณรตนะ suratanatrinratana@gmail.com <p>บทความวิจัยเรื่องศึกษาแนวทางการปฏิบัติต่อผัสสายตนะเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษาผัสสายตนะในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (๒) ศึกษาตัวอย่างบุคคลที่เสพเสวยโลกทางผัสสายตนะในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (๓) ศึกษาแนวทางการปฏิบัติต่อผัสสายตนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระเบียบวิธีวิจัยได้แก่การวิจัยเชิงเอกสารโดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (๑) ผัสสายตนะสภาวธรรมของกระบวนการทำงานของจิตและเจตสิกซึ่งเป็นที่เกิดของสุข ทุกข์ หรืออุเบกขา โดยแบ่งเป็น ๖ ประเภทได้แก่ จักขุผัสสายตนะ โสตผัสสายตนะ ฆานผัสสายตนะ ชิวหาผัสสายตนะ กายผัสสายตนะ มโนผัสสายตนะ (๒) ตัวอย่างบุคคลที่เสพเสวยโลกทางผัสสายตนะพบว่าการรับรู้โลกทางผัสสายตนะนั้นเกิดขึ้นด้วยการทำงานของจิตและเจตสิกเป็นการเกิดผัสสะทั้งด้านกุศลวิบากและอกุศลวิบาก และมีกระบวนต่อเนื่องทำให้เกิดกิเลส ตัณหา อุปาทาน (๓) การปฏิบัติต่อผัสสายตนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักธรรมสำคัญของการปฏิบัติคือสติสัมปชัญญะ ได้แก่ ๑) การใช้สติเพื่อรู้เท่าทัน หรือความไม่ประมาท ในการรู้เท่าทันผัสสายตนะในการเสพอารมณ์ด้วยโยนิโสมนสิการ ๒) การเสพอารมณ์ทางอายตนะ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ด้วยมนสิการคือการกำหนดไว้ในใจ ๓) กระบวนการของกลไกผัสสายตนะด้วยการปฏิบัติให้ถูกต้องโดยใช้สติสัมปชัญญะเพื่อไม่ให้เกิดตัณหา ซึ่งได้แก่ กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร โดยการสำรวมอินทรีย์ ๔) การกำหนดรู้ด้วยผัสสายตนะเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ตามหลักมหาสติปัฏฐาน ๔ ประการคือ กาย เวทนา จิต ธรรม</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/271191 บทบาทผู้นำสตรีจิตอาสากับการเสริมสร้างชุมชนสันติสุข: กรณีศึกษาตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ 2024-06-14T14:12:23+07:00 Kanyaphat Maneelam kanyaphat6258@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอการถอดบทเรียนบทบาทของผู้นำสตรีจิตอาสาตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ในการเสริมสร้างชุมชนสันติสุข ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มผู้นำท้องถิ่นตำบลสวายทีไม่ใช่สตรี จำนวน ๑๐ คน และกลุ่มผู้นำท้องถิ่นที่เป็นสตรี จำนวน ๒๐ คน รวม ๓๐ คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยอุปนัยวิธี ผลกาวิจัยพบว่าสตรีจิตอาสาตำบลสวาย เริ่มจากการรวมกลุ่มที่หลากหลายในตำแหน่งหน้าที่ ถ้อยทีถ้อยอาศัยให้เกียรติกัน สร้างความรู้ พัฒนาสาธารณะสุข สร้างความเข้มแข็งเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว และชุมชน ตามหลักสังคหวัตถุ ๔ คือ การเสียสละแรงกาย แรงใจ การใช้ปัญญาเพื่อช่วยเหลือให้ผู้อื่นให้พ้นจากทุกข์ เกิดความสามัคคี โดยมีเป้าหมาย ดังนี้คือ ๑) ให้ความรู้ สร้างทักษะ ช่วยเหลือแบ่งปันเสียสละโดยไม่หวังผลตอบแทน ๒) ลดปัญหาความขัดแย้ง ให้ความเคารพกันซึ่งกัน ๓) ทำงานเพื่อส่วนรวม ทำด้วยความเต็มใจ ๔) มีกิจกรรมจิตอาสาช่วยเหลืออย่างสม่ำเสมอ ร่วมกันแก้ปัญหาเพื่อประโยชน์สุขส่วนรวม</p> 2024-12-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/272677 ผลสำรวจสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของอุบาสกอุบาสิกาในวัดไทยเมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา 2024-08-14T17:26:44+07:00 พระภาวนาวชิรวิเทศ วิ มงคล เกื้อกูล mongkolkua2024@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยาของอุบาสกอุบาสิกาในวัดไทยเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อุบาสก อุบาสิกาที่มาทำบุญปฏิบัติธรรมที่วัดไทยในเมืองบอสตัน จำนวน ๓๗๕ คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ พระวิปัสสนาจารย์ เจ้าอาวาส พระธรรมทูต ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดโครงการปฏิบัติธรรม และอุบาสก อุบาสิกา ในวัดไทยในสหรัฐอเมริกา จำนวน ๑๗ รูป ผลวิจัยพบว่า ๑) สภาพปัจจุบันด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของวัดไทยในเมืองบอสตัน จำนวน ๓ วัด ได้แก่ วัดบอสตันพุทธวราราม วัดนวมินทรราชูทิศ เฉลิมพระเกียรติ และวัดพระธรรมกายบอสตัน มีบทบาทสำคัญในจัดกิจกรรมเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวไทยและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ๒) ความต้องการจำเป็นด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของอุบาสก อุบาสิกาของในวัดไทยเมืองบอสตัน คือ ความต้องการให้วัดไทยจัดกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตตอบสนองความต้องการของบุคคลที่เริ่มจากการพัฒนาการตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ จนถึงวัยชรา และ ๓) ระดับคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยาของอุบาสกอุบาสิกาในวัดไทยเมืองบอสตัน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ การพัฒนากาย การพัฒนาศีล การพัฒนาจิต และการพัฒนาปัญญาอยู่ในระดับมาก</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/272724 บทวิจารณ์หนังสือ เรื่อง ฌ็อง-ฟร็องซัวร์ ลีโยตาร์ด: ความงามที่แตกต่างในศิลปะร่วมสมัย 2024-08-12T14:19:27+07:00 thanik setthakulthamrong sgthanik@gmail.com <p>หนังสือเรื่อง ฌ็อง-ฟร็องซัวร์ ลีโยตาร์ด: ความงามที่แตกต่างในศิลปะร่วมสมัย ผลงานดุษฎีนิพนธ์เขียนโดย ศุภฤกษ์ คณิตวรานันท์ นิสิตหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิตและพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หนังสือเรื่องนี้ผู้เขียนมีความตั้งใจจัดพิมพ์เพื่อเป็นคู่มืออ่านประกอบการเรียน และจัดพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรก มีจำนวน ๑๗๙ หน้า โดยที่หนังสือทั้งเล่มดังกล่าวนั้น ผู้เขียนได้ดำเนินการจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นิติธรรมการพิมพ์ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒</p> 2024-12-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์