ทำความเข้าใจมโนทัศน์ว่าด้วย “อัตวิสัย” ประตูสู่การสร้างคุณค่าในตนเองของคนพิการ (ผู้ที่มีความต้องการพิเศษ)

Main Article Content

ปริณุต ไชยนิชย์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการต่อสู้ต่อรองและเปิดประตูสู่การสร้างคุณค่าในตนเองของคนพิการ (ผู้ที่มีความต้องการพิเศษ) ด้วยการเปิดรับความเป็นอัตวิสัยในโลกที่เต็มไปด้วยผลประโยชน์เสรีและวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ทำให้แนวคิดเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือคนพิการนั้นว่ายวนอยู่ในอ่าง คล้ายแนวคิดปฏิฐานนิยมที่เชื่อว่าทุกสิ่งต้องมีคำตอบเดียว ทุกอย่างดำรงอยู่อย่างกลาง ๆ ไม่มีคุณค่า ยึดถือเกณฑ์ตัวเลขและความเชื่อทางวิทยาศาสตร์ ความรู้ที่มาจากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้ความสำคัญกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ทั้งปฏิฐานนิยมและประจักษ์นิยมคือกรอบแห่งทฤษฎีตั้งต้นที่มนุษย์คุ้นชิน บทความวิชาการนี้เปิดมุมมองให้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษาความเป็นอัตวิสัยที่ไม่ใช่เพียงการยืนยันเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีเท่านั้น หากแต่คือการเปิดรับความเป็นอัตวิสัยด้วยการเห็นคุณค่าของการไม่มุ่งหาความจริงด้วยการวัดและประเมินผลเชิงตัวเลขหรือการพิสูจน์เชิงทฤษฎีเสมอไป เพิ่มพื้นที่ขององค์ความรู้ใหม่ที่ไม่ได้มาจากข้อเท็จจริงล้วน ๆ แต่เป็นการรับรู้ผ่านลักษณะแบบฉบับ ผลการศึกษาเป็นไปตามลำดับหัวข้อ ดังนี้ 1) อัตวิสัยคลี่คลายโครงสร้างของสังคมโดยมีคนพิการเป็นผู้กระทำการทางสังคม 2) หลุดจากการพิสูจน์คำตอบโลกของคนพิการแบบวิทยาศาสตร์ธรรมชาติสู่มุมมองแบบอัตวิสัย 3) ความเคยชินกับความเป็นวัตถุวิสัย (ภววิสัย) ที่ยืนยันผลได้ 4) การกำเนิดคุณค่าในตนเองของคนพิการจากปฏิบัติการด้วยตนเองสู่การต่อสู้ต่อรองกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (วัตถุวิสัย) 5) เทคโนโลยีแห่งตัวตนคนพิการบนความเป็นอัตวิสัย และ 6) ผลแห่งการปฏิบัติการทางอำนาจด้วยการปรับเปลี่ยนมโนทัศน์สู่การผลิตซ้ำความเป็นอัตวิสัย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Chaiyanich, P. (2012). Enhancement of career awareness using podcasts with metacognitive strategies for visually impaired sixth grade students. Retrieved from http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/45241/1/parinut_ch.pdf (In Thai)

Chaiyanich, P. & Suwannatthachote, P. (2018). The use of Modeling Procedures to create media promoting career awareness for blinds. Retrieved from https://rs.mahidol.ac.th/rs-journal/vol.15/vol.15-007.php (In Thai)

Chaiyanich, P. (2020). Perspective Transformation of Disabled People in Crisis Issue by Self-Empowerment Case Study of Electronic Book Media “Bright mind, even physical disability” of Kampol Thongboonnoom. Retrieved from https://rs.mahidol.ac.th/rsjournal/vol.16-02/vol.16-02-008.php (In Thai)

Calhoun, C. J. (1992). Habermas and the public sphere. Cambridge, Mass: MIT Press.

Chaiwatthanakunwanit, S., & Rukspollmuang, C. (2015). Alternative edicatopmal provision model to improve quality of life of children with special needs. Journal of education Khon Kaen University, 9(1), 192-201.

Charoensin-o-larn, C. (2016). Subjectivity/Objectivity in the Social and Human Science. E-book. (In Thai)

Danaher, G., Schirato, T., & Webb, J. (2000). Art of the Self. Understanding Foucault. London: SAGE.

Giddens, A. (1984) The Constitution of Society: Outline of the Theory of Structuration. Cambridge: Polity Press.

Henry, A. (2010). Rethinking Education as the Practice of Freedom: Paulo Freire and the promise of critical pedagogy. Policy Futures in Education, 8. Retrieved from http://dx.doi.org/10.2304/pfie.2010.8.6.715

Jaiaree, P. (2016). The effect of disease prevention motivation program on family caregivers’ behavior in oral health care for preschoolers with congenital heart disease. Retrieved from http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52226 (In Thai)

Mezirow, J. (1997). ‘Transformative Learning: Theory to Practice’. New Directions for Adult and Continuing Education, 74, 5-12.

Ministry of Education. (1999). National Education Act. Retrieved from http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/A/074/1.PDF (In Thai)

Moses, J. W. & TorjornL. K. (2007). Ways of Knowing: Competing Methodologies in Social and Political Research. (2nd eds). London: Palgrave Macmillan.

National Statistical Office. (2019). Key Conclusions, Disability Survey 2019. Retrieved from http://www.nso.go.th/sites/2014en (In Thai)

Paulo Faire. (1974). Paulo Faire: Pedagogy of the oppressed. Free Student Federation of Thailand: Bangkok. (In Thai)

Suebsaipetch, K. & Anawatsiriwong, T., (2017). “Independent Living Philosophy” through personal experience narratives of persons with disabilities. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcomm/article/view/151616 (In Thai)

Traimongkolkul, P. & Chattraporn, S. (2012). Research Design. (7th eds). Bangkok: Kasetsart University. (In Thai)

Vajiravuddho, N. (2021). Desirable Characteristics of the Graduates in The 21st Century according to Threefold Training. Journal of Liberal Art of Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi, 3(2), 190 - 201.

Yindham, T. (2015). Soren Kierkegaard’s Concept of Subjectivity. Panidhana Journal, 11(17), 25-47.