วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu
<p><strong>วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี</strong> </p> <p>จัดทำโดยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นวารสารราย 4 เดือน เผยแพร่แบบออนไลน์ ปีละ 3 ฉบับ (ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม และฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม) เป็นวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย<strong> (TCI) กลุ่มที่ 1 </strong><em>ซึ่งการรับรองคุณภาพวารสารครั้งนี้มีผลตั้งแต่วันที่ </em><em>1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567</em> มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสนับสนุนคณาจารย์ นักศึกษา ข้าราชการ นักวิชาการ และนักวิจัยทั่วไป ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน ในการนำเสนอผลงานวิชาการทางสาขาศึกษาศาสตร์</p> <p>ผลงานทางวิชาการที่รับพิจารณาตีพิมพ์ ได้แก่ <strong>บทความวิชาการ และบทความวิจัย</strong> ซึ่งต้องเป็นต้นฉบับที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น <strong>อย่างน้อย 2 หรือ 3 ท่าน (ตามความประสงค์ของผู้นิพนธ์)</strong> <strong>โดยการประเมินเป็นแบบปกปิดรายชื่อทั้งผู้ประเมินและผู้นิพนธ์</strong> (Double - blind peer review) </p> <p>อัตราค่าธรรมเนียมการพิจารณาตีพิมพ์บทความลงวารสาร โดยจะ<strong>เรียกเก็บหลังจากบทความผ่านการพิจารณาเบื้องต้น</strong>จากกองบรรณาธิการแล้ว ดังนี้ 1) บทความภาษาไทย ค่าธรรมเนียมฯ บทความละ 3,500 บาท 2) บทความภาษาอังกฤษ ค่าธรรมเนียมฯ บทความละ 4,000 บาท </p> <p><strong>ISSN Online: 3027-7825</strong></p>
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
th-TH
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
3027-7825
-
ตงห่อ: อนาคตภาพของความเป็นพลเมืองก้าวหน้าภูเก็ต เพื่อรองรับความท้าทายเมืองปัญญาประดิษฐ์
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/260456
<p>การศึกษาพลเมืองก้าวหน้า (Pro-Active Citizen) เป็นการสร้างพลเมืองในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในยุคสังคมดิจิทัล ความเป็นมนุษย์มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ซึ่งจะต้องใช้เทคโนโลยีเป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโตและวิวัฒนาการของสังคมสู่เมืองของการเปลี่ยนแปลง หรืออาจเรียกว่าเมืองปัญญาประดิษฐ์ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดอนาคตภาพเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน สำหรับการคาดการณ์เกี่ยวกับอนาคต หรือเชื่อมโยงกับความเป็นจริงตามที่่คาดหวังไว้ในอนาคต นำสู่การขับเคลื่อนความเป็นพลเมืองก้าวหน้าภูเก็ต หรือ “ตงห่อ” เพื่อรองรับการดำรงชีวิตอย่างยยืนในสังคมปัญญาประดิษฐ์ ผ่านการจัดการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง โดยการส่งเสริมให้เกิดคุณลักษณะของพลเมืองก้าวหน้าภูเก็ต ในเมืองปัญญาประดิษฐ์ที่มีทักษะดิจิทัลและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาด ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขอย่างยั่งยืน จะต้องมีคุณลักษณะ 4 ประการ คือ 1) สำนึกรู้ในอัตลักษณ์ของคนดี 2) เคารพในวิถีประชาธิปไตย 3) ตระหนักถึงความรู้ และทักษะ<br />ดิจิทัล 4) ประยุกต์ใช้ทักษะ Soft Skills อย่างมีระบบ โดยที่นำเสนอเกี่ยวกับอนาคตภาพของความเป็นพลเมืองก้าวหน้า “ตงห่อ” เพื่อรองรับความท้าทายเมืองปัญญาประดิษฐ์ เป็นแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อวางแผนรับมือต่อความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยอาศัยปัจจัยแวดล้อมจากปัจจุบัน และเรื่องราวที่ผ่านมาในอดีต ในการทำนายสู่ข้อเสนออนาคตภาพของความเป็นพลเมืองก้าวหน้า “ตงห่อ” เพื่อรองรับการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนในสังคมปัญญาประดิษฐ์ในอนาตคต่อไป</p>
วัลลภา อินทรงค์
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-28
2024-08-28
35 2
1
13
-
การจัดการเรียนการสอนแบบไฮบริด (Hybrid Learning) ในช่วงหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19: กรณีศึกษาจากภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/260669
<p>แม้ว่าจะอยู่ในช่วงหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 แต่ประชาชนคนไทยยังคงต้องใช้รูปแบบการดำเนินวิถีชีวิตใหม่ ซึ่งก็คือการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลยมหิดล แต่เดิมนัันได้ดำเนินการจัดการเรียนในชั้นเรียนทั้งแบบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ต้องเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบออนไลน์ (Online Learning) ทุกรายวิชาในหลักสูตร</p> <p>สำหรับการเรียนออนไลน์ของภาควิชาปรสิตวิทยาฯ นั้น ทำให้พบปัญหาว่านักศึกษาไม่มีโอกาสที่จะได้เรียนในส่วนของภาคปฏิบัติ เป็นเหตุให้นักศึกษาไม่เกิดทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ซึ่งส่งผลต่อการขาดความเข้าใจในบทเรียน รวมไปถึงไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนและผู้สอน ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบไฮบริด ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ผสมผสานการเรียนออนไลน์ ร่วมกับการเรียนในห้องเรียน (Face to Face) ที่เน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ในการเรียน (Interactive Learning) ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนหรือผู้เรียนกับผู้สอน โดยมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาทักษะที่จำเป็นที่ได้กล่าวมานั้น ผู้วิจัยจึงได้นำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้การจัดการเรียนการสอนแบบไฮบริด รวมถึงแนวทางแก้ปัญหา ข้อเสนอแนะของการจัดการเรียนการสอนแบบไฮบริด เพื่อเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ซึ่งเป็นประโยชน์อันดีในการนำมาปรับใช้กับภาควิชาปรสิตวิทยาฯ และยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในอนาคตเมื่อเกิดเหตุการณ์โรคระบาดขึ้นอีกได้</p>
กมลวรรณ เกิดปัญญา
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-28
2024-08-28
35 2
14
26
-
การพัฒนาการรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมของนิสิตครูวิทยาศาสตร์ ด้วยต้นแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้านสิ่งแวดล้อม
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/263146
<div>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมของนิสิตครูวิทยาศาสตร์ ด้วยต้นแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับออกแบบให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นในกิจกรรมการเรียนรู้ใน 4 มิติ คือ ทางกาย ทางสติปัญญา ทางอารมณ์ และทางสังคม การศึกษานี้ดำเนินการภายใต้แบบแผนการวิจัยและพัฒนา กลุ่มที่ศึกษาคือนิสิตครูวิทยาศาสตร์จำนวน 6 คนที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา ของมหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ต้นแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้านสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่ แนวทางการจัดการเรียนรู้สะเต็มบีซีจี การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานด้วยสื่อบอร์ดเกม การจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์เป็นฐาน และการจัดการเรียนรู้แบบอิงสถานที่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบวัดการรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาคะแนนเฉลี่ยการรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมของนิสิตทุกคน และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียน จากนั้นนำคะแนนของนิสิตมาแปลงค่าเป็นระดับการรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม ผลจากวิจัย พบว่านิสิตครูทุกคนมีระดับการรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับสูง และระดับปานกลางหลังเรียนด้วยต้นแบบการจัดการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และนิสิตมีคะแนนเฉลี่ยการรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมหลังได้รับ</div> <div>ประสบการณ์การเรียนรู้จากต้นแบบทั้งสี่สูงกว่าก่อนเรียน ทั้งนี้ แม้ว่าระดับการรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมของนิสิตมีแนวโน้มพัฒนาดีขึ้น แต่ด้านที่พัฒนาได้อย่างจำกัด คือ พฤติกรรมสิ่งแวดล้อม และความรู้พื้นฐานเรื่องสิ่งแวดล้อม </div>
จีระวรรณ เกษสิงห์
พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ
ชาตรี ฝ่ายคำตา
บุญเสฐียร บุญสูง
ต้องตา สมใจเพ็ง
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-28
2024-08-28
35 2
27
41
-
ผลการพัฒนาทักษะการอ่านโน้ตดนตรีและทักษะปฏิบัติเครื่องดนตรี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการสอนดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซร่วมกับโคดาย
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/261472
<div>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านโน้ตดนตรีและทักษะปฏิบัติเครื่องดนตรีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากจัดการสอนดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซร่วมกับโคดายระหว่างก่อนและหลังเรียนและหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านขามทะเลสอ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ี่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซร่วมกับโคดายจำนวน 4 แผน 12 ชั่วโมง และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดทักษะการอ่านโน้ตดนตรีและแบบวัดทักษะปฏิบัติเครื่องดนตรี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที</div> <div> </div> <div>ผลการศึกษาพบว่า ทักษะการอ่านโน้ตดนตรีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการสอนดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซร่วมกับโคดายหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ี่ระดับ .05 และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 แต่ทักษะปฏิบัติเครื่องดนตรีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการสอนดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซร่วมกับ</div> <div>โคดาย แม้หลังเรียนจะสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อนำไปเทียบกับเกณฑ์พบว่าหลังเรียนไม่สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 เนื่องจากพบว่าผู้เรียนบางคนยังไม่สามารถบังคับนิ้วนางและนิ้วก้อยแยกกันได้ไม่มากพอ ส่งผลต่อการปฏิบัติเครื่องดนตรีให้ถูกต้องตรงตามจังหวะ</div>
ญาดา พุฒาพิทักษ์
สิรินาถ จงกลกลาง
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-28
2024-08-28
35 2
42
55
-
ภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/261730
<div>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ี่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครู สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 357 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของโคเฮน และใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตน์ของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 50 ข้อ แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.990 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก และ 2) ข้าราชการครูที่มีระดับการศึกษา และวิทยฐานะต่างกัน มีทัศนะต่อภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตน์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษมัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 ส่วนข้าราชการครูที่สังกัดสถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตต่างกัน มีทัศนะต่อภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน</div>
วรางคณา ชาวน่าน
ศิริพงษ์ เศาภายน
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-28
2024-08-28
35 2
56
68
-
การพัฒนาต้นแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความรู้ทางสถิติสำหรับการสอนของนิสิตครูคณิตศาสตร์
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/262683
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของต้นแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความร้ทางสถิติ สำหรับการสอน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา กลุ่มที่ใช้ในการศึกษา คือ นิสิตครู สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 6 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยต้นแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบวดความรู้ทางสถิติสำหรับการสอน และแบบบันทึกสะท้อนการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ต้นแบบกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 7 กิจกรรม มีหลักการสร้าง ดังนี้ 1) ใช้กิจกรรมที่สอนสถิติที่ส่งเสริมความเข้าใจ เน้นการแปลความหมายข้อมูล และการนำไปใช้ 2) ใช้สถานการณ์จริงที่น่าสนใจและเหมาะสมกับช่วงวัย 3) ใช้กิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และเรียนรู้จากการปฏิบัติ 4) ใช้สื่อหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการสอนสถิติ 5) ใช้กิจกรรมที่ส่งเสริมการอภิปรายและแลกเปลี่ยนแนวคิดทางสถิติ และ 6) ใช้การประเมินที่หลากหลายเพื่อติดตาม ปรับปรุง และประเมินการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ผลการใช้พบว่าความรู้ทางสถิติสำหรับการสอนของนิสิตครูเพิ่มขึ้นและได้คะแนนเกินร้อยละ 80 ซึ่งนิสิตครูสะท้อนว่า ลักษณะกิจกรรมช่วยให้เห็นเป้าหมายของการสอนสถิติและสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนบรรลุเป้าหมายของการสอน มีการใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อการเรียนรู้ทำให้เห็นแนวทางในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้เทคโนโลยี สอนสถิติ และมีการทำงานเป็นกลุ่มและแสดงความคิดเห็นร่วมกัน ทำให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาสถิติเพิ่มขึ้น และ ทำให้เห็นความสำคัญของการสอนสถิติที่เน้นการแปลความหมายข้อมูลและการนำสถิติไปใช้</p>
พิลาลักษณ์ ทองทิพย์
ต้องตา สมใจเพ็ง
ชานนท์ จันทรา
ชนิศวรา เลิศอมรพงษ์
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-28
2024-08-28
35 2
69
86
-
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา ตามความคิดเห็นของครู รัฐชายแดนไทยมาเลเซีย จังหวัดนราธิวาส
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/262170
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาประถมศึกษาตามความคิดเห็นของครูของรัฐชายแดนไทยมาเลเซียจังหวัดนราธิวาส จำแนกตามตัวแปรที่ศึกษา ประกอบด้วย เพศ ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษา และเพื่ื่อประมวลข้อเสนอแนะในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาประถมศึกษาตามความคิดเห็นของครูของรัฐชายแดนไทยมาเลเซีย จังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษาประถมศึกษาของรัฐชายแดนไทยมาเลเซีย จังหวัดนราธิวาส จำนวน 331 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและปลายเปิด ค่าความเชื่อมั่ั่น<br />อยู่ที่ระดับ 0.97 ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาประถมศึกษา ตามความคิดเห็นของครูของรัฐชายแดนไทยมาเลเซียจังหวัดนราธิวาสโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาประถมศึกษา ตามความคิดเห็นของครูของรัฐชายแดนไทยมาเลเซีย จังหวัดนราธิวาส จำแนกตามเพศ พบว่า ภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน ภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการกระตุ้นทางปัญญาที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามขนาดสถานศึกษาพบว่า ภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) ผลการประมวลข้อเสนอแนะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาประถมศึกษาตามความคิดเห็นของครูของรัฐชายแดนไทยมาเลเซีย จังหวัดนราธิวาส โดยแยกตามด้านออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ผู้บริหารควรมีความแน่วแน่ในอุดมการณ์ มีความเชื่อและค่านิยมที่เหมาะสม เสริมสร้างความภาคภูมิใจ และความมั่นใจของบุคลากรในองค์กรได้ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ผู้บริหารต้องมองการณ์ไกล และเป็นคนที่ทันสมัย มีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน ส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรสัมผัสกับภาพที่งดงามของอนาคตสร้างและสื่อความหวังที่ผู้นำต้องการอย่างชัดเจน เพื่อให้การปฏิบัติดำเนินไปอย่างมีคุณภาพด้านการกระตุ้นทางปัญญา ผู้บริหารส่งเสริมผู้ร่วมงานมีการพัฒนาตนเองในรูปแบบต่าง ๆ อย่างเต็มศักยภาพ เช่น การศึกษาต่อ การเข้ารับการอบรม และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ผู้บริหารรับฟังเรื่องราวความคิดเห็นของผู้ร่วมงานด้วยความตั้งใจ</p>
ซารีนา เต๊ะ
จรุณี เก้าเอี้ยน
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-28
2024-08-28
35 2
87
98
-
ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูปฐมวัย ของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกำแพงเพชร
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/262258
<div>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูปฐมวัยของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกำแพงเพชร โดยวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูปฐมวัย กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูปฐมวัย โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกำแพงเพชร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 64 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นของสมรรถนะครูปฐมวัยของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกำแพงเพชร มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.976 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางพัฒนาสมรรถนะปฐมวัย กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน ได้มาโดยวิธีการเลือก</div> <div>แบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูปฐมวัยของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกำแพงเพชร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นของสมรรถนะครูปฐมวัยของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น</div> <div>จังหวัดกำแพงเพชร สมรรถนะด้านความรู้มีดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด รองลงมาคือ สมรรถนะด้านทักษะ และสมรรถนะด้านคุณลักษณะ 2) ผลการศึกษาแนวทางพัฒนาสมรรถนะปฐมวัยของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรจัดทำคู่มือ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับครูทุกคนได้พัฒนาตนเองและมีความรู้ความเข้าใจเด็กปฐมวัยมากยิ่งขึ้น ผู้บริหารสถานศึกษาควรกำหนดนโยบายให้ครูทุกคนวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลเพื่อแก้ไขและส่งเสริมพัฒนาเด็กปฐมวัย มีการกระตุ้นให้ครูพัฒนางาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ส่งเสริมการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ มีการนิเทศติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ อีกทั้งครูควรมีการศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ ด้วยตนเอง นำความรู้เรื่องเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ได้จากการอบรม สื่อออนไลน์ทุกช่องทาง มาพัฒนาและสร้างสรรค์ผลงานด้านนวัตกรรม</div>
สุพรรณี คะหาวงศ์
สถิรพร เชาวน์ชัย
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-28
2024-08-28
35 2
99
114
-
ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/262233
<div>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลของสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา 3) เพื่อประมวลข้อเสนอแนะของแรงจูงใจในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 จำนวน 230 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามแรงจูงใจในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 แบบสอบถามประสิทธิผลของสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</div> <div>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับแรงจูงใจในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการยอมรับนับถือ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา พบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันเท่ากับ .69 มีความสัมพันธ์ที่ระดับปานกลาง 3) ข้อเสนอแนะของแรงจูงใจในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร</div> <div>สถานศึกษาควรช่วยเหลือครูให้สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และขอคำปรึกษาในการปฏิบัติงานจากครูที่มีประสบการณ์มากกว่า เพื่อให้การปฏิบัติงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย</div>
ซอบารียะห์ เจ๊ะแว
นิตยา เรืองแป้น
จรุณี เก้าเอี้ยน
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-28
2024-08-28
35 2
99
114
-
การพัฒนาการคิดเชิงสถิติโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการอิสลาม วิชาคณิตศาสตร์ (สาระสถิติ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/262467
<p>การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการอิสลามด้วยเนื้อหาคำสอนหรือบริบทอิสลามคือหนึ่งในกลยุทธ์ที่สามารถพัฒนาหรือปรับปรุงผลการเรียนรู้ของนักเรียน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการคิดเชิงสถิติโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการอิสลามวิชาคณิตศาสตร์ (สาระสถิติ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา<br />อิสลาม กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสังคมอิสลามวิทยาจังหวัดสงขลาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 167 คน ประกอบด้วยนักเรียนชั้น<span style="font-size: 0.875rem;">มัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 55 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 </span>จำนวน 56 คน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 56 คนโดยใช้การสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการอิสลามวิชาคณิตศาสตร์ (สาระสถิติ) ครอบคลุมการคิดเชิงสถิติ 4 องค์ประกอบ<br />ได้แก่ การบรรยายลักษณะข้อมูล การจัดการลดรูปข้อมูล การนำเสนอข้อมูล และการวิเคราะห์แปลผลข้อมูล จำนวน 3 ฉบับ แบ่งตามระดับชั้น ดังนี้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 แผนการจัดการเรียนรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 3 แผนการจัดการเรียนรู้ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 แผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมีคุณภาพของแผนการจัดการ<br />เรียนรู้ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.6–5.0 2) แบบทดสอบวัดการคิดเชิงสถิติชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ครอบคลุมการคิดเชิงสถิติ 4 องค์ประกอบ ๆ ละ 2 ข้อ โดยใช้รูปแบบอัตนัยจำนวน 3 ฉบับแบ่งตามระดับชั้น โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .85, .72 และ .84 ตามลำดับ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจหลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการอิสลามแบ่งเป็น 4 ด้านได้แก่ ด้านการคิดเชิงสถิติ ด้านการบูรณาการอิสลาม ด้านเนื้อหารายวิชาและด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านความพึงพอใจในภาพรวม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินความพึงพอใจเท่ากับ .87 การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติพรรณนาและการทดสอบค่าเฉลี่ย 1 กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการอิสลามวิชาคณิตศาสตร์ (สาระสถิติ) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีการคิดเชิงสถิติทั้ั้ง 4 องค์ประกอบสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นการคิดเชิงสถิติในองค์ประกอบการวิเคราะห์แปลผลข้อมูลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เท่านั้น และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการอิสลามวิชาคณิตศาสตร์ (สาระสถิติ) ที่ระดับความพึงพอใจมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ควรเสริมกิจกรรมการเรียนรู้แบบ<br />บูรณาการอิสลามโดยเน้นองค์ประกอบการวิเคราะห์แปลผลข้อมูลและการบรรยายลักษณะข้อมูล เนื่องจากนักเรียนมีค่าเฉลี่ยของการคิดเชิงสถิติในสององค์ประกอบดังกล่าวต่ำกว่าอีกสององค์ประกอบ</p>
ตุลา บินล่าเต๊ะ
อาฟีฟี ลาเต๊ะ
นุชนาถ คงช่วย
มูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีฮีย์
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-28
2024-08-28
35 2
129
149
-
แนวทางการส่งเสริมระบบธนาคารหน่วยกิต ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานกับภาคการทำงาน
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/262694
<div>การวิจัยเรื่่อง "แนวทางการส่งเสริมระบบธนาคารหน่วยกิตในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานกับภาคการทำงาน" มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระบบธนาคารหน่วยกิตในจังหวัดที่เป็นกรณีศึกษา 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมระบบธนาคารหน่วยกิตกับภาคการทำงานในจังหวัดกรณีศึกษา และ 3) นำเสนอแนวทางการส่งเสริมระบบธนาคารหน่วยกิตกับภาคการทำงาน ขอบเขตการศึกษา คือ ศึกษาระบบธนาคารหน่วยกิตในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์ การวิจัยเอกสาร และการประชุมระดมความคิด ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบธนาคารหน่วยกิตจังหวัดที่เป็นกรณีศึกษา คือ สุโขทัย อุทัยธานี และศรีสะเกษ ใช้ระบบทวิศึกษา ส่วนสตูลมีการนำประสบการณ์ทำงานมาเทียบโอนหน่วยกิต 2) ปัจจัยที่ส่งเสริมระบบธนาคารหน่วยกิตกับภาคการทำงาน แบ่งเป็นปัจจัยในพื้นที่ ได้แก่ มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ มีการบูรณาการทำงานของภาคส่วนต่าง ๆ มีกลไกการทำงานที่เป็นระบบ ปัจจัยนอกพื้นที่ ได้แก่ มีหน่วยงานกลางระดับกระทรวงวางระบบและขับเคลื่อนการทำงานในระดับประเทศ จัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอ มีระบบการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ และ 3) แนวทางส่งเสริมระบบ</div> <div>ธนาคารหน่วยกิต คือ มีนโยบายและแผนการทำงาน มีการสื่อสารการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และมีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะ คือ 1) นำผลการวิจัยไปใช้เป็นโครงการนำร่องกับจังหวัดที่มีความพร้อม โดยมีการติดตามผล และปรับปรุงการดำเนินงานเป็นระยะ 2) มีหน่วยงานระดับกระทรวงเป็นแหล่งข้อมูล ประสานงานสนับสนุนทรัพยากรให้กับจังหวัดนำร่อง และนำไปสู่การขยายผลในระยะต่อไป</div>
เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก
ดวงกมล บางชวด
ภัทร ยืนยง
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-28
2024-08-28
35 2
150
161
-
An Investigation of Online Peer Feedback in Improving Students’ English Writing Skills during Covid-19 Pandemic in Southern Border Provinces, Yala Rajabhat University, Thailand
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/263676
<p>The purpose of the study was to look into how online peer feedback affected students' English writing skills in L2 writing classes. A writing pretest, posttest, and self-written reflection were used in the experiment as part of a mixed-methods study using an integrated experimental design. A dependent simple t-test was used to assess the data quantitatively, while content was thematically analyzed for the qualitative data. The subjects were 46 undergraduate students majoring in English in the three southernmost border provinces of Thailand. The results showed that the students had improved significantly in their writing skills based on the mean scores of the pretest and post-test. Students also noted that receiving online peer feedback helped them understand the writing process, develop affective strategies, support their critical thinking abilities,<br />and grow socially and intellectually through teamwork. Online peer feedback was seen as a valuable experience for social interaction by students. Additionally, it gave them practice in becoming more independent learners. Online peer feedback should therefore be used in L2 writing classes.</p>
สิริกานต์ คุ่ยยกสุย
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-28
2024-08-28
35 2
162
185
-
ผลการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักศึกษาครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/262423
<div>การนำการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning กับการวิจัยปฏิบัติการครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาสำหรับครู ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ และศึกษา</div> <div>ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ของนักศึกษาปริญญาตรีสาขาชีววิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ และแบบสอบถามวัดระดับความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลจากค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (Repeated ANOVA) ผลการวิจัยปรากฏว่า การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ส่งผลให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาสำหรับครูหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 22.67 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.79 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 29.74 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5.25 ส่วนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการมีค่าเฉลี่ยของการทดสอบ</div> <div>แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 รวมทั้งมีผลความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning อยู่ในระดับมากที่สุด นอกจากนี้ความมั่นใจในการออกฝึกปฏิบัติการสอนของนักศึกษายังเพิ่มขึ้นจากระดับมากเป็นระดับมากที่สุด โดยพบว่ากิจกรรม Active Learning ในชั้นเรียนวิชาชีววิทยาสำหรับครูมีส่วนในการพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อเพิ่มความเข้าใจเนื้อหา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และแนวทางการจัดกิจกรรมในชั้นเรียนสำหรับการฝึกปฏิบัติการสอนในปีการศึกษาถัดไป</div>
นูรอาซีกีน ยีสมัน
จันทร์ดา พิทักษ์สาลี
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-28
2024-08-28
35 2
186
204
-
ความสัมพันธ์ระหว่างพลวัตการเรียนรู้กับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่มีอัตราการแข่งขันสูงในภาคใต้ตอนล่าง
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/263122
<div>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของพลวัตการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ี่มีอัตราการแข่งขันสูงในภาคใต้ตอนล่าง 2) ศึกษาระดับของพลวัตการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีอัตราการแข่งขันสูงในภาคใต้ตอนล่าง 3) ศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีอัตราการแข่งขันสูงในภาคใต้ตอนล่าง 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพลวัตการเรียนรู้กับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีอัตราการแข่งขันสูงในภาคใต้ตอนล่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียนและครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีอัตราการแข่งขันสูงในภาคใต้ตอนล่าง โดยพิจารณาจากสัดส่วนจำนวนต่อตัวแปรต่อขนาดกลุ่มตัวอย่างตามแนวคิดของ Hair et al. (1998) ในอัตราส่วนของตัวแปรต่อกลุ่มตัวอย่าง 1: 20 โดยมีตัวแปรสังเกตได้ทั้งสิ้น 45 ตัวแปร จึงได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 900 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบ Likert (Likert, 1967) โดยแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับพลวัตการเรียนรู้โรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีอัตราการแข่งขันสูงในภาคใต้ตอนล่าง จำนวน 45 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .967 และตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีอัตราการแข่งขันสูงในภาคใต้ตอนล่าง มี 4 ด้าน จำนวน 30 ข้อมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .943 ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .947 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Exploratory Factor Analysis ในรูปแบบการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</div> <div>ผลการวิเคราะห์สรุปได้ดังนี้ 1) องค์ประกอบพลวัตการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีอัตราการแข่งขันสูงในภาคใต้ตอนล่าง มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ สะท้อนคิดจากการลงมือปฏิบัติ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดี การเพิ่มอำนาจให้กับบุคลากร ความตระหนักรู้ต่อการพัฒนาองค์กรที่เป็นเลิศ และความสามารถในความคิดแบบองค์รวมเพื่อยอมรับการมีพลวัต 2) โรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีอัตราการแข่งขันสูงในภาคใต้ตอนล่างมีพลวัตการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) โรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีอัตราการแข่งขันสูงในภาคใต้ตอนล่าง มีประสิทธิผลในการบริหารโรงเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) องค์ประกอบของพลวัตการเรียนรู้กับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีอัตราการแข่งขันสูงในภาคใต้ตอนล่าง โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง (r=.758) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</div>
มนัสชัย ดวงปัญญารัตน์
ชวลิต เกิดทิพย์
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-28
2024-08-28
35 2
205
227
-
ผลการใช้หนังสืออ่านนอกเวลาโดยใช้การเรียนรู้ที่เน้นงานปฏิบัติ (Task-Based Instruction) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา)
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/263365
<div>การวิจัยเรื่องผลการใช้หนังสืออ่านนอกเวลาโดยใช้การเรียนรู้ที่เน้นงานปฏิบัติ (Task-Based Instruction) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา) โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจจากการใช้หนังสืออ่านนอกเวลาก่อนและหลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้ที่เน้นงานปฏิบัติ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการใช้หนังสืออ่านนอกเวลาโดยใช้การเรียนรู้ที่เน้นงานปฏิบัติที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา) ที่เรียนวิชา อ 23105 ภาษาอังกฤษ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม (Sampling Unit) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การใช้หนังสืออ่านนอกเวลาโดยใช้การเรียนรู้ที่เน้นงานปฏิบัติ จำนวน 5 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนและหลังเรียน 3) แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ที่ใช้หนังสืออ่านนอกเวลาโดยใช้การเรียนรู้ที่เน้นงานปฏิบัติ 4) แบบสัมภาษณ์การจัดการเรียนรู้ที่ใช้หนังสืออ่านนอกเวลาโดยใช้การเรียนรู้ที่เน้นงานปฏิบัติ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ที่ใช้หนังสืออ่านนอกเวลาโดยใช้การเรียนรู้ที่เน้นงานปฏิบัติ ระยะเวลาการทดลองจำนวน 17 ชั่วโมง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โดยมีผลการวิจัยดังนี้</div> <div>1) ผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจจากการใช้หนังสืออ่านนอกเวลาโดยใช้การเรียนรู้ที่เน้นงานปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้หนังสืออ่านนอกเวลาโดยใช้การเรียนรู้ที่เน้นงานปฏิบัติที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (คะแนนเฉลี่ย 4.43 จาก 5 คะแนน)</div>
อับดุลรอพา สาแล
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-28
2024-08-28
35 2
228
241
-
การพัฒนาทักษะการแต่งบทร้อยกรอง ประเภทกลอนสุภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีสหบท
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/261548
<div>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแต่งบทร้อยกรองของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีสหบท กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/8 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีสหบท 9 แผน (9 คาบ) แบบวัดทักษะการแต่งบทร้อยกรอง (กลอนสุภาพ) แบบทดสอบอัตนัย ก่อนและหลังเรียน จำนวน 1 ข้อ แบบบันทึกคะแนนทักษะการแต่งบทร้อยกรอง (กลอนสุภาพ) ของนักเรียน และเกณฑ์การประเมินทักษะการแต่งบทร้อยกรอง (กลอนสุภาพ) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และสถิติทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน (Paired-samples</div> <div>t test) ในการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีสหบท</div> <div>ผลการวิจัยพบว่า คะแนนทดสอบก่อนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีสหบทมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.88 คะแนน จาก 16 คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.71 คะแนนทดสอบหลังการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีสหบทมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.23 คะแนน จาก 16 คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.68 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีสหบทสรุปได้ว่า ผลการทดสอบวัดทักษะการแต่งบทร้อยกรองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา หลังการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีสหบท สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 โดยนักเรียนมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 41.23 อยู่ในระดับกลาง</div>
ลลิตา เพชรแท้
กรกนก ด้วงสีเกาะ
นพรัฐ เสน่ห์
นิลุบล เกตุแก้ว
รัชนี พิชญานุรักษ์
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-28
2024-08-28
35 2
242
253