การศึกษาวิเคราะห์ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ตามหลักพระธรรมวินัยที่เอื้อต่อการปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติ การศึกษาวิเคราะห์ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ตามหลักพระธรรมวินัยที่เอื้อต่อการปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติ

Main Article Content

ลภัสรดา วรดาภคนันท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาสภาพความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ตามสุขบัญญัติแห่งชาติ และ (๒) เพื่อวิเคราะห์องค์ความรู้เชิงบูรณาการของกระบวนการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ตามหลักพระธรรมวินัยที่เอื้อต่อการปฏิบัติตามสุขบัญญัติแห่งชาติ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได่แก่ เจ้าอาวาสหรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสของวัดในเขตการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดนนทบุรี และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีประสบการณ์เกี่ยวข้อง มีผลการวิจัย ดังนี้


๑) การศึกษาสภาพความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ตามสุขบัญญัติแห่งชาติ พบว่า ส่วนใหญ่กลุ่มพระสงฆ์ที่เป็นผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้มีค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับที่ไม่เพียงพอต่อการดูแลสุขภาพของตนเอง แต่ในด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติเพื่อการดูแลสุขภาพพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเพียงพอต่อการดูแลสุขภาพของตนเอง


๒) การวิเคราะห์องค์ความรู้เชิงบูรณาการของกระบวนการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ตามหลักพระธรรมวินัยที่เอื้อต่อการปฏิบัติตามสุขบัญญัติแห่งชาติ พบว่า องค์ความรู้ที่ได้รับจากการวิจัยครั้งนี้มีเนื้อหาครอบคลุมกิจกรรมการดูแลสุขภาพสำหรับพระสงฆ์ ทั้งในด้านการบริโภคอาหาร ด้านการออกกำลังกาย ด้านการดูแลอนามัยส่วนบุคคล และด้านการอนามัยสิ่งแวดล้อม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การสร้างเสริมและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ, ฉบับปรับปรุง ปี ๒๕๖๑. เข้าถึงเมื่อ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [www.hed.go.th]

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง และดวงเนตร ธรรมกุล. “การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในประชากรผู้สูงวัย”. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ : กรกฎาคม - ธันวาคม ปี ๒๕๕๘.

จันทนา เวสพันธ์ และคณะ. อาหารเพื่อสุขภาพ, พิมพ์ครั้งที่ ๒. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๔๗.

พินิจ ลาภธนานนท์. โภชนปฏิบัติเพื่อสุขภาพพระสงฆ์. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๒๕๕๗.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กระทรวงสาธารณสุข, มหาวิทยาลัยมหิดล, แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย พ.ศ. ๒๕๔๔, เข้าถึงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑, [http://wops. moph.go.th/ops/oic/data/201103161007031.pdf]

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. “รายงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พ.ศ. ๒๕๕๙”. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. ๒๕๕๙.