การศึกษาการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม

Main Article Content

วัชรี มีศิลป์
พระ ศรีวินยาภรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องการศึกษาการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อ ๑) ศึกษาการดำเนินกิจกรรมในการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ ๒) ศึกษาหลักฆราวาสธรรมในพระพุทธศาสนา ๓) บูรณาการการดำเนินกิจกรรมในการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยหลักฆราวาสธรรม และ ๔) นำเสนอแนวทางและองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ“รูปแบบการบูรณาการการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยหลักฆราวาสธรรม” วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ  และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึก


ผลการศึกษาวิจัย พบว่า การดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์มีหลากหลายรูปแบบ มีการนำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาใช้ในการฟื้นฟูฯ และมีการบูรณาการหลักฆราวาสธรรมสอดแทรกในกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ ในการปฏิบัติตามฆราวาสธรรม ๔ มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันจะเริ่มข้อธรรมใดขึ้นอยู่กับปัญหาของผู้ป่วย และองค์ความรู้ใหม่บูรณาการการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม คือ SCB-SA-SC-SD Model เป็นรูปแบบการดำเนินกิจกรรมที่จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนทางสังคมในการการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมเพื่อให้ผู้ป่วย ตระหนักรู้ตนหรือมีสติ/สมาธิ ควบคุมตนเองได้หรือมีศีลและการพัฒนาตนหรือมีปัญญา จะช่วยให้เลิกดื่มแอลกอฮอล์ได้นานขึ้น          

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. ชวนคนไทย งด ละ เลิกเหล้า เข้าพรรษา. สืบค้นเมื่อ ๕ เมษายน ๒๕๕๘, จาก http://www.forums.dmh.go.th/index.php?topic=137438.0;wap2.

นันทา ชัยพิชิตพันธ์. “การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพในผู้ป่วยเสพติดยาบ้า: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม”. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. (สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว). คณะแพทย์ศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๘.

บุญศิริ จันศิริมงคลและคณะ. “โรคร่วมจิตเวชของผู้ป่วยในจิตเวชที่มีปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์”, วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒, ๒๕๕๖.

พระครูสุมณฑ์ธรรมธาดา (สายัน บวบขม). “การศึกษาปัญหาและทางออกของการดื่มแอลกอฮอล์ที่มีผลกระทบต่อสังคมไทย”. ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๓.

เพ็ญศรี หงส์พานิช. “ศึกษาประสิทธิผลของการดำเนินงานวัดเป็นศูนย์สงเคราะห์และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด”. ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๕๖.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับสยามรัฐ. พิมพ์ครั้งที่ ๙. นครปฐม : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๕๗.

สถาบันสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี. รายงานตัวชี้วัดผู้ที่เข้ารับการบำบัดรักษาปี ๒๕๕๗-๒๕๕๙, (อัดสำเนา).

สมคิด เศษวงศ์. “พุทธบูรณาการในการบำบัดผู้ติดสุราของศูนย์บำบัดยาเสพติดในวัดภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ”. พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๐.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สหธรรมิก, ๒๕๖๑