คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง
บทความที่ผู้แต่งส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้แต่งบทความต้องยอมรับและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขรวมถึงรูปแบบบทความในการขอตีพิมพ์บทความวิชาการหรือบทความวิจัย ในวารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ ให้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ รวมทั้งผู้แต่งบทความต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง โดยวารสารได้กำหนดความซ้ำของผลงานตามโปรแกรม CopyCat ในระบบเว็บ ThaiJO2 ระดับความซ้ำซ้อนของบทความต้องไม่เกิน ๒๕% ตั้งแต่ เดือนกันยายน ๒๕๖๒ เป็นตันไป
ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ
วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ ดังนี้
๑) บทความที่่มาจากสัดส่วนภายนอก เก็บค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความละ ๓,๐๐๐ บาท (สามพันบาทถ้วน)
๒) บทความที่่มาจากสัดส่วนภายใน เก็บค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความละ ๓,๕๐๐ บาท (สามพันห้าร้อยบาทถ้วน)
วารสารอาจยกเว้นค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความจากคณาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาพระพุทธศาสนาและสาขาวิชาปรัชญา ตามนโยบายสนับสนุนผลงานการตีพิมพ์บทความวิชาการและบทความวิจัย ผู้แต่งบทความจะต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของบทความตามข้อแนะนำสำหรับผู้แต่ง ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง หรือเงื่อนไขกองบรรณาธิการวารสารขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการตีพิมพ์ และไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้
๑) หากบทความของท่านมีเนื้อหาความซ้ำซ้อนมากกว่า ๒๕% ตามที่ปรากฏในโปรแกรม CopyCat ในระบบเว็บ ThaiJO2
๒) ผู้แต่งไม่ปฏิบัติตามรูปแบบที่วารสารกำหนด
๓) บทความไม่ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ หรือ
๔) ผู้แต่งไม่แก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะตามที่กองบรรณาธิการแจ้งในระบบตามระยะเวลาที่กำหนด (บรรณาธิการจะแจ้งกำหนดระยะเวลาให้แก้ไขในระบบ ThaiJO2 )
การชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์
ผู้แต่งบทความสามารถชำระค่าธรรมเนียมผ่านบัญชีของวารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ หมายเลขบัญชีธนาคารทหารไทย "129-2-19270-3" เมื่อชำระแล้วให้ส่งหลักฐานไปที่ udomchantima@gmail.com หรือแจ้งสลิปที่ไอดีไลน์ udom2019
คำชี้แจงสำหรับการเขียนบทความวารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์
วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ได้พัฒนาและปรับปรุงรูปแบบของบทความ โดยได้ปฏิบัติตามคู่มือแนะนำการเตรียม Template สำหรับการสกัด Metadata ของวารสารตีพิมพ์ให้สอดคล้องกับเกณฑ์ที่ TCI กำหนด รวมถึงข้อควรระวังในการจัดเตรียมบทความด้วย เช่น ข้อควรระวังการจัดเตรียมบทความ ในส่วนของชื่อผู้แต่ง ไม่ใส่ตำแหน่งทางวิชาการ ยศ ตำแหน่งราชการทหาร ตำรวจ สถานภาพทางการศึกษา หรือ คำนำหน้าชื่อหรือท้ายชื่อ เช่น นาย นาง นางสาว ผศ.ดร. PhD ร.ต.ต. พ.ต.ท. ไม่ควรระบุสถานภาพผู้แต่ง เช่น นักศึกษาปริญญาเอก อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผศ.ดร. ผู้อำนวยการ... คณบดีคณะ... พยาบาลวิชาชีพ สังกัดผู้แต่ง ต้องมีสังกัดเดียว (หากมีหลายสังกัดให้เลือกเพียง ๑ สังกัด) และควรระบุ หน่วยงานระดับต้น เรียงไปจนถึง หน่วยงานหลัก จังหวัด รหัสไปรษณีย์ และประเทศ ดังตัวอย่างเช่น “ภาควิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” และระบุภาษาอังกฤษเป็น “Department of Buddhism, Faculty of Buddhism, Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Ayutthaya 13170, Thailand” และตามด้วย E-mail ของผู้แต่งหลักทุกครั้งเป็นต้น โดยเมื่อผู้แต่งเขียนบทความตามรูปแบบที่วารสารกำหนดแล้วจึงเข้าสู่ขั้นตอนส่งบทความในระบบ Thaijo2 ต่อไป
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้บทความที่ผู้เขียนได้ส่งมามีรายละเอียดที่กองบรรณาธิการสามารถเก็บข้อมูลไว้ในระบบได้ จึงกำหนดการเตรียมต้นฉบับไว้ดังนี้
๑. พิมพ์ผลงานทางวิชาการควรจัดพิมพ์ด้วย Microsoft word for Windows หรือ Macintosh บนกระดาษขนาด A4 หน้าเดียว ประมาณ ๒๖ บรรทัด ต่อ ๑ หน้า ใช้อักษร Cordia New หรือ TH SarabunPSK ตัวเลขไทย ขนาดของตัวอักษรเท่ากับ ๑๘-๑๖-๑๕-๑๔ (ชื่อบทความ-ชื่อผู้แต่ง-เนื้อหา-เลขเชิงอรรถ) และใส่เลขหน้าตั้งแต่ต้นจนจบบทความ ยกเว้นหน้าแรก จำนวนไม่เกิน ๑๒ หน้า ตาม Template ของวารสาร
๒. บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ควรเกิน ๑ หน้ากระดาษ ให้จัดพิมพ์เป็น ๑ คอลัมน์ มีความยาวประมาณ ๒๐๐ คำ หรือบทคัดย่อภาษาไทยมีความยาวไม่เกิน ๑๒ บรรทัด จะต้องพิมพ์คำสำคัญในบทคัดย่อภาษาไทย และพิมพ์ Keywords ในบทคัดย่อภาษาอังกฤษของบทความเรื่องนั้นด้วย จำนวนไม่เกิน ๕ คำ
๓. เนื้อหา (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ให้จัดพิมพ์เป็น ๒ คอลัมน์ และจัดพิมพ์เนื้อหาภาษาอังกฤษให้จัดพิมพ์เป็น Single Space
๔. ถ้ามีรูปภาพ/ตารางประกอบ ควรมีภาพที่ชัดเจน ถ้าเป็นรูปถ่ายควรมีภาพถ่ายจริงแนบด้วย
๕. ประวัติผู้แต่ง ให้ระบุชื่อของผู้เขียน หน่วยงานที่สังกัด ตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) วุฒิการศึกษา ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป พร้อมสาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ ประสบการทำงานและผลงานทางวิชาการ ๑-๓ ปีที่ผ่านมา และ File.jpg รูปถ่ายหน้าตรง ๑ รูป (ผู้เขียนสวมสูท) โดยผู้แต่งสามารถปรับปรุงข้อมูลได้ในระบบThaiJO
๖. บรรณานุกรมแยกผลงานภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (เรียงตามลำดับตัวอักษร)
๗. ผลงานวิชาการที่ส่งมาต้องไม่เคยได้รับการเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
๘. การส่งต้นฉบับ จะต้องส่งเอกสารบทความจำนวน ๒ ฉบับ ชนิดไฟล์เวิร์ด โดยแนบไฟล์ในระบบ พร้อมระบุข้อความถึงบรรณาธิการให้ชัดเจน ส่งข้อมูลทั้งหมดผ่านระบบออนไลน์ที่วารสารฯกำหนดให้ผู้เขียนส่ง โดยบทความข้างต้นแบ่งให้เป็น
๘.๑ บทความที่มีรายละเอียดของผู้เขียนบทความครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในข้อ ๕ จำนวน ๑ ฉบับ
๘.๒ ส่วนบทความอีกฉบับไม่ต้องระบุชื่อผู้เขียนและประวัติของผู้เขียนลงในบทความ
๙. บรรณาธิการบริหารนำบทความที่ส่งมาเสนอต่อกองบรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินคุณภาพความเหมาะสมของบทความก่อนการตีพิมพ์ ในกรณีที่ผลการประเมินระบุให้ต้องปรับปรุงแก้ไข ผู้เขียนจะต้องดำเนินการแก้ไขในระบบให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด นับจากวันที่ได้รับผลการประเมินบทความ
๑๐. ผู้เขียนที่แก้ไขบทความเรียบร้อยแล้ว กรุณาส่งบทความของท่านไปเข้าสู่ระบบตามขั้นตอนโดยส่งเข้าสู่ระบบออนไลน์ให้กองบรรณาธิการดำเนินต่อไป
รูปแบบการเขียนอ้างอิง
กรณีที่ผู้เขียนต้องการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลในเนื้อเรื่องให้ใช้วิธีการอ้างอิงแบบระบบเชิงอรรถ (Footnote System) โดยระบุ ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ สถานที่ที่พิมพ์ ปีที่พิมพ์ของเอกสารและหน้าที่อ้างอิงไว้ข้างหลังข้อความที่ต้องการอ้าง เพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความนั้นโดยใส่ลำดับตัวเลขแบบยกตัวเลขขึ้น และให้มีการอ้างอิงหรือบรรณานุกรมส่วนท้ายเล่ม (reference citation) โดยการรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดที่ผู้เขียนได้ใช้อ้างอิงในการเขียนผลงานนั้นๆ จัดเรียงรายการตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ภายใต้หัวข้อ บรรณานุกรม สำหรับผลงานวิชาการภาษาไทยหรือ (reference) สำหรับผลงานวิชาการภาษาอังกฤษ โดยใช้รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิง ระบบเชิงอรรถ (Footnote System) (สามารถดูรายละเอียดได้ที่ภาคผนวกท้ายเล่มวารสาร)