รัฐศาสตร์แนวพุทธ: วิเคราะห์เสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย

Main Article Content

sumalee boonrueang
พระอโณทัย กตปุญฺโญ (อุ่นเรือน)

บทคัดย่อ

เสรีภาพทางการเมืองเป็นสิทธิในการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และถือเป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง รวมถึงเสรีภาพในการเลือกวิถีชีวิตของตนทางการเมือง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการมีส่วนร่วมกับรัฐในการดำเนินกิจการที่เป็นประโยชน์สาธารณะ เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ เสรีภาพในการรวมกลุ่ม เสรีภาพในการเลือกตั้งอย่างเสรี ในขณะเดียวกันนี้ความเข้าใจในหลักธรรมทางรัฐศาสตร์ตามแนวพุทธเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง ทั้งผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง ทำให้ได้นักปกครองที่ดีและพลเมืองที่ดี โดยอาศัยอำนาจความดีที่เกิดจากการประพฤติตนให้มีคุณธรรม ใช้อำนาจนั้นในการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นในรูปแบบของการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ให้เกิดประโยชน์สุขแก่คนหมู่มาก ในการอยู่ร่วมกันในสังคมและแห่งมวลมนุษยชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำสอนทางพระพุทธศาสนามองถึงสิทธิเสรีภาพว่าเป็นของคู่กับหน้าที่ เพราะสิทธิเสรีภาพจะเป็นไปด้วยดีก็เพราะมีการคำนึงถึงและปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดี สังคมประชาธิปไตยจึงจะเจริญก้าวหน้า อีกทั้งเสรีภาพนั้นพระพุทธศาสนาชี้ชัดว่าต้องควบคู่ไปด้วยกับความรับผิดชอบ กล่าวคือเมื่อบุคคลใช้เสรีภาพอย่างมีความรับผิดชอบ ก็จะทำให้ตนเองและสังคมมีความเจริญและอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก เสรีภาพทางการเมือง ในความหมายของพระพุทธศาสนาคือคนที่มีจิตใจเป็นอิสระไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสทางการเมือง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

บรรเจิด สิงคะเนติ. การใช้เสรีภาพในทางประชาธิปไตยกับอำนาจรัฐ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://mgronline.com/daily/detail/9610000051183 [๑๔ มกราคม ๒๕๖๓].

บรรเจิด สิงคะเนติ. หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, ๒๕๕๘.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคนสู่ประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). นิติศาสตร์แนวพุทธ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๓๙.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๐ ก ๖ เมษายน ๒๕๖๐.

สงบ เชื้อทอง. รัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://

psiba.blogspot.com/ [๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓].

สมยศ เชื้อไทย และวรพจน์ วิศรุตพิชญ์, “แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย”. วารสารนิติศาสตร์. ปีที่ ๑๔ ฉบับที่ ๓ (กันยายน ๒๕๒๗): ๕๖.

อภินันท์ จันตะนี. พุทธรัฐศาสตร์สำหรับการส่งเสริมความมั่นคงแห่งพลเมือง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๑): ๒๙๐.