ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
-
บทความที่ส่งเข้ามาเพื่อรับการพิจารณาตีพิมพ์ ต้องเป็นต้นฉบับที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
-
ผู้นิพนธ์รับรองว่าบทความนี้ไม่มีการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น (Plagiarism) ในกรณีที่มีการอ้างอิงผลงานจากผู้อื่น ผู้นิพนธ์ได้ระบุรายการอ้างอิงครบถ้วนและถูกต้องตามจรรยาบรรณของการอ้างอิงผลงานวิจัยทุกประการ
-
ให้ผู้นิพนธ์เตรียมต้นฉบับบทความ โดยรูปแบบของบทความต้องเป็นไปตามแนวทางการเตรียมบทความต้นฉบับที่วารสารกำหนดไว้เท่านั้น (กรณีบทความไม่ตรงตามรูปแบบวารสาร กองบรรณาธิการอาจไม่รับพิจารณาตีพิมพ์)
-
ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อในบทความทั้งหมดเห็นชอบให้ตีพิมพ์บทความนี้ลงในวารสารศึกษาศาสตร์ ทั้งนี้ ให้ระบุชื่อผู้แต่งพร้อมทั้งอีเมลทุกคนในขั้นตอนของ Metadata ของการส่งบทความในระบบด้วย
-
ผู้นิพนธ์ต้องยอมรับเงื่อนไขของการพิจารณาบทความ และยินดีให้บทความได้รับการประเมินคุณภาพทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) พร้อมทั้งยินยอมปรับปรุง/แก้ไขบทความตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิและตามที่กองบรรณาธิการเห็นสมควร
-
ให้ผู้นิพนธ์ระบุที่อยู่ในการติดต่อและเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ ในช่องข้อความถึงบรรณาธิการ ก่อนทำการส่งบทความ
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดทำโดยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นวารสารราย 4 เดือน (3 ฉบับต่อปี) จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนคณาจารย์ นักศึกษา ข้าราชการ และนักวิจัย/นักวิชาการทั่วไป ในการนำเสนอผลงานวิชาการทางสาขาศึกษาศาสตร์ ดังนี้ 1. การศึกษาปฐมวัย 2. การศึกษาขั้นพื้นฐาน 3. การศึกษาอาชีวศึกษา 4. การศึกษาอุดมศึกษา 5. การศึกษาพิเศษ 6. การบริหารการศึกษา 7. หลักสูตรและการสอน 8. การวัด ประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา 9. สถิติ และวิจัยทางการศึกษา 10. การวิจัยในชั้นเรียน 11. เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา 12. จิตวิทยาการศึกษา 13. พัฒนศึกษาศาสตร์ 14. สุขศึกษา และพลศึกษา 15. อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษา
เกณฑ์การรับพิจารณาบทความ
1. ผลงานทางวิชาการที่ส่งมาพิจารณาตีพิมพ์ต้องอยู่ในรูปแบบของบทความวิชาการ (Academic article) หรือ บทความวิจัย (Research article) และเป็นต้นฉบับที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน รวมทั้งไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น
2. บทความทุกเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการประเมินความถูกต้องทางวิชาการ (Peer reviewed) จากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2-3 ท่าน โดยเป็นการประเมินแบบ Double – blinded และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
3. วารสารศึกษาศาสตร์ ฯ รับพิจารณาเฉพาะบทความที่ปฏิบัติตามแนวทางหรือเงื่อนไขที่วารสารกำหนดเท่านั้น *(โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ แนวทางการเตรียมบทความต้นฉบับและการส่งบทความ)
การเตรียมต้นฉบับ
ผลงานทางวิชาการที่วารสารรับพิจารณาตีพิมพ์ต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเท่านั้น ซึ่งมีข้อกำหนดในการเตรียมต้นฉบับ ดังนี้
1. กำหนดให้ผู้แต่งจัดทำต้นฉบับบทความด้วยโปรแกรม Microsoft Word ขนาดกระดาษ A4 ใช้อักษร TH SarabunPSK จัดรูปแบบเนื้อหาหนึ่งคอลัมน์ ความยาวไม่เกิน 15 หน้า พร้อมส่งไฟล์ต้นฉบับในรูปแบบไฟล์ .doc และ .pdf
2. ต้นฉบับบทความ ทั้งบทความวิชาการและบทความวิจัยต้องมีส่วนประกอบทั่วไป ดังนี้
2.1. ชื่อเรื่อง : มีความชัดเจน และครอบคลุมเนื้อหาสำคัญ มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2.2 ชื่อผู้เขียน : ให้ระบุชื่อ นามสกุล วุฒิการศึกษาขั้นสูงสุด ตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) หน่วยงานต้นสังกัด และอีเมลของผู้แต่งครบทุกคน มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ *(ผู้แต่งหลักให้ใส่เป็นชื่อแรก)
2.3 มีบทคัดย่อ (abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 300 คำ โดยสรุปเป็นความเรียงไม่เกิน 2 ย่อหน้า และท้ายบทคัดย่อให้กำหนดคำสำคัญ (keywords) จำนวน 3-5 คำ
3. บทความวิจัย ให้จัดโครงสร้างเนื้อหาตามลำดับ ได้แก่ บทนำ วัตถุประสงค์ สมมติฐาน (ถ้ามี) กรอบแนวคิดการวิจัย/วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย อภิปรายผล ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง
4. บทความวิชาการ ให้จัดโครงสร้างเนื้อหาตามลำดับ ได้แก่ บทนำ เนื้อเรื่อง บทสรุป ข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง
*(โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ตัวอย่างรูปแบบการเตรียมบทความต้นฉบับ (Template)
การส่งบทความ
1. ผู้นิพนธ์สามารถส่งผลงานทางวิชาการเพื่อเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์ได้ตลอดทั้งปี หรือตามช่วงเวลาที่วารสารกำหนด (ติดตามระยะเวลาการส่งบทความได้ที่เมนูข่าวประกาศ) ทางระบบวารสารออนไลน์เท่านั้น
2. หลังจากผู้นิพนธ์ส่งบทความเข้ามาในระบบแล้ว ให้รอการแจ้งผลการพิจารณาเบื้องต้นจากบรรณาธิการก่อนที่จะชำระเงินค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์
3. กองบรรณาธิการจะการแจ้งผลต่าง ๆ หรือติดต่อกับผู้นิพนธ์ทางกระทู้ของเลขบทความ (ID) ที่ผู้นิพนธ์ส่งเข้ามาในระบบครั้งแรก และให้ผู้นิพนธ์ตอบกลับและส่งไฟล์การแก้ไขต่าง ๆ ของบทความ ในกระทู้ของเลขบทความเดียวกันเท่านั้น
การเขียนรายการอ้างอิง
ให้ผู้นิพนธ์ระบุรายการเอกสารอ้างอิงเฉพาะที่ใช้อ้างอิงในเนื้อหาของบทความเท่านั้น ใช้รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ APA (พิมพ์ครั้งที่ 7) และให้ผู้เขียนแปลเอกสารอ้างอิงที่เป็นภาษาไทยให้เป็นภาษาอังกฤษทุกรายการ และเติมคำว่า [in Thai] ต่อท้ายรายการอ้างอิงนั้น และจัดเรียงรายการเอกสารตามลำดับอักษรภาษาอังกฤษ *(โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 1. ตัวอย่างการเขียนรายการอ้างอิง 2. รูปแบบ APA style
อัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความลงในวารสารศึกษาศาสตร์
อัตราค่าธรรมเนียมการพิจารณาตีพิมพ์ จะเรียกเก็บหลังจากบทความผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการแล้ว ดังนี้
1. บทความภาษาไทย ค่าธรรมเนียมฯ บทความละ 3,500 บาท
2. บทความภาษาอังกฤษ ค่าธรรมเนียมฯ บทความละ 4,000 บาท
*หมายเหตุ : 1. กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้นิพนธ์ชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์หลังจากบทความของท่านผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากบรรณาธิการ ทั้งนี้ ห้ามผู้นิพนธ์ชำระเงินก่อนได้รับการยืนยันผลเบื้องต้นจากบรรณาธิการ หากชำระเงินมาก่อนแต่บทความไม่ผ่านการพิจารณาเบื้องต้น ทางวารสาร ฯ ไม่สามารถคืนเงินให้ได้
2. กรณีบรรณาธิการแจ้งให้ผู้นิพนธ์ชำระค่าตีพิมพ์แล้ว แต่บทความของท่านไม่ผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ "ไม่คืนค่าใช้จ่าย"
ลิขสิทธิ์ของบทความที่ปรากฏในวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นของผู้นิพนธ์และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ บทความทุกเรื่องผ่านการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิ ข้อความ ข้อมูลตาราง และภาพประกอบต่าง ๆ ของบทความในวารสารฯ เป็นแนวคิดของผู้นิพนธ์ มิใช่เป็นความคิดเห็นของกองบรรณาธิการและมิใช่ความรับผิดชอบของคณะศึกษาศาสตร์ ไม่สงวนลิขสิทธิ์การนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ แต่ต้องอ้างอิงแสดงแหล่งที่มาและอยู่ในขอบเขตของกฏหมายลิขสิทธิ์