วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu <p><strong>วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี</strong> </p> <p>จัดทำโดยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นวารสารราย 4 เดือน เผยแพร่แบบออนไลน์ ปีละ 3 ฉบับ (ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม และฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม) เป็นวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย<strong> (TCI) กลุ่มที่ 1 </strong><em>ซึ่งการรับรองคุณภาพวารสารครั้งนี้มีผลตั้งแต่วันที่ </em><em>1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567</em> มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสนับสนุนคณาจารย์ นักศึกษา ข้าราชการ นักวิชาการ และนักวิจัยทั่วไป ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน ในการนำเสนอผลงานวิชาการทางสาขาศึกษาศาสตร์</p> <p>ผลงานทางวิชาการที่รับพิจารณาตีพิมพ์ ได้แก่ บทความวิชาการ และบทความวิจัย ซึ่งต้องเป็นต้นฉบับที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น <strong>บทความทุกเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ และผ่านการพิจารณาความถูกต้องทางวิชาการ (</strong><strong>Peer reviewed) จากผู้ทรงคุณวุฒิ (Reviewer) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 2 ท่าน</strong> โดยการประเมินเป็นแบบปกปิดรายชื่อทั้งผู้ประเมินและผู้นิพนธ์ (Double - blind peer review) </p> <p>อัตราค่าธรรมเนียมการพิจารณาตีพิมพ์บทความลงวารสาร โดยจะ<strong>เรียกเก็บหลังจากบทความผ่านการพิจารณาเบื้องต้น</strong>จากกองบรรณาธิการแล้ว ดังนี้ 1) บทความภาษาไทย ค่าธรรมเนียมฯ บทความละ 3,500 บาท 2) บทความภาษาอังกฤษ ค่าธรรมเนียมฯ บทความละ 4,000 บาท </p> <p><strong>ISSN Online: 3027-7825</strong></p> th-TH [email protected] (Assoc. Prof. Dr.Afifi Lateh) [email protected] (Jeeranan Songchart (Technical Support )) Fri, 22 Mar 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ศิลปะ: แนวคิดสตรีมศึกษาในทักษะศตวรรษที่ 21 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/257480 <div>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอถึงการนำศิลปะและแนวคิดสตรีมศึกษา (STEAM Education) มาประยุกต์ใช้เพื่อให้สอดคล้องและเตรียมพร้อมในศตวรรษที่ 21 ซึ่งการนำรูปแบบการเรียนการสอน การบูรณาการวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกันนั้น อันได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปะ และคณิตศาสตร์ มีจุดเริ่มต้นมาจากแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) ซึ่งเป็นการบูรณาการ 4 วิชาเข้าด้วยกัน ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้และสามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนา จนเกิดทักษะในการแก้ปัญหาและการสร้างสรรค์สิ่ง<span style="font-size: 0.875rem;">ใหม่ ๆ การเรียนรู้จากการลงมือทำในการทำงานและการดำเนินชีวิต </span>ในศตวรรษที่ 21 จึงมีการนำการเรียนการสอนศิลปะเข้ามาบูรณาการ โดยมีลักษณะการจัดการเรียนรู้มีขั้นตอนและวิธีการเริ่มต้นจากกำหนดปัญหาให้ผู้เรียนได้คิดค้น การค้นหาคำตอบแสวงหาเหตุและผลในการแก้ปัญหา การลงมือสร้างสรรค์ผลงานหรือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบหรือวิธีในการแก้ประเด็นปัญหาที่ตั้งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับช่วงวัยและพัฒนาการของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะกระบวนการคิด การตั้งคำถาม</div> <div>การค้นหาเหตุผล และเข้าใจซึ่งคำตอบผ่านการปฏิบัติกิจกรรมกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเพื่อให้ผู้เรียนรู้ พัฒนาความสามารถทางด้านทักษะและเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำรงชีวิตในปัจจุบันและความท้าทายต่อโลกในอนาคต ซึ่งอาชีพในปัจจุบันพบว่ามีความหลากหลายและเพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ได้นั้น การมีทักษะที่สำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี (Information, Media, and Technology Skills) และทักษะชีวิตและ</div> <div>การทำงาน (Life and Career Skills) จึงเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนและประเทศในอนาคตต่อไป</div> สุปราณี ชมจุมจัง Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/257480 Thu, 21 Mar 2024 00:00:00 +0700 อภิปัญญาเพื่อการเรียนรู้และการสอนภาษาไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/259210 <div>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการสังเคราะห์แนวคิดที่นำไปสู่แนวทางการประยุกต์ใช้อภิปัญญาในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย อภิปัญญาคือ ความสามารถในการจัดการกลไกการรู้คิดและการเรียนรู้ ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพในสองมิติ มิติแรกเป็นความรู้ความสามารถทางปัญญาขั้นสูงของผู้เรียนที่รวมความตระหนักรู้ แรงจูงใจ</div> <div>และการจัดการตนเองในกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก ซึ่งช่วยพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ มิติที่สองคือการใช้กลยุทธ์การสอนของครู เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ประสบการณ์และกลยุทธ์การเรียนรู้เชิงลึก ส่งเสริมการเรียนรู้แบบนำตนเองได้อย่างอิสระและต่อเนื่อง พร้อมปรับเพิ่มบทบาทของการประเมินการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยเฉพาะการประเมินการเรียนรู้ขณะเรียนรู้ แนวทางการนำอภิปัญญาไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ สามารถช่วยครูภาษาไทยสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับชั้นเรียนได้ ด้วยกรอบคิดแบบพัฒนา และการปฏิบัติบนฐานความรู้ที่ชัดแจ้งว่าอภิปัญญาคืออะไรทำไมต้องใช้และใช้อย่างไร</div> ศึกษา เบ็ญจกุล Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/259210 Thu, 21 Mar 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการสอดแทรกการสอนการออกกำลังกายแบบแรงต้านในวิชาพลศึกษา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/259327 <p>กิจกรรมการออกกำลังกายแบบแรงต้านเป็นกิจกรรมที่เด็กและวัยรุ่นไทยไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควร ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่สำคัญ สามารถส่งผลดีต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ทั้งระบบประสาท ระบบโครงกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ ระบบผิวหนัง และระบบต่อมไร้ท่อ และส่งเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ เป็นหนึ่งในทักษะการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่เด็กและวัยรุ่นไทยพึงปฏิบัติให้ได้ตามตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ซึ่งได้กำหนดให้ผู้เรียนมีทักษะการออกกำลังกายเพื่อสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ โดยการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาซึ่งเป็นรายวิชาที่ใช้กิจกรรมกีฬา การออกกำลังกาย เกม การละเล่นพื้นบ้าน กิจกรรมทางกายอื่น ๆ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ครบทุก ๆ ด้าน ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา นำไปสู่การเกิดทักษะ ความรู้ และทัศคติที่ดีต่อการเล่นกีฬาและการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพในชีวิตประจำวันได้ ด้วยเหตุผลและความสำคัญของการออกกำลังกายแบบแรงต้านนี้ บทความวิชาการฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นในมุมมองของครูพลศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ 1) ประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบแรงต้าน และ 2) แนวทางการสอดแทรกการสอนการออกกำลังกายแบบแรงต้านในวิชาพลศึกษา</p> ฮานาฟีย์ ยี่สุ่นทรง, ตูแวยูโซะ กูจิ , อัสรี สะอิดี Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/259327 Thu, 21 Mar 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์นโยบายทางการศึกษาเชิงวิพากษ์: แนวคิด และกระบวนการ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/260007 <p>บทความมีเป้าหมายเพื่อนำเสนอกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์นโยบายเชิงวิพากษ์ที่มุ่งให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมที่เกิดขึ้นกับทุกภาคส่วนในด้านการศึกษา โดยแบ่งออกเป็น 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การวิเคราะห์นโยบายทางการศึกษา 2) การวิเคราะห์นโยบายทางการศึกษาเชิงวิพากษ์ 3) กรอบการวิเคราะห์นโยบายทางการศึกษาเชิงวิพากษ์ 4) งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์นโยบายทางการศึกษาเชิงวิพากษ์ 5) ข้อจำกัดในการวิเคราะห์นโยบายทางการศึกษาเชิงวิพากษ์ ทั้งนี้ สามารถนำกรอบการวิเคราะห์นโยบายเชิงวิพากษ์ที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นนี้มาใช้พิจารณาถึงผลการดำเนินนโยบายทางการศึกษาต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นให้เกิดความเท่าเทียมและลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบันและอนาคตภายใต้ข้อจำกัดและข้อเสนอแนะที่กล่าวไว้</p> ชาติชาย โคกเขา, เอกรินทร์ สังข์ทอง Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/260007 Thu, 21 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อสุขภาพจิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ ในช่วงการเรียนรู้ยุควิถีชีวิตปกติใหม่ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/258758 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินดัชนีชี้วัดสุขภาพจิต เพื่อหาปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อสุขภาพจิตของนักศึกษาและเพื่อทราบผลกระทบถึงนโยบายการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยที่นามาใช้กับนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 441 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์แบ่งกลุ่ม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาส่วนใหญ่มีสุขภาพจิตดีกว่าคนทั่วไปคิดเป็นร้อยละ 94.77 รองลงมาคือมีสุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไปคิดเป็นร้อยละ 4.75 และเป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไปน้อยสุด คิดเป็นร้อยละ 0.48 ตามลำดับ 2) ตัวแปรภายในที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับสุขภาพจิตดีกว่าคนทั่วไปคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ของคณะครุศาสตร์ ตัวแปรอายุ และพบว่าตัวแปรนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของคณะพยาบาลศาสตร์มีความสัมพันธ์ทางลบกับสุขภาพจิตดีกว่าคนทั่วไป 3) ความรู้สึกในทางที่ดีจากนโยบายคือ ได้คลายเครียด รู้สึกได้พักผ่อนมากขึ้น ได้นอนเพิ่มมากขึ้น ได้อยู่กับครอบครัวมากขึ้น มีเวลาทำกิจกรรมอย่างอื่นมากขึ้น ไม่ต้องพบผู้คนมาก ทำให้ลดการเสี่ยง ประหยัดค่าใช้จ่าย รู้สึกเห็นใจพ่อกับแม่มากขึ้น ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไม่ต้องรีบตื่นไปเรียน เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา มีเวลาทำงานอดิเรกมากขึ้น ไม่ต้องเดินทางบ่อย และตื่นนอนช้าได้ 4) ความรู้สึกในทางที่ไม่ดีคือ ห่างบ้าน เสี่ยงติดโรค ไม่ได้ออกไปทำกิจกรรมนอกที่พัก ต้องสวมหน้ากากตลอดเวลา โมโหง่ายขึ้น เหนื่อยกับการทำงาน เวลาว่างน้อยลง กินนอนไม่ตรงเวลา ทำอะไรก็ยากขึ้น มีความกังวล และไม่ค่อยมีเพื่อน</p> บุญเลี้ยง ทุมทอง, ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/258758 Thu, 21 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลิตภาพในการทำวิจัยของอาจารย์ในสายสังคมศาสตร์: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/258779 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลิตภาพการทำวิจัยของอาจารย์ในสายสังคมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ประกอบด้วย1) ปัจจัยแรงจูงใจจากภายใน 2) ปัจจัยทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับการทำวิจัย 3)ปัจจัยความเชื่อเกี่ยวกับกลุ่มอ้างอิงในการทำวิจัย 4) ปัจจัยการรับรู้ความสามารถในการทำวิจัย และ 5) ปัจจัยการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร รวมไปถึงปัจจัยส่วนบุคคลอื่น ๆ โดยทำการวัดผลิตภาพการทำวิจัยของอาจารย์ทั้งจากมุมมองและการรับรู้ของอาจารย์ และจำนวนผลงานวิจัยที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในปีที่ผ่านมา ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ซึ่งมีจำนวน 29 ข้อ โดยเก็บข้อมูลจากอาจารย์กลุ่มสายสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ประกอบด้วย คณะวิทยาการจัดการ คณะศิลปศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ และสถาบันสันติศึกษา ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาทั้งสิ้น 111 ชุด (คิดเป็นร้อยละ 59.68) จากนั้นดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Regression) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลิตภาพการทำวิจัยของอาจารย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การมีตำแหน่งวิชาการ การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ และการรับรู้ความสามารถในการทำวิจัย โดยพบว่า 1) อาจารย์ที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์จะมีผลงานวิจัยมากกว่าอาจารย์ที่ไม่มีตำแหน่งวิชาการ 2) การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ทำให้มีงานวิจัยมากกว่าอาจารย์ที่ไม่เป็นที่ปรึกษาฯ และ 3) การรับรู้ความสามารถในการทำวิจัย ส่งผลให้อาจารย์มีผลิตภาพการทำวิจัยสูงขึ้น ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ไม่ส่งผล</p> เรืองรุ้ง ชีวรัชชานนท์, วิษณุพงษ์ โพธิพิรุฬห์ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/258779 Thu, 21 Mar 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิภาพของชุดการฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง การออกเสียงภาษาอังกฤษ เรื่องการลงเสียงหนักเบาในภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/260210 <div>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดการฝึกปฏิบัติด้วยตนเองการออกเสียงภาษาอังกฤษ เรื่อง การลงเสียงหนักเบาในภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 2) ศึกษาผลการพัฒนาการออกเสียงการลงเสียงหนักเบาในภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ก่อนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้ชุดการฝึกปฏิบัติด้วยตนเองการออกเสียงภาษาอังกฤษ เรื่อง การลงเสียงหนักเบาในภาษาอังกฤษ โดยมีประชากรคือนักศึกษาที่ได้ลงทะเบียนเรียนรายวิชาสัทศาสตร์และสัทวิทยาสำหรับครูภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 60 คน และกลุ่มตัวอย่างเลือกใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงจำนวน 30 คน โดยใช้ระยะเวลาจำนวน 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ชุดการฝึกปฏิบัติด้วยตนเองการออกเสียงภาษาอังกฤษ เรื่อง การลงเสียงหนักเบาในภาษาอังกฤษ แบบทดสอบการออกเสียงก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าคะแนนความเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test for dependent samples ขั้นตอนการทดลองคือ สัปดาห์ที่ 1 ทดสอบก่อนเรียน สัปดาห์ที่ 2-3 สอนหน่วยการเรียนเรื่องการลงเสียงหนักเบาในภาษาอังกฤษ และดำเนินการสอนนักศึกษากลุ่มตัวอย่างโดยใช้ชุดการฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง สัปดาห์ที่ 4 ทดสอบหลังเรียนและทำแบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า ชุดการฝึกปฏิบัติด้วยตนเองมีประสิทธิภาพ E1/E2 = 80.13/80.50 นักศึกษามีพัฒนาการในการลงเสียงหนักเบาในภาษาอังกฤษ เมื่อใช้ชุดการฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง สูงกว่าก่อนการใช้ชุดฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และโดยรวมนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดการฝึกปฏิบัติด้วยตนเองการออกเสียงภาษาอังกฤษ เรื่อง การลงเสียงหนักเบาในภาษาอังกฤษ ระดับมากที่สุด</div> ปรารถนา ผดุงพจน์ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/260210 Thu, 21 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาโปรแกรมการฝึกทักษะทุ่มคล้องแขนเดียวของนักกีฬามวยปล้ำ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตตรัง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/260308 <p>งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฝึกทักษะทุ่มคล้องแขนเดียวของนักกีฬามวยปล้ำ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะทุ่มคล้องแขนเดียวก่อนและหลังของนักกีฬามวยปล้ำ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักกีฬามวยปล้ำที่มีต่อโปรแกรมการฝึกทักษะทุ่มคล้องแขนเดียว กลุ่มเป้าหมายคือ นักกีฬามวยปล้ำ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตตรัง จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการฝึกทักษะทุ่มคล้องแขนเดียวของนักกีฬามวยปล้ำ จำนวน 8 สัปดาห์ 2) แบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกทักษะทุ่มคล้องแขนเดียวของนักกีฬามวยปล้ำ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักกีฬามวยปล้ำที่มีต่อโปรแกรมการฝึกทักษะทุ่มคล้องแขนเดียว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที และ2) ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และนำข้อมูลสารสนเทศนำเสนอแบบความเรียง</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า (1) โปรแกรมการฝึกทักษะทุ่มคล้องแขนเดียวของนักกีฬามวยปล้ำ พบว่า โปรแกรมการฝึกทักษะทุ่มคล้องแขนเดียวของนักกีฬามวยปล้ำ มีความเหมาะสมและสามารถพัฒนาทักษะทุ่มคล้องแขนเดียวของนักกีฬามวยปล้ำได้เป็นอย่างดี (2) ผลการฝึกทักษะทุ่มคล้องแขนเดียวของนักกีฬามวยปล้ำก่อนการฝึก หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ความพึงพอใจของนักกีฬามวยปล้ำในการใช้โปรแกรมการฝึกทักษะการทุ่มคล้องแขนเดียว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p> นฐรรษวรรณ ทองตั้ง, นิธิกร คล้ายสุวรรณ, ประสาร ทองเอื้อ, กชวรรณ สีสุก , กิตติภูมิ โคตรอาษา, ปฎิพัทธ์ เพชรขุ้ม, ณัฐพงศ์ หิ้นมี, ธราธิป ทรงสวัสดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/260308 Thu, 21 Mar 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/260510 <div>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา 4) เพื่อประมวลข้อเสนอแนะของภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 จำนวน 346 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.94 และแบบสอบถามการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการทดสอบ ค่าที และเอฟ</div> <div> </div> <div>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา พบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันเท่ากับ .64 มีความสัมพันธ์ที่ระดับ</div> <div>ปานกลาง 4) ประมวลข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษาและการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารกล่าวย้ำเกี่ยวกับวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วมแก่ครูและบุคลากรอย่างต่อเนื่อง</div> ต่วนฮัสนะห์ ลาดอ, จรุณี เก้าเอี้ยน, พิมพ์ปวีณ์ สุวรรณโณ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/260510 Thu, 21 Mar 2024 00:00:00 +0700 ถอดบทเรียนการสอนออนไลน์ในยุคความปกติใหม่ ของอาจารย์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/261723 <div>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสอนออนไลน์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์จำแนกตามกลุ่มสาขาวิชา จำนวน 15 คน คัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงโดยคำนึงถึงคุณสมบัติ</div> <div>ที่เป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่จัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในภาคการศึกษาที่ 1/2563 ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างตามแนวคิดของ CIPP model เก็บข้อมูลในระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการสอนออนไลน์ที่</div> <div>เหมาะสมกับบริบทการเรียนของผู้เรียนในปัจจุบัน คือ การสอนสดออนไลน์ผ่านทางโปรแกรมต่าง ๆ เช่น Google meet, Zoom, MS Team เป็นต้น เพราะโปรแกรมดังกล่าว สามารถสอนและบันทึกคลิปวิดีโอการสอนซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้เรียนที่สามารถทบทวนเนื้อหาที่เรียนย้อนหลังได้ตลอดเวลา รูปแบบที่เหมาะสมกับยุคความปกติใหม่ควรเป็น</div> <div>การสอนแบบผสมผสานที่ต้องมีการเรียนทั้งในห้องเรียน และเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ โดยมหาวิทยาลัยต้องมีการจัดระบบอุปกรณ์สนับสนุนให้กับนักศึกษาอย่างเพียงพอ เช่น ความเสถียรของสัญญาณอินเทอร์เน็ต นำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ ทุกที่และทุกเวลา ตอบโจทย์การเรียนรู้ในยุค 4.0</div> ปวีณา ลิมปิทีปราการ, นิยม จันทร์นวล, ฐิติมา แสนเรือง, กาญจนา แปงจิตต์ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/261723 Thu, 21 Mar 2024 00:00:00 +0700 ความต้องการจำเป็นและแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะของครูแนะแนว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/262135 <div>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะครูแนะแนว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร โดยวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาความต้องการจำเป็นของสมรรถนะของครูแนะแนว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากำแพงเพชร โดยใช้แบบสอบถามกับครูแนะแนว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กำแพงเพชร มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.991 มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ชนิดตอบสนองรายคู่ ประกอบด้วย สมรรถนะด้านความรู้ สมรรถนะด้านทักษะ และสมรรถนะด้านคุณลักษณะ จำนวน 39 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNImodified) ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะของครูแนะแนว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร ข้อมูลได้มาจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 4 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา</div> <div> </div> <div>ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นของสมรรถนะของครูแนะแนว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร พบว่า สมรรถนะด้านความรู้ มีดัชนีความต้องการจำเป็นมากที่สุด (PNI modified = 0.170) รองลงมา คือ สมรรถนะด้านทักษะ (PNI modified = 0.122) และสมรรถนะด้านคุณลักษณะ (PNI modified = 0.106) ตามลำดับ 2) ผลการศึกษาแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะของครูแนะแนว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร พบว่า สำนักงานเขตพื้นที่ควรจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการส่งเสริมสมรรถนะของครูแนะแนว ผู้บริหารสถานศึกษาจัดให้มีการนิเทศ ติดตามภายในสถานศึกษาเพื่อให้คำแนะนำและ</div> <div>ตรวจสอบการทำงานของครูแนะแนว และครูแนะแนวควรศึกษาแนวคิดพื้นฐานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายสถานศึกษากับชุมชนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะของครูแนะแนว</div> สุภาภรณ์ ฤมิตร, สถิรพร เชาวน์ชัย Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/262135 Thu, 21 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาแบบทดสอบการรู้ทางชีวภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/261362 <div>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบทดสอบการรู้ทางชีวภาพ ตรวจสอบความเป็นคู่ขนานของแบบทดสอบและสร้างเกณฑ์ปกติของการรู้ทางชีวภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนโรงเรียนขนาดใหญ่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ที่กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวนทั้งสิ้น 1,353 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 290 คน โดยใช้สูตร Krejcie &amp; Morgan (1970) ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมแล้วทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ</div> <div>โควต้า (Quota Sampling) วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ตรวจสอบความเป็นคู่ขนานของแบบทดสอบ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและเกณฑ์ปกติของการรู้ทางชีวภาพ ผลปรากฏว่า แบบทดสอบการรู้ทางชีวภาพทั้ง 2 ฉบับที่สร้างขึ้นมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด และแบบทดสอบมีความเป็นคู่ขนานกัน โดยมีคะแนนเฉลี่ยโดยภาพรวมของแบบทดสอบฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 เท่ากับ 24.06 และ 24.24 คะแนน ตามลำดับ จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า แบบทดสอบฉบับที่ 1 ด้านความรู้ ด้านบริบท และด้านเจตคติ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.19 6.01 และ 2.81 แบบทดสอบฉบับที่ 2 ด้านความรู้ ด้านบริบท และด้านเจตคติมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.08 6.03 และ 3.13 จากคะแนนเต็ม 24 11 และ 5 ตามลำดับ คะแนนการรู้ทางชีวภาพ จำแนกตามโรงเรียนภาพรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เกณฑ์ปกติของคะแนนการรู้ทางชีวภาพของกลุ่มตัวอย่างโดยภาพรวม มีช่วงคะแนนที ตั้งแต่ T27 ถึง T72 (P0.52 – P99.48) เกณฑ์ปกติที่ได้พัฒนาขึ้นอยู่บนพื้นฐานของการประเมินผลแบบอิงกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนขนาดใหญ่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้</div> ณัฐทิยา บาหลัง, อาฟีฟี ลาเต๊ะ, โอภาส เกาไศยาภรณ์, แววฤดี แววทองรักษ์ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/261362 Thu, 21 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนามาตรฐานตัวชี้วัดด้านผู้เรียน สำหรับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดยะลา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/263108 <div>การทำให้ทุกฝ่ายมั่นใจว่าสถานศึกษาบริหารและจัดการศึกษามีคุณภาพทำให้ผู้เรียนทุกคนบรรลุคุณภาพ เป็นการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาซึ่งต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนามาตรฐานตัวชี้วัดด้านผู้เรียนสำหรับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของสถานศึกษานำร่องพื้นที่</div> <div>นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดยะลา และ 2) ตรวจสอบคุณภาพของมาตรฐานตัวชี้วัดด้านผู้เรียน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 พัฒนามาตรฐานและตัวชี้วัด สำหรับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดยะลา ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 7 คน ระยะที่ 2 ตรวจสอบคุณภาพมาตรฐาน และตัวชี้วัด ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 500 คน ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรม นักวิชาการด้านการศึกษา และคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดยะลา ยึดอัตราส่วนของตัวแปรต่อกลุ่มตัวอย่าง 1: 20 โดยใช้ตัวแปรจากระยะที่ 1 สุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามมาตราส่วน ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.824 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐานและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน</div> <div> </div> <div>ผลการวิจัย พบว่า มาตรฐานตัวชี้วัดด้านผู้เรียนสำหรับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดยะลา ควรมีจำนวน 6 มาตรฐาน 32 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย มาตรฐานด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการและความสามารถพื้นฐาน 4 ตัวชี้วัด ด้านทักษะภายในตัวเอง 6 ตัวชี้วัด ด้านทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ 5 ตัวชี้วัด ด้านทักษะทางเทคโนโลยีดิจิทัล 6 ตัวชี้วัด ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 7 ตัวชี้วัด และด้านความคิดขั้นสูง 4 ตัวชี้วัด ผลการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานและตัวชี้วัด พบว่ามีความเหมาะสมสอดคล้องกัน</div> <div>ผู้บริหารสามารถใช้ผลการวิจัยดังกล่าวเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริม กำกับดูแล ตรวจสอบ ประเมินผล เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาต่อไป</div> ชวลิต เกิดทิพย์, ศรัญญา คงศรี Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/263108 Thu, 21 Mar 2024 00:00:00 +0700 การสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกลยุทธ์ Modeled Talk เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/263363 <div>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาคุณภาพกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกลยุทธ์ Modeled Talk เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมีคุณภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกลยุทธ์ Modeled Talk 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกลยุทธ์ Modeled Talk เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนศิลปศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา) ที่เรียนวิชา อ 32208 ภาษาอังกฤษฟัง-พูด ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผน การจัดการเรียนรู้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกลยุทธ์ Modeled Talk ที่เป็นเนื้อหา Procedure Text จำนวน 10 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารก่อนและหลังเรียนเป็นฉบับเดียวกัน 3) แบบสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกลยุทธ์ Modeled Talk 4) แบบสัมภาษณ์การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกลยุทธ์ Modeled Talk 5) แบบสอบถาม</div> <div>ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกลยุทธ์ Modeled Talk ระยะเวลาการวิจัย จำนวน 24 ชั่วโมง</div> <div> </div> <div>ผลการวิจัยดังนี้ 1) กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกลยุทธ์ Modeled Talk เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมีประสิทธิภาพ 79.75/83.75 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 ตามที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนมีความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกลยุทธ์ Modeled Talk สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกลยุทธ์ Modeled Talk เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก (คะแนนเฉลี่ย = 4.13 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.88)</div> อับดุลรอพา สาแล Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/263363 Thu, 21 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญ โดยการใช้แอปพลิเคชัน ReadAWrite ร่วมกับวิธีการอ่านจับใจความสำคัญแบบ 5 W 1 H ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสตรีภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/261420 <p>การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทสนทนาสำเร็จรูปผ่านแอปพลิเคชัน ReadAWrite ร่วมกับวิธีการอ่านจับใจความสำคัญแบบ 5 W 1 H เรื่อง เห็นแก่ลูก ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้บทสนทนาสำเร็จรูปผ่านแอปพลิเคชัน ReadAWrite ร่วมกับวิธีการอ่านจับใจความสำคัญแบบ 5 W 1 H เรื่อง เห็นแก่ลูก ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสตรีภูเก็ต และ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสตรีภูเก็ต ที่มีต่อบทสนทนาสำเร็จรูปผ่านแอปพลิเคชัน ReadAWrite ร่วมกับวิธีการอ่านจับใจความสำคัญแบบ 5 W 1 H เรื่อง เห็นแก่ลูก การวิจัยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวโดยวัดผลแบบก่อนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1)แผนการจัดการเรียนรู้ บทสนทนาสำเร็จรูปผ่านแอปพลิเคชัน ReadAWrite ร่วมกับวิธีการอ่านจับใจความสำคัญแบบ 5 W 1 H เรื่องเห็นแก่ลูก (2) บทสนทนาสำเร็จรูปผ่านแอปพลิเคชัน ReadAWrite เรื่อง เห็นแก่ลูก จำนวน 4 ตอน (3) แบบทดสอบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ (4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อบทสนทนาสำเร็จรูปผ่านแอปพลิเคชัน ReadAWrite จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า T-test และค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) บทสนทนาสำเร็จรูปผ่านแอปพลิเคชัน ReadAWrite เรื่อง เห็นแก่ลูก ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิ์ภาพเท่ากับ 67.2/89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้บทสนทนาสำเร็จรูปผ่านแอปพลิเคชัน ReadAWrite เรื่อง เห็นแก่ลูก เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน มีค่าเฉลี่ย 14.4 คะแนน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นร้อยละ 83 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนเรื่องการอ่านจับใจความสำคัญโดยการใช้นวัตกรรมมีภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( M = 4.66 และ S.D.= 0.13)</p> นัจวา ปุเต๊ะ, นพรัฐ เสน่ห์, นิสานาถ สงรักษ์ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/261420 Thu, 21 Mar 2024 00:00:00 +0700