วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR <p><strong>วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรรศน์</strong> <br>ISSN : 1905-1603&nbsp; &nbsp;(Print) <br>ISSN : 2697-4215&nbsp; &nbsp;(Online)</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p>&nbsp; &nbsp;๑. เพื่อส่งเสริมการผลิตผลงานทางวิชาการและงานวิจัยด้านพระพุทธศาสนาและปรัชญา</p> <p>&nbsp;&nbsp; ๒. เพื่อให้บริการทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนาและปรัชญาแก่สังคม</p> <p>&nbsp;&nbsp; ๓. เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนแนวคิดทางพระพุทธศาสนาและปรัชญา</p> <p>&nbsp;&nbsp; ๔. เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย</p> th-TH <p>บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนผู้แต่ง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป</p> udomchantima@gmail.com (ดร.อุดม จันทิมา) udomchantima@gmail.com (Udom Chantima) Tue, 20 Aug 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ความสังเวช : ปัจจัยแห่งการเปลี่ยนแปลงชีวิตสู่ความหลุดพ้นในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/266084 <p>บทความวิจัยเรื่องความสังเวช : ปัจจัยแห่งการเปลี่ยนแปลงชีวิตสู่ความหลุดพ้นในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาความสังเวชในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสังเวชกับหลักธรรมอื่นเพื่อความหลุดพ้นและ ๓) เพื่อวิเคราะห์ความสังเวชเป็นปัจจัยแห่งการเปลี่ยนแปลงชีวิตสู่ความหลุดพ้นในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยศึกษาจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาพร้อมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้อง</p> <p>ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ๑) ผลการวิจัยพบว่าในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ความหมายของความสังเวชเพื่อความหลุดพ้นนั้น เป็นญาณที่เห็นภัยในวัฏฏะสงสารพร้อมด้วยโอตตัปปะหรือความเกรงกลัวต่อบาป, ๒) ธรรมะอันเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการดับทุกข์คือโยนิโสมนสิการและศรัทธาในพระพุทธเจ้าว่าเป็นหลักธรรมพื้นฐานที่ส่งเสริมความสังเวชและทำให้เกิดความเพียร นอกจากนี้ การศึกษายังเผยให้เห็นถึงบทบาทของความสังเวชในการพัฒนาความสามารถทางจิตห้าประการหรืออินทรีย์ห้าอันเป็นขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาชีวิตหรือการปฏิบัติธรรม, และ ๓) ในกระบวนการปฏิบัติธรรมที่ปรากฏในพระไตรปิฎกนั้น ความสังเวชร่วมกับความศรัทธาในพระพุทธเจ้าทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงระหว่างวงจรการเกิดทุกข์กับเส้นทางเพื่อความดับทุกข์หรือเส้นทางโลกุตระ ความสังเวชทำหน้าที่เป็นพลังนำทางจากความรู้สึกเร่งด่วน สร้างแรงกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงภายในจากความเพียรที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงชีวิตเพื่อความหลุดพ้น</p> Tawesak Pudpadee Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/266084 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 กระบวนการพึ่งพาตนเองด้วยอารยเกษตรของเกษตรต้นแบบ อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ตามหลักพุทธสันติวิธี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/269988 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาบริบท ปัญหา สาเหตุ อุปสรรค และวิถีการดำเนินชีวิตการทำอารยเกษตรของเกษตรต้นแบบ อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ๒) เพื่อนำเสนอถอดบทเรียนกระบวนการอารยเกษตรต้นแบบเพี่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนตามหลักพุทธสันติวิธี ดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบภาคสนามเครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตการณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แบ่งเป็น ๔ กลุ่ม (๑) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านอารยเกษตร (โคกหนองนา) ๓ ท่าน (๒) กลุ่มอารยเกษตร ๕ ท่าน (๓) กลุ่มผู้นำชุมชน ๕ ท่าน (๔) กลุ่มเครือข่ายเกษตรกร ๕ ท่าน รวมผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๑๘ ท่าน วิเคราะห์ด้วยวิธีอุปนัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>(๑) ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่แห้งแล้ง มีลักษณะเป็นดินภูเขา เป็นพื้นที่ราบเชิงเขาเป็นเนิน ปัญหาจะขาดแคลนน้ำในการทำเกษตรทำให้ไม่สามารถสร้างผลผลิตได้ ต้องเร่งดินเร่งปุ๋ย ลงทุนเพื่อเพิ่มผลผลิต ทำให้ดินเสื่อมสภาพเร็ว อีกทั้งยังนิยมทำเกษตรเชิงเดี่ยว และไม่ได้ทำบัญชีรายรับรายจ่าย สาเหตุเพราะขาดความรู้ความเข้าใจ</p> <p>(๒) หลักพุทธสันติวิธีในการพึ่งพาตนเองตามหลักอารยเกษตร ได้แก่ หลักอริยสัจ ๔ คือ การมองเห็นปัญญา (ทุกข์) การหาเหตุปัญหานั้นด้วยวิเคราะห์พิจารณาด้วยปัญญา (สมุทัย) การวางจุดหมายที่จะพัฒนาหรือปรับปรุง (นิโรธ) การลงมือทำตามแนวทางที่ได้ศึกษาที่เป็นเป้าหมายในชีวิตจริง (มรรค) ด้วยความตั้งใจจนกว่าสำเร็จ ด้วยหลักอิทธิบาท คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ความสำเร็จ ต้องเริ่มจาก (๑) การมองเห็นปัญหาและมีความคิดอยากแก้ปัญหานั้น (๒) การรู้จักวิเคราะห์อะไรคือสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงของเกษตรกร ต้นทุนสูง (จากหลายปัจจัย) ราคาผลผลิตไม่แน่นอน (๓) รู้ถึงเป้าหมายของการแก้ปัญหาที่รากเหตุสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน (๔) การรู้วิธีการแก้ปัญหาด้วยสติปัญญา สามารถแก้ปัญหาการทำเกษตรได้จากการลงมือปฏิบัติจนเป็นผลสำเร็จ</p> Amnat Pattayaso Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/269988 Wed, 21 Aug 2024 00:00:00 +0700 กระบวนการจัดการเรียนการสอนสำนักศาสนศึกษา แผนก ธรรมและบาลีของวัดสารอด โดยพุทธสันติวิธี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/270500 <p> </p> <p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาบริบท สภาพปัญหา สาเหตุ อุปสรรคด้านการจัดการเรียนรู้ของสำนักศาสนศึกษาแผนกธรรมและบาลีของวัดสารอด (๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมและแนวคิด ทฤษฎีตามศาสตร์สมัยใหม่ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน สำนักศาสนศึกษาแผนกธรรมและบาลีของวัดสารอด (๓) เพื่อนำเสนอกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยหลักพุทธสันติวิธีสำหรับสำนักศาสนศึกษาแผนกธรรมและบาลีของวัดสารอด ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ พระอาจารย์ผู้สอนปริยัติธรรมที่ประสบความสำเร็จและสามเณรของวัดสารอดผู้ศึกษาพระปริยัติ รวม จำนวน ๑๖ รูป วิเคราะห์ผลด้วยอุปนัยวิธี ผลการวิจัยพบว่า ๑) บริบท วัดสารอดมีลักษณะเป็นอยู่เหมือนพ่อปกครองลูก โดยมีการดูแลเอาใจใส่ในทุกๆ ส่งเสริมการเรียนรู้ ดูแลผู้เรียนเป็นอย่างดี และให้คำแนะในด้านปัญหา อุปสรรค แต่ละช่วงวัยอย่างเหมาะสมเพื่อให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ๒) หลักพุทธธรรมและแนวคิด ทฤษฎีตามศาสตร์สมัยใหม่ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน วัดสารอดใช้หลักอิทธิบาท ๔ เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างความสุขและสันติภาพในชีวิต โดยการใช้ปัญญาไตร่ตรองตรวจสอบเพื่อให้เกิดผลสำเร็จ ปฏิบัติตามหลักพรหมวิหาร ๔ ทั้งผู้เรียนและผู้สอน และ ๓) กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยหลักพุทธสันติวิธีวัดสารอด พบว่า ปัจจุบันการเรียนการสอนมีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีความสอดคล้องตามความต้องการของคณะสงฆ์ เพื่อสร้างภูมิปัญญา ทักษะ ในการเรียนทั้งทางธรรมและทางโลก มีความรู้ความเข้าใจตามหลักธรรมคำสั่งสอนในทางพระพุทธศาสนา</p> Phra maha Phongsuk Jantapanyo Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/270500 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 การเสริมสร้างความรักสากลเชิงพุทธบูรณาการ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/257254 <p>บทความวิจัยเรื่องการเสริมสร้างความรักสากลเชิงพุทธบูรณาการมีวัตถุประสงค์๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาความรักสากลและแนวคิดทฤษฏีความรักสากล ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างความรักสากล ๓) เพื่อเสนอแนวทางการเสริมสร้างความรักสากลเชิงพุทธบูรณาการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๗ รูป/คน และ จำนวน ๓ องค์กร</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ความรักเป็นอารมณ์ชนิดหนึ่งที่มีต่อบุคคลอีกคนหนึ่ง ส่งผลให้เกิดความรู้สึกผูกพัน ปรารถนาดีและอยากใกล้ชิดต่อบุคคลอีกคนหนึ่ง สามารถเปลี่ยนแปลงทั้งทางสร้างสรรค์และทางเสื่อมได้โดยการปฏิสัมพันธ์ทางอารมณ์ที่เป็นสภาพและเจตคติที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลสองคนโดยไม่จำกัดเพศและวัย ซึ่งความรักนั้นยังสร้างความมั่นใจให้กับคู่ครองที่อยู่ร่วมกัน โดยการหล่อหลอมความรู้สึกนึกคิดของคนสองคนเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความรักที่ยั่งยืนและถาวร การเสริมสร้างความรักสากลที่จะให้มั่นคงมากยิ่งขึ้น ต้องอาศัยความบริสุทธิ์ใจและใช้ปัญญาเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับยุคสมัย พร้อมทั้งสร้างความสัมพันธ์ของคนสองคนโดยใช้เมตตาและขันติมาเป็นเครื่องยึดเหนียวจิตใจ เพื่อที่จะช่วยเสริมสร้างความรักสากลที่เกิดขึ้นต่อกันและกันให้มั่นคงยิ่งขึ้นในการอยู่ร่วมกันในสังคม</p> <p>หลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างความรักสากล คือ การปฏิบัติตามหลักอัปปมัญญา ๔ ได้แก่ เมตตา หมายถึง ความรัก ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น กรุณา ได้แก่ ความสงสาร มุทิตา คือ ความพลอยยินดี&nbsp; มีจิตผ่องใส&nbsp; แช่มชื่น เบิกบานอยู่เสมอ อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยความรักหรือชังและตามหลักคุณธรรมของพระโพธิสัตว์ ได้แก่ สุทธิ = บริสุทธิ์ ปัญญา รู้สิ่งที่ควรรู้ เมตตา คือ รักชีวิตทุกชีวิต ขันตี คือ อดกลั้น ซึ่งถือว่า เป็นขั้นพื้นฐานที่จะส่งเสริมการสร้างความรักของตนเองที่ไม่เบียดเบียนไม่ทำร้ายผู้อื่น ทั้งทางกาย วาจา และใจ โดยการประยุกต์การเสริมสร้างความรักสากลเชิงพุทธบูรณาการของคนในสังคมที่อยู่ร่วมกันซึ่งต้องมีหลักธรรมประจำใจและหลักปฏิบัติที่เป็นระบบควบคุมภายนอกของกาย วาจา ใจ พร้อมทั้งสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์เพื่อให้เกิดปัญญารู้เข้าใจมองเห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง เกิดความซาบซึ้งใจโน้มไปหาคุณค่าอันดีงามที่เรียกว่า “ความรัก” ที่เป็นความปรารถนาของมนุษย์และสัตว์ที่ต้องการอยากให้ผู้อื่นมีความสุขและเป็นสิ่งที่มนุษย์ไขว่คว้า เพื่อนำเมตตามาใช้กับความรักตนเองและความรักของผู้อื่นนั้น ที่เปรียบเสมือนเข็มทิศนำทางในการพัฒนาชีวิตไปในทิศทางที่ดี ที่ถูกที่ควร และมีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปอีกด้วย</p> <p>สำหรับแนวทางการเสริมสร้างความรักที่เป็นสากลที่ประกอบด้วยความรัก ความปรารถนาดี เพื่อให้ผู้อื่นและตนเองใช้เป็นแนวทางในการประยุกต์องค์ประกอบด้วย สุทธิ ปัญญา เมตตา ขันติ เพื่อการเสริมสร้างความรักสากลเชิงพุทธบูรณาการ พบว่า มีแนวทางการเสริมสร้างความรักสากลเชิงพุทธบูรณาการที่เป็นแบบอย่างที่ดี ๒ ประการคือ ๑. การสร้างความรักสากลต่อองค์กรในสังคม ๒.การสร้างความรักสากลที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ในสังคม เพราะความรักเป็นสิ่งสำคัญที่มีบทบาทในชีวิตมนุษย์ ซึ่งคนที่ต้องการความรักความเข้าใจที่เป็นสากล ต้องเป็นผู้มีเมตตา มีความเห็นอกเห็นใจ มีความปรารถนา มองทุกคนเป็นเพื่อน แสดงออกด้วยความจริงใจ ไม่ต้องการสิ่งตอบแทน มีความรักสม่ำเสมอทุกคน</p> จันทร์ธรรม อินทรีเกิด, ณัฐปภัสร์ เฑียรทอง Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/257254 Sat, 24 Aug 2024 00:00:00 +0700 การสร้างสันติภาพภายในตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/257836 <p>บทความ เรื่อง “การสร้างสันติภาพภายในตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี การสร้างสันติภาพตามหลักวิทยาการสมัยใหม่ ๒) เพื่อศึกษาหลักการ และวิธีปฏิบัติในการสร้างสันติภาพตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท ๓) เพื่อเสนอวิธีการสร้างสันติภาพภายในตามหลักพุทธศาสนาเถรวาท โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) สรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้</p> <p>สันติภาพตามวิทยาการสมัยใหม่ หมายถึง สภาวะแห่งสันติ หรือสถานะแห่งความสุขในบุคคล ซึ่งจัดเป็นสันติภาพภายนอก มุ่งขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมโลกที่เกิดจากการรุกล้ำสิทธิเสรีภาพทางเชื้อชาติ สีผิว วัฒนธรรม ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความเป็นอยู่ สงครามเศรษฐกิจ และการขัดแย้งผลประโยชน์ มุ่งเน้นต่อต้านความอยุติธรรม ด้วยการต่อสู้เรียกร้องให้เกิดสันติภาพขึ้นในสังคมโลก สันติภาพตามหลักพระพุทธศาสนา หมายถึง ความสุข สงบเย็น เป็นอิสระจากความทุกข์ มุ่งเน้นที่จิตใจมนุษย์อันเป็นสันติภาพภายใน สามารถพัฒนาสูงสุดสู่พระนิพพาน การสร้างสันติภาพภายในตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท อาศัยหลักธรรม คือ ๑) ไตรสิกขา ๒) เมตตา ๓) การเจริญสติ ๔) การสร้างสันติในจิตใจ ๕) การไม่ว่าร้ายผู้อื่น ๖) ความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ โดยการฝึกอบรมจิตใจตั้งแต่วัยเยาว์ ผ่าน ๓ สถาบันหลัก ได้แก่ บ้าน วัด และโรงเรียน</p> สาวลลิตภัทร เจนจบ Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/257836 Sat, 24 Aug 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบเยาวชนจิตอาสาด้วยสื่อสร้างสรรค์ตามแนวพุทธจิตวิทยา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/260267 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอผลพัฒนาและประเมินผลการใช้รูปแบบเยาวชนจิตอาสาด้วยสื่อสร้างสรรค์ตามแนวพุทธจิตวิทยา เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธีแบบเชิงทดลอง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา ด้านจิตวิทยา ด้านจิตอาสาและด้านสื่อสร้างสรรค์ จำนวน ๑๗ รูป/คน กลุ่มตัวอย่าง คือ เยาวชนชั้น ม. ๒-๓ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน ๓๐ คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน สมุดบันทึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน&nbsp; t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัยพบว่า ๑. คุณลักษณะของจิตอาสาปลูกฝังและส่งเสริมได้โดยบูรณาการหลักไตรสิกขา สังควัตถุ ๔ และโยนิโสมนสิการ ประกอบด้วย ๑) การสร้างรูปแบบผ่านช่องทางออนไลน์ ๒) แนวทางในการสร้างกิจกรรมและการพัฒนาเยาวชนให้รู้จักคิดแบบมององค์รวมและกิจกรรมจิตสำนึกสาธารณะ ๒. ผลการพัฒนารูปแบบผ่านกระบวนการ ประกอบด้วยขั้นที่ ๑ แนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน ขั้นที่ ๒ การสร้างรูปแบบ ๒ ระยะ ได้แก่ ระยะจัดอบรมกิจกรรม ๒ วัน และ ระยะโครงการจิตอาสาสื่อสร้างสรรค์ในชุมชน ๓๐ วัน ผลของกระบวนการพัฒนามี ๖ ขั้น ได้แก่ ๑) การเป็นกัลยาณมิตรดี ๒) การรับรู้ความสามารถของตน ๓)&nbsp; ด้านความเป็นจิตอาสา ๔) การรู้เท่าทันใจ รู้เท่าทันสื่อ ๕) การเสริมสร้างทักษะบนโลกโซเซียล และ ๖) การสร้างเครือข่ายจิตสำนึกดีเพื่อชุมชน ๓. ผลประเมินการใช้รูปแบบ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมทั้งในภาพรวมและรายด้าน กลุ่มเยาวชนมีพฤติกรรมจิตอาสาตามแนวพุทธจิตวิทยาก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .๐๑</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> จิตอาสา,&nbsp; เยาวชน, สื่อสร้างสรรค์, พุทธจิตวิทยา</p> เรือตรีหญิงจิณห์จุฑา ศุภมงคล รน. Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/260267 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 บทวิจารณ์หนังสือ: รวมพระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/270944 <p>หนังสือ “รวมพระธรรมเทศนา พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)” มีเนื้อหา ๓ ส่วน ได้แก่ ๑) อัตชีวประวัติของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ๒) พระธรรมเทศนา ๖๗ กัณฑ์ ๓) โอวาทของหลวงพ่อวัดปากน้ำในวาระโอกาสต่าง ๆ โดยเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นพระธรรมเทศนาของหลวงพ่อวัดปากน้ำจำนวน ๖๗ กัณฑ์ แต่ละกัณฑ์ประกอบด้วยเนื้อหา ๓ ส่วน ได้แก่ ๑) บทตั้ง คือ พระบาลีจากพระพุทธพจน์ พระไตรปิฎก พระสูตร ฯลฯ ๒) อธิบายบทบาลี คือ คำแปลและคำอธิบายพระบาลีอันเป็นบทตั้งนั้น เป็นการอธิบายโดยนัยแห่งปริยัติ ๓) บรรยายธรรมะ คือ ธรรมะทั้งภาคปฏิบัติอันเป็นแนวทางการเจริญสมาธิภาวนาตามที่ท่านฝึกฝนมา และภาคปฏิเวธอันเป็นผลที่เกิดจากการปฏิบัติ เป็นประสบการณ์จากการเจริญภาวนาที่เกิดกับตัวท่านเอง</p> <p>หนังสือ “รวมพระธรรมเทศนา พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)” ผู้วิจารณ์นำเสนอจุดเด่นเป็นคุณค่า ๓ ประการ ได้แก่ ๑) คุณค่าต่อการศึกษาด้านปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ๒) คุณค่าแห่งประสบการณ์จากธรรมะภาคปฏิบัติ ๓) คุณค่าต่อการศึกษาด้านวิชาการพระพุทธศาสนา และนำเสนอทัศนะของผู้วิจารณ์ คือ ประเด็นที่ควรพิจารณาควบคู่ไปด้วยกับอ่านหนังสือเล่มนี้เพื่อ “การศึกษาปฏิเวธธรรมเชิงวิชาการอย่างสร้างสรรค์” มี ๓ ประเด็น ได้แก่ ๑) ประเด็นเรื่องประเภทของพุทธธรรม ๒) ประเด็นเรื่องการศึกษาปฏิเวธธรรม และ ๓) ประเด็นเรื่องแนวทางการศึกษาปริยัติธรรม</p> พระมหาธัญสัณห์ กิตฺติสาโร Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/270944 Tue, 20 Aug 2024 00:00:00 +0700 A การศึกษาปัจจัยที่ทำให้เยาวชนสนใจการปฏิบัติธรรม ของกลุ่มพุทธธรรมกรรมฐาน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/264499 <p>บทความวิจัยเรื่องการศึกษาปัจจัยที่ทำให้เยาวชนสนใจการปฏิบัติธรรมของกลุ่มพุทธธรรมกรรมฐานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาปัจจัยที่ทำให้เยาวชนสนใจการปฏิบัติธรรมของกลุ่มพุทธธรรมกรรมฐานในมหาวิทยาลัย ๕ แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดและมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ๒) เสนอแนวทางพัฒนาปัจจัยที่ทำให้เยาวชนสนใจในการปฏิบัติธรรม ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ทำให้เยาวชนสนใจการปฏิบัติธรรมของกลุ่มพุทธธรรมกรรมฐานมีดังนี้ ๑) ความเชื่อในหลักคำสอนทางพุทธศาสนามีส่วนสำคัญที่ช่วยทำให้เยาวชนสนใจการปฏิบัติธรรม เช่น ความเชื่อเรื่องเหตุและผล เรื่องกรรมและผลของกรรม เรื่องการปฏิบัติธรรมเพื่อให้เกิดสติ สมาธิ ปัญญา และเพื่อทำให้ถึงซึ่งความพ้นจากทุกข์ คือ พระนิพพาน &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;๒) กัลยาณมิตรมีส่วนช่วยทำให้สนใจการปฏิบัติธรรม เช่น บิดามารดา ญาติ เป็นแบบอย่างและชักชวนให้ได้ปฏิบัติธรรมตั้งแต่เด็ก เช่น การทำบุญ การไปวัด การฟังธรรม เป็นการสั่งสมอุปนิสัยให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใสต่อพระสงฆ์ อีกทั้งพระสงฆ์ยังเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติธรรมแก่เยาวชน เช่น การปฏิบัติตามแนวทางปฏิปทาพระป่าสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นต้น &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;๓) การจัดโครงการปฏิบัติธรรมที่น่าสนใจ เช่น โครงการธรรมะสัญจร, ค่ายสมาธิภาวนา, การบวชพระวัดป่าสายกรรมฐาน เพื่อให้เกิดความสนใจและมีส่วนทำให้เยาวชนร่วมกิจกรรมมากยิ่งขึ้น &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; แนวทางพัฒนาปัจจัยที่ทำให้เยาวชนสนใจการปฏิบัติธรรม มีดังนี้ ๑) พัฒนาความเป็นผู้นำทางธรรม คือ การพัฒนาตนเองให้พร้อมอยู่เสมอทั้งด้านความรู้ทางธรรมและเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติธรรม ๒) พัฒนาการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของกลุ่มพุทธธรรมกรรมฐานให้แก่ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสได้รับทราบกิจกรรมที่จัดของกลุ่มพุทธธรรมกรรมฐานให้มากยิ่งขึ้น &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;๓) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมจากเดิมให้น่าสนใจ เช่น การปรับรูปแบบการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับผู้สนใจตามยุคสมัย ๔) พัฒนาวิธีการสอนและการเผยแผ่การปฏิบัติธรรม เช่น การนิมนต์พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ที่แต่ละรูปมีเทคนิคและวิธีการสอนที่แตกต่างกันแต่ยังคงอยู่ในหลักของการปฏิบัติธรรมเพื่อฝึกสติ สมาธิ ให้เกิดปัญญา</p> <p>&nbsp;</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong> : </strong>เยาวชน, การปฏิบัติธรรม, กลุ่มพุทธธรรมกรรมฐาน</p> SUTTHIWAT DHANAPALO Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/264499 Wed, 21 Aug 2024 00:00:00 +0700