นวัตกรรมการสื่อสารธรรมะผ่านแอปพลิเคชันพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)

Main Article Content

ปณัชญา ลีลายุทธ
รังษี สุทนต์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง นวัตกรรมการสื่อสารธรรมะผ่านแอปพลิเคชันพระโพธิญาณเถร (ชา  สุภทฺโท) มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการสื่อสารธรรมะผ่านแอปพลิเคชัน ๒)เพื่อวิเคราะห์คำสอนของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ๓) เพื่อนำเสนอนวัตกรรมการสื่อสารธรรมะผ่านแอปพลิเคชันพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ เป็นวิธีการผสานวิธีวิจัย ผลการศึกษาวิจัย คำสอนหลวงพ่อชาถูกนำมาเผยแพร่ธรรมะเข้าถึงตัวบุคคลผ่านโมบายแอปพลิเคชัน ตอบสนองพฤติกรรมผู้รับสารยุคปัจจุบัน สภาพความจำเป็นต่อการสื่อสารสูงร้อยละ ๕๖.๕ มีความถี่ในการใช้แอปพลิเคชันต่อวันสูงร้อยละ ๕๑.๓  ใช้แอปพลิเคชันเพื่อประโยชน์ ร้อยละ ๗๔.๑ รับข่าวสารธรรมะจากช่องทางยูทูปร้อยละ ๗๙.๙ การรับฟังธรรมะร้อยละ ๔๙.๒ ให้ความรู้ธรรมะร้อยละ ๔๘.๗ มีผู้เคยรับฟังธรรมะหลวงพ่อชาร้อยละ ๖๑.๑   มีความพึงพอใจคำสอนการปล่อยวางร้อยละ ๖๔  ประยุกต์คำสอนในการทำงานสูงร้อยละ ๗๐.๔ และส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมร้อยละ ๖๔.๙ คำสอนสอดคล้องกับยุคสมัยใช้กับวิถีชีวิตด้านการทำงาน ศึกษาเล่าเรียน ความรู้สติปัญญา สังคมและครอบครัว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ). คำบรรยาย วิปัสสนากรรมฐาน. กรุงเทพฯ : บริษัท ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง จำกัด, ๒๕๕๐.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. พิมพ์ครั้งที่ ๖. (Taiwan: The Corporate Body of the Buddha Educational Foundation, ๒๕๔๘.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน. การสังเคราะห์คุณธรรมจริยธรรมในประเทศไทยและต่างประเทศ. ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม.สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์กรมหาชน). กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน), ๒๕๕๑.

ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. แนวคิดหลักการและกระบวนการวิจัย: เชิงปริมาณ คุณภาพและผสานวิธี การเขียนวิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ : uraigraphic, ๒๕๖๑.

สมควร กวียะ. ทฤษฎีการสื่อสารประยุกต์. กรุงเทพฯ: บ.อักษราพิพัฒน์ จำกัด, ๒๕๔๖.

องอาจ นัยพัฒน์. การออกแบบการวิจัย วิธีการเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพและผสมผสานวิธีการ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๔.

วารสาร

ปณัชญา ลีลายุทธและบุญเลิศ โอฐสู. “จริยธรรมและจรรยาบรรณสื่อมวลชนยุคดิจิทัล”. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. ปีที่ ๑๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐: ๑๗๘.

วิทยานิพนธ์

จิราพร เนติธาดา. “วิธีการถ่ายทอดธรรมะของหลวงพ่อชา สุภัทโท”. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. คณะนิเทศศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๒.

ปณัชญา ลีลายุทธ. “จริยธรรมในการนำเสนอข่าวสื่อหนังสือพิมพ์ในยุคดิจิทัล”. การค้นคว้าอิสระ. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. คณะนิเทศศาสตร์: มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, ๒๕๖๐.

พระมหาอมรวิชญ์ ชาครเมธี (บุตรสาร). “เทคนิคการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระ โพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๗.

ภัสร์รวี วงศ์วรสุรัชช์.“การพัฒนาออนโทโลยีพระธรรมเทศนา”. วิทยาการสารสนเทศมหาบัณฑิต, วิทยาการสารสนเทศบัณฑิต : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, ๒๕๕๗.

รัตน์สินี ออมสินสมบูรณ์. “การศึกษาแนวทางการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันประเภทการคมนาคมขนส่งทางบกประเทศไทย”. การค้นคว้าอิสระ.วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายและการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ. วิทยาลัยนวัตกรรม : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๙.

เฉลิมพันธ์ ธโนปจัย. “การออกแบบแอปพลิเคชันเพื่อแนะนำการบริโภคผลไม้ไทย”. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๘.