แนวทางการพัฒนาจริยธรรมของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ดาวเทียม ในประเทศไทยเชิงพุทธบูรณาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง“แนวทางการพัฒนาจริยธรรมของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ดาวเทียมในประเทศไทยเชิงพุทธบูรณาการ”มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และสภาพปัญหาของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ดาวเทียมในประเทศไทย ๒)เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ดาวเทียมในประเทศไทย ๓) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาจริยธรรมของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ดาวเทียมในประเทศไทยเชิงพุทธบูรณาการ มีระเบียบวิธีวิจัยได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารและสัมภาษณ์ สังเกตการณ์ภาคสนามเก็บรวบรวมข้อมูลจากตำรา เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ผลการวิจัยพบว่า จริยธรรมของผู้ประกอบการเกี่ยวกับโทรทัศน์ดาวเทียมในประเทศไทยเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่จะได้รับการพัฒนาทางด้านจริยธรรมเป็นปัจจัยที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดพฤติกรรม ของผู้ประกอบการ ซึ่งส่งผลต่อการให้บริการสาธารณะ ส่วนหลักพุทธธรรมที่ในการพัฒนาจริยธรรมของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ดาวเทียมในประเทศไทย ได้แก่ หลักพรหมวิหาร ๔ หลักสัมมาทิฎธิ หลักสัมมาสังกัปปะ หลักสัมมาวาจา และหลักวาจาสุภาษิต ๔ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาจริยธรรมด้านสื่อสารมวลชนของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ดาวเทียมในประเทศไทยเพื่อให้องค์กรหน่วยงานเป็นไปอย่างมีคุณธรรมและประสิทธิภาพควรยึดถือหลักการจริยธรรมในทางที่ถูกต้อง
คำสำคัญ : จริยธรรม, พุทธบูรณาการ, กิจการโทรทัศน์ดาวเทียม
Article Details
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนผู้แต่ง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป
References
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.). ประกาศ
คณะกรรมการกิจการกระจาย กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. ราชกิจจานุเบกษา ตอนพิเศษ ๑๕๗ ง, ๒๕๕๕.
ตวงเพชร สมศรี. “การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ : กรณีศึกษาข้าราชการตำรวจในเขตกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๕.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ (ฉบับประมวลธรรม). พิมพ์ครั้งที่ ๑๒. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖.
พระพรหมคุณาภรณ์. (ป.อ. ปยุตโต), พุทธธรรมฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ ๓๕.(กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์ , ๒๕๕๕ ).
พระชาตรี อุปสโม (สุขสบาย). “กระบวนการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ
: กรณีศึกษา วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๙.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์. จากคอลัมน์ ๑๐๐ นักวิทย์โลกไม่ลืม นิตยสาร “ต่วยตูนพิเศษ” ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๔.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.“การสั่งระงับการโฆษณาอาหาร”. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข, ๒๕๕๗.
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. “การพิจารณาโทษทางปกครอง ”. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ , ๒๕๕๘.