https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/issue/feed
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
2025-04-29T14:21:18+07:00
รองศาสตราจารย์ ดร.อาฟีฟี ลาเต๊ะ
jeeranan.s@psu.ac.th
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี</strong> </p> <p>จัดทำโดยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นวารสารราย 4 เดือน เผยแพร่แบบออนไลน์ ปีละ 3 ฉบับ (ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม และฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม) เป็นวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย<strong> (TCI) กลุ่มที่ 1 </strong><em>ซึ่งการรับรองคุณภาพวารสารครั้งนี้</em><strong><em>มีผลตั้งแต่วันที่ </em><em>1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2572</em></strong> มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสนับสนุนคณาจารย์ นักศึกษา ข้าราชการ นักวิชาการ และนักวิจัยทั่วไป ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน ในการนำเสนอผลงานวิชาการทางสาขาศึกษาศาสตร์</p> <p>ผลงานทางวิชาการที่รับพิจารณาตีพิมพ์ ได้แก่ <strong>บทความวิชาการ และบทความวิจัย</strong> ซึ่งต้องเป็นต้นฉบับที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น ทั้งนี้บทความทุกเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการประเมินความถูกต้องทางวิชาการ (Peer reviewed) จากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง<strong>อย่างน้อย 2-3 ท่าน</strong> <strong>โดยการประเมินเป็นแบบปกปิดรายชื่อทั้งผู้ประเมินและผู้นิพนธ์</strong> <strong>(Double - blind peer review) </strong></p> <p>อัตราค่าธรรมเนียมการพิจารณาตีพิมพ์บทความลงวารสาร โดยจะ<strong>เรียกเก็บหลังจากบทความผ่านการพิจารณาเบื้องต้น</strong>จากกองบรรณาธิการแล้ว ดังนี้ 1) บทความภาษาไทย ค่าธรรมเนียมฯ บทความละ 3,500 บาท 2) บทความภาษาอังกฤษ ค่าธรรมเนียมฯ บทความละ 4,000 บาท </p> <p><strong>ISSN Online: 3027-7825</strong></p>
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/262926
ผลของการใช้หนังสือผสานเทคโนโลยีเสมือนจริงที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องธรณีภาคและการเปลี่ยนแปลง ทางธรณีภาคของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
2024-03-22T10:56:02+07:00
นูรูลฮุซนา แวสาเมาะ
nurulhusnawaesamoh@gmail.com
ณัฎฐพงศ์ กาญจนฉายา
Nurulhusnawaesamoh@gmail.com
ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ
narongsak.r@psu.ac.th
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหนังสือผสานเทคโนโลยีเสมือนจริง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องธรณีภาคและการเปลี่ยนแปลงทางธรณีภาค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสงขลา 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสงขลา ที่ได้เรียนหนังสือผสานเทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่องธรณีภาคและการเปลี่ยนแปลงทางธรณีภาค และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสงขลา ที่มีต่อหนังสือผสานเทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่องธรณีภาคและการเปลี่ยนแปลงทางธรณีภาค โดยผ่านการประเมินจาก<br />ผู้เชี่ยวชาญแล้วพัฒนาเป็นหนังสือผสานเทคโนโลยีเสมือนจริงฯ ที่มีประสิทธิภาพ และนำไปทดลองกับกลุ่มเป้าหมาย<br />ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสงขลา จำนวน 13 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง<br />เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หนังสือผสานเทคโนโลยีเสมือนจริง 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อหนังสือผสานเทคโนโลยีเสมือนจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์<br />ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test<br />ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสือผสานเทคโนโลยีเสมือนจริง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.50/82.22 ตามเกณฑ์การประเมิน 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) นักเรียนที่เรียนด้วยหนังสือผสานเทคโนโลยีเสมือนจริง มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 4.57 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.16</p>
2025-04-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/265792
ความคาดหวังของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการสอนภาษาจีน ต่อการเรียนภาษาจีน ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
2024-07-12T10:38:30+07:00
ผาสุข บุญธรรม
phasuk.boo@mfu.ac.th
สรญา ถาวร
phasuk.boo@mfu.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังของนักศึกษาต่อการเรียนภาษาจีนและค้นหาปัจจัยที่ยังไม่ปรากฎดังที่นักศึกษาคาดหวังจากการเรียนในหลักสูตรการสอนภาษาจีน ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงคือให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2565 รวมทั้งสิ้น 101 คน เป็นกลุ่ม<br />เป้าหมายของการศึกษาวิจัยนี้ การออกแบบวิจัยเป็นทั้งแบบเชิงปริมาณและคุณภาพ และยึดแนวคิดตามทฤษฎีความคาดหวัง (Vroom Expectancy Theory) เป็นกรอบวิจัย มีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามชนิดกึ่งมีโครงสร้าง ใช้สถิติร้อยละเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยได้พบทั้งปัจจัยที่นักศึกษาคาดหวัง อาทิ การได้เรียนในหลักสูตรที่น่าสนใจตรงตามความต้องการ และการได้เรียนรายวิชาที่ทำให้เห็นโอกาสของการประกอบอาชีพในอนาคต สำหรับปัจจัยที่ยังไม่ปรากฎดังที่คาดหวัง ได้แก่ โอกาสของการไปเรียนภาษาและวัฒนธรรมที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนรวมทั้งงานบริการสำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม ทุกข้อค้นพบของงานวิจัยนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิดของคนรุ่นใหม่ที่กำหนดเป้าหมายชีวิตของตนไว้กับการมีอาชีพที่มั่นคงด้วยศักยภาพทางภาษาจีนที่ได้มาจากการเรียนที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ส่วนของความหวังที่ไม่ปรากฎนั้น ผู้เกี่ยวข้องควรนำความคาดหวังที่นักศึกษารอคอยเหล่านั้นไปพิจารณาเพื่อผลักดันให้เป็นจริง ที่สำคัญคือผู้บริหารหลักสูตรควรศึกษาและทำความเข้าใจความคาดหวังของนักศึกษาอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ ควรมีการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งควรเพิ่มโอกาสให้กับนักศึกษาในการเลือกเรียนได้อย่างอิสระมากขึ้น</p>
2025-04-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/266044
แนวทางการฝึกสังเกตชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาครูคณิตศาสตร์: กรณีสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
2024-08-20T11:42:39+07:00
วีระศักดิ์ แก่นอ้วน
weerasuk.k@ubru.ac.th
<div>การวิจัยนี้ดำเนินการภายใต้บริบทการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเพื่ออธิบายแนวทางการฝึกสังเกตชั้นเรียนของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ด้วยการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดตามแนวคิดของ Inprasitha, (2011, 2015) และ 2) เพื่อวิเคราะห์การปฏิบัติตามแนวทางการฝึกสังเกตชั้นเรียน กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 9 คน ปีการศึกษา 2564 เก็บข้อมูลด้วยการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การใช้แบบสอบถามการสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์โพรโทคอล ตามกรอบแนวคิดของ Inprasitha (2015) และ Jacobs et al. (2010) ตรวจสอบสามเส้าด้านวิธีการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</div> <div>ผลการศึกษา พบว่า 1. แนวทางการฝึกสังเกตชั้นเรียนกำหนดให้ปฏิบัติเป็นรายสัปดาห์ผ่าน 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมก่อนการสังเกต มีการออกแบบสถานการณ์ปัญหาการคาดการณ์และเตรียมการเพื่อจัดการแนวคิดของนักเรียน 2) กิจกรรมระหว่างการสังเกต บทบาทผู้สอนให้นักเรียนลงมือแก้ปัญหาด้วยตัวเอง สังเกตและจัดลำดับเพื่ออภิปรายแนวคิดของนักเรียน บทบาทผู้สังเกต มีการจดบันทึกข้อมูลการเขียนข้อความ ภาพ คำพูดในระหว่างที่นักเรียนแก้ปัญหาและอภิปรายร่วมกัน และ 3) กิจกรรมหลังสังเกต นำสิ่งที่สังเกตได้มาอภิปรายถึงแนวคิดของนักเรียน เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังและผลการเชื่อมโยงแนวคิดสู่ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ 2. นักศึกษามีการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเข้าถึงแนวคิดของนักเรียน การทำความเข้าใจแนวคิดของนักเรียน และการตอบสนองต่อแนวคิดของนักเรียน โดยหลังการเข้าร่วมตามแนวทางการฝึกสังเกตชั้นเรียนมีการปฏิบัติเพิ่มมากขึ้นทุกรายการ</div>
2025-04-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/266135
การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
2024-01-05T16:55:11+07:00
วรวรรณ ธารนาถ
worawan.ta@vru.ac.th
ชาญชัย วงศ์สิรสวัสดิ์
chanchai@vru.ac.th
อรสา จรูญธรรม
orasa74@gmail.com
<p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การประเมินความต้องการจำเป็นของการนิเทศภายในของสถานศึกษา มีกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความต้องการจำเป็น มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 - 0.99 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีอันดับความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายใน โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการบริหารการศึกษา และครู จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย<br />และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การประเมินความต้องการจำเป็นของการนิเทศภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (PNI<sub>modified</sub> = 0.11) โดยด้านที่มีดัชนีอันดับความต้องการจำเป็นลำดับที่ 1 คือ ด้านการสร้างสื่อและเครื่องมือนิเทศ (PNI<sub>modified</sub> = 0.13) ลำดับที่ 2 คือ ด้านการปฏิบัติการนิเทศ (PNI<sub>modified</sub> = 0.12) ลำดับที่ 3 คือ ด้านการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ (PNI<sub>modified</sub> = 0.11) ลำดับที่ 4 คือ ด้านการประเมินผล การปรับปรุง และรายงานผล (PNI<sub>modified</sub> = 0.10) และลำดับที่ 5 คือ ด้านการวางแผนการนิเทศและกำหนดทางเลือก (PNI<sub>modified</sub> = 0.09) และ 2) ผลการพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา พบว่า แนวทางการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา แบบ 5 Supervision step by PLC + PDCA ประกอบด้วย แนวทางปฏิบัติ จำนวน 32 รายการ จำแนกเป็น การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการจำนวน 5 รายการ ขั้นการวางแผนการนิเทศและกำหนดทางเลือก จำนวน 6 รายการ ขั้นการสร้างสื่อและเครื่องมือนิเทศ จำนวน 5 รายการ ขั้นการปฏิบัติการนิเทศ จำนวน 8 รายการ และการประเมินผล การปรับปรุง และรายงานผล จำนวน 8 รายการ โดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็น ด้านความเหมาะสมในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.80, S.D. = 0.15) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีค่าเฉลี่ยระหว่าง คือ 4.85 -4.71 ด้านความเป็นไปได้ในภาพรวม มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.80, S.D. = 0.16) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.83.- 4.73 และด้านความเป็นประโยชน์ในภาพรวม มีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.83, S.D. = 0.29) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีค่าเฉลี่ยระหว่าง คือ 4.89 – 4.78</p>
2025-04-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/267393
ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับการใช้อินโฟกราฟิก ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
2024-03-06T16:00:09+07:00
รอสเมาะห์ นิสะนิ
rosmoh.n@psu.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับการใช้อินโฟกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 32 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.67–5.0 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .75 และ .7 ตามลำดับ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 และแบบบันทึกภาคสนามของผู้วิจัย สำหรับแบบแผนการวิจัยใช้แบบกลุ่มเดียววัดเฉพาะหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเฉลี่ยประชากรกลุ่มเดียว</p> <p>ผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับการใช้อินโฟกราฟิกมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.46 ซึ่งนักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุดต่อกระบวนการเรียนรู้และการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม</p>
2025-04-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/268919
แนวทางการกำกับติดตามคุณภาพการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริม คุณภาพนักศึกษาอาชีวศึกษาในยุคความปกติรูปแบบใหม่ สำหรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
2024-11-26T10:36:00+07:00
กิตติพันธ์ หันสมร
kittiphan@g.swu.ac.th
วรัทยา ธรรมกิตติภพ
kittiphan@g.swu.ac.th
<p>การศึกษาในครั้งนี้ได้ศึกษาแนวทางการกำกับติดตามคุณภาพการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมคุณภาพนักศึกษาอาชีวศึกษาในยุคความปกติรูปแบบใหม่สำหรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยใช้รูปแบบการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ตามแนวคิด PRISMA เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสำรวจข้อมูลเพื่อการสังเคราะห์เอกสาร และแบบสรุปข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และแบบประเมิน (ร่าง) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า การกำกับติดตามคุณภาพการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์เพื่อสร้างนวัตกร ให้ผู ้เรียนได้เป็น Smart learner เพื่อเป็น Smart worker ในตลาดแรงงาน ซึ่งต้องใช้หลักการของการประเมินผลโครงการ คือ ก่อนการจัดการเรียนการสอน (Pre-Monitoring) ระหว่างการจัดการเรียนการสอน (On-going Monitoring) และหลังการจัดการเรียนการสอน (Post Monitoring) ของผู้เรียน ครูผู้สอนและสถานศึกษา ภายใต้มาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561 ซึ่งผลการประเมิน (ร่าง) แนวทางการกำกับติดตามคุณภาพการจัดการเรียนการสอนฯ โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า เห็นด้วยในระดับมากที่สุด ประกอบด้วย ความเหมาะสม (3.74) ความถูกต้อง (3.71) ความเป็นประโยชน์ (3.70) และความเป็นไปได้ (3.39) ตามลำดับ</p>
2025-04-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/268342
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาพหุสังคมและภูมิวัฒนธรรม โดยการจัดการเรียนรู้แบบการบูรณาการทำงานเชิงพื้นที่ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐานของนักศึกษาสาขาวิชาพัฒนาสังคม
2024-09-10T15:58:37+07:00
จิรัชยา เจียวก๊ก
jirachaya.j@psu.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู ้แบบบูรณาการทำงานเชิงพื้นที่ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานระหว่างก่อนจัดเรียนรู ้และหลังการจัดเรียนรู้ และวิธีสอนแบบเดิมกับการจัดการเรียนรู ้แบบบูรณาการทำงานเชิงพื้นที่ในการจัดการเรียนรู ้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รวมถึงความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู ้แบบบูรณาการทำงานเชิงพื้นที่ในการจัดการเรียนรู ้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในรายวิชาพหุสังคมและภูมิวัฒนธรรมศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาพัฒนาสังคม จำนวนทั้งหมด 105 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย<br />ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู ้ตามแนวคิดการเรียนรู ้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) แบบประเมินการปฏิบัติการดำเนินการเรียนรู ้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (4) แบบสอบถามความพึงพอใจได้รับการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู ้ทรงคุณวุฒิ, มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล<br />ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาพหุสังคมและภูมิวัฒนธรรมศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาพัฒนาสังคม หลังได้รับการบูรณาการทำงานเชิงพื้นที่ในการจัดการเรียนรู ้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังได้รับการเรียนรู้ด้วยวิธีเดิม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ PBL หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (2) ความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาพัฒนาสังคมในรายวิชาพหุสังคมและภูมิวัฒนธรรมศึกษา ต่อการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู ้แบบการบูรณาการทำงานเชิงพื้นที่ในการจัดการเรียนรู ้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.20, S.D. = 0.54) ดังนั้นการจัดการเรียนรู ้แบบการบูรณาการทำงานเชิงพื้นที่ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน จึงเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนที่สำคัญอันจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ให้ผู้เรียน</p>
2025-04-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/267403
ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ TAI ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ลำดับและอนุกรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา)
2024-08-29T18:04:07+07:00
บุญสนอง วิเศษสาธร
boonsanong.k@psu.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู ้แบบร่วมมือ TAI ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา<br />2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ TAI ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยากับกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ TAI ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ TAI ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3 ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ้ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และแบบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ TAI ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาส่งผลให้ความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ<br />ทางสถิติที่ระดับ .05 2) กลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ TAI ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา มีความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ TAI ร่วมกับ<br />กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54</p>
2025-04-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/269021
ผลของการพัฒนาชุดกิจกรรมร่วมกับหะละเกาะฮฺที่มีต่อทักษะการอ่านอัลกุรอานสำหรับศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอานนูรุลฮูดา บ้านบ่อเจ็ดลูก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
2024-09-25T09:37:42+07:00
มูหำมัดสุใหมี เฮงยามา
muhammadsuhaimi.h@yru.ac.th
อับดุลรอแม สุหลง
Abdulramae.s@yru.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมร่วมกับหะละเกาะฮฺ 2) เพื่อประเมินทักษะการอ่านอัลกุรอานของผู ้เรียนศูนย์การเรียนรู ้อัลกุรอานนูรุลฮุดา และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อชุดกิจกรรมร่วมกับหะละเกาะฮฺ กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ ผู้เรียนศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอานนูรุลฮูดา บ้านบ่อเจ็ดลูก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปี- 12 ปี จำนวน 30 คนโดยการเลือกแบบเจาะจงจากผลคะแนนการทดสอบอัลกุรอานที่ต่ำ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมสำหรับหะละเกาะฮฺอัลกุรอาน แบบประเมินทักษะการอ่านอัลกุรอาน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู ้โดยใช้ชุดกิจกรรมร่วมกับหะละเกาะฮฺ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) ชุดกิจกรรมร่วมกับหะละเกาะฮฺอัลกุรอาน มีประสิทธิภาพเท่ากับ E1 = 80.21/ E2 = 88.27 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) ทักษะการอ่านอัลกุรอานของผู้เรียนโดยภาพรวมผู้เรียนมีทักษะการอ่านอัลกุรอานคิดเป็นร้อยละ 82.90 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่ได้กำหนด คือ ผู้เรียนทุกคนมีทักษะการอ่านอัลกุรอานผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 3) ระดับความพึงพอใจของผู้เรียนต่อชุดกิจกรรมร่วมกับหะละเกาะฮฺ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.19, S.D. = .456) โดยประเด็น<br />ด้านกิจกรรมในบทเรียนน่าสนใจมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.50, S.D. = .509) รองลงมาได้แก่ประเด็นด้านช่วยสร้างบรรยากาศในการเรียน (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.33, S.D. = .479) และประเด็นด้านมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากใช้ชุดกิจกรรมตามลำดับ (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.30, S.D. = .466)</p>
2025-04-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/269300
การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้านสุขภาพช่องปากและฟัน สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย
2024-08-29T18:01:36+07:00
ภราดร เสถียรไชยกิจ
paradorn.kmutnb@gmail.com
โสภิตา สุวุฒโฑ
paradorn.kmutnb@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการ และพฤติกรรมการรับสื่อสุขภาพสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย และ 2) พัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้านสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย การดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาความต้องการ และพฤติกรรมการใช้หรือการรับสื่อสุขภาพสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย โดยการใช้แบบสัมภาษณ์ความต้องการและพฤติกรรมการใช้หรือการรับสื่อของกลุ่มตัวอย่าง และแบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนที่รับผิดชอบรายวิชาสุขศึกษา ในการเก็บข้อมูล และระยะที่ 2 ออกแบบและผลิตสื่อต้นแบบ ซึ่งใช้แบบประเมินคุณภาพสื่อโดยผู้เชี่ยวชาญ และประเมินความพึงพอใจของสื่อต้นแบบจากกลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้น ป.4 - ป.6 จำนวน 45 คน ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในเขต อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ชอบรูปแบบการ์ตูน 2 มิติ ที่มีลักษณะเป็นยอดมนุษย์ มีพลัง ชอบทั้งรูปแบบที่เป็นคน สัตว์ และรูปร่าง แบบตัดทอนรายละเอียด ลายเส้นชัดเจน เข้าใจง่าย มีสีสันสดใส ชอบสื่อการ์ตูนแอนิเมชันมากกว่าสื่อหนังสือ ต้องการโปสเตอร์ที่สามารถดูได้พร้อมกันหลายคน มีลูกเล่นเพื่อสร้างความน่าสนใจ เน้นรูปภาพมากกว่าตัวอักษร การ์ตูนแอนิเมชันควรมีประเด็นให้คิด วิเคราะห์ และ 2) สื่อการเรียนรู ้ด้านสุขภาพสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย มีทั้งสิ้น 9 ประเภท คือ หนังสือนิทานแบบปฏิสัมพันธ์ จุลสาร การ์ตูนแอนิเมชัน โปสเตอร์นิทรรศการ แบนเนอร์ สแตนดี้ เข็มกลัด ความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality : AR) และ Page Facebook ซึ่งผลการประเมินคุณภาพสื่อจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 ท่าน โดยรวมทุกประเภทสื่ออยู่ในเกณฑ์ดีมาก สื่อหนังสือนิทานแบบปฏิสัมพันธ์ ได้ค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ การ์ตูนแอนิเมชัน และอันดับที่ 3 คือ โปสเตอร์นิทรรศการ ส่วนประเภทของสื่อที่กลุ่มตัวอย่าง มีความพึงพอใจมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ 1) โปสเตอร์นิทรรศการ 2) หนังสือนิทานแบบปฏิสัมพันธ์ และ 3) การ์ตูนแอนิเมชัน</p>
2025-04-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/269373
การเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพครูโดยโปรแกรมการฝึกปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาเอกสำหรับนิสิตครู
2024-09-02T10:33:17+07:00
มนตรี แจ้งมงคล
montree.ja@ku.th
วีณา ยาไทย
noovina.yt@gmail.com
ธีรภพ ชาดวง
teerapob.c@gmail.com
ปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง
fedupppi@ku.ac.th
<p>การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื ่อศึกษาผลการพัฒนาโปรแกรมการฝึกปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาเอกสำหรับนิสิตครู ได้แก่ การรับรู ้สมรรถนะทางวิชาชีพครูและความสามารถในการบูรณาการสาระความรู ้ศาสตร์การสอนของนิสิต กลุ่มที่ศึกษาในงานวิจัยนี้ได้แก่ นิสิตครูระดับปริญญาตรีหลักสูตรสี่ปี ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 199 คน จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจการรับรู ้ของนิสิตก่อนและหลังเรียนเกี่ยวกับสมรรถนะของนิสิต ใบกิจกรรม CoRe สำหรับนิสิตระหว่างการออกแบบ<br />แผนการจัดการเรียนรู ้เพื่อทดลองสอนในรายวิชา และแบบสัมภาษณ์นิสิต การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสำรวจการรับรู้ของนิสิต โดยการจัดกลุ่มสมรรถนะนิสิตตามตัวบ่งชี้และคำนวณความถี่ ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อหารูปแบบของสมรรถนะทางวิชาชีพครู ผลการวิจัยพบว่าก่อนเข้าสู่โปรแกรม ฯ นิสิตมีการรับรู ้สมรรถนะทางวิชาชีพของตนเองในระดับสูงในด้านการปฏิบัติหน้าที่ครูและจรรยาบรรณวิชาชีพ ได้แก่ มีจรรยาบรรณต่อสังคมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.57) แต่รับรู้ว่าตนเองมีสมรรถนะปานกลางในด้านการจัดการเรียนรู้หลังจากเข้าสู่โปรแกรม ฯ นิสิตส่วนใหญ่สะท้อนคิดว่าตนเองมีสมรรถนะด้านการปฏิบัติหน้าที่ครูและจรรยาบรรณวิชาชีพมากที่สุด ได้แก่ มีจรรยาบรรณต่อผู ้รับบริการในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.66) และพบว่ามีการรับรู้ต่อสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนเข้าสู่โปรแกรม ฯ เป็นระดับมากถึงมากที่สุดในทุกสมรรถนะ</p>
2025-04-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/269509
การสำรวจสภาพที่คาดหวังและสภาพที่เป็นจริงในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2024-05-13T16:33:48+07:00
ปนิดา ดำรงสุสกุล
panida.d@psu.ac.th
ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ
narongsak.r@psu.ac.th
ธีระยุทธ รัชชะ
teerayout.r@psu.ac.th
จิระวัฒน์ ตันสกุล
jirawat.tu@psu.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสภาพที่คาดหวังและสภาพที่เป็นจริงในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 53 คน นักศึกษา 183 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 49 คน ใช้แบบสอบถามรูปแบบข้อมูลสองชุดหรือการตอบสนองคูู่ (Dual Response Format) มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.974 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า สภาพที่คาดหวังและสภาพที่เป็นจริงในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กลุ่มอาจารย์ประจำหลักสูตรมีความคาดหวังในระยะระหว่างการประเมินและระยะหลังการประเมินมากที่สุด กลุ่มนักศึกษาและกลุ่มผู่มีส่วนได้ส่วนเสียมีความคาดหวังในระดับมากทุกระยะ สภาพที่เป็นจริงในการดำเนินงานของทุกกลุ่มและทุกระยะมีสภาพการดำเนินงานในระดับมาก และมีดัชนีความต้องการจำเป็นมากที่สุดในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตรตามเกณฑ์<br />AUN-QA ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในระยะก่อนการประเมินจำนวน 2 กลุ่มคือกลุ่มอาจารย์ประจำหลักสูตรและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ส่วนกลุ่มนักศึกษามีดัชนีความต้องการจำเป็นในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตรในระยะระหว่างการประเมินมากที่สุด</p>
2025-04-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/269597
การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นสมบูรณ์ในการพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในโรงเรียน 3 จังหวัดชายแดนใต้
2025-02-05T14:44:52+07:00
นาอีมะห์ สามะ
naemah49@gmail.com
มัฮดี แวดราแม
mahdee.w@psu.ac.th
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาและจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 2) เพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่ส่งผลให้เกิดความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะในการทำวิจัยในชั้นเรียน และ 3) เพื่อกำหนดแนวทางในประเมินความต้องการจำเป็นการพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 จังหวัดชายแดนใต้ จำนวน 293 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนในขั้นตอนที่ 1 และการสนทนากลุ่มในขั้นตอนที่ 2 และขั้นตอน 3 ซึ่งเป็นครูที่มีวิทยฐานะต่างกัน กับผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยในชั้นเรียนกลุ่มละ 8 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างสภาพที่เป็นอยู่กับสภาพที่ควรจะเป็น ด้วยการเรียงลำดับผลต่างของคะแนนเฉลี่ย ด้วยวิธี Modified Priority Needs Index (PNI<sub>modified</sub>) แบบบันทึกการสนทนากลุ่มและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาและจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในโรงเรียน 3 จังหวัดชายแดนใต้ทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ การกำหนดปัญหาการวิจัย การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การออกแบบการวิจัย การวิเคราะห์ และการสรุปผลและการเขียนรายงานการวิจัย โดยภาพรวมถือว่ามีความต้องการจำเป็นที่ต้องพัฒนา โดยค่าเฉลี่ย (PNI<sub>modified</sub> = 0.46) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า 3 ลำดับแรกที่มีความต้องการจำเป็นที่ต้องพัฒนา โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีความต้องการจำเป็นสูงสุด (PNI<sub>modified</sub> = 0.49) รองลงมา คือการสรุปผลและการเขียนรายงานการวิจัย (PNI<sub>modified</sub> = 0.48) และการวิเคราะห์ข้อมูล (PNI<sub>modified</sub> = 0.47) ตามลำดับ 2) ผลการวิเคราะห์สาเหตุที่ส่งผลให้เกิดความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนสามารถสรุปเป็น 2 สาเหตุ คือ สาเหตุที่เกิดจากความรู ้ความเข้าใจของครูเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน และสาเหตุที่เกิดจากปัจจัยอื่น เช่น ขาดการสนับสนุนจากผู ้บริหาร ขาดโค้ชหรือที่ปรึกษาด้านวิจัย และไม่มีเวลาในการทำวิจัย 3) ผลการกำหนดแนวทางในการพัฒนาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียน สามารถสรุปได้ 2 แนวทางคือ การสร้างความตระหนักรู้ของครูให้เห็นถึงความสำคัญของการทำวิจัยในชั้นเรียน และการพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โดยให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการเป็นประจำทุกปี</p>
2025-04-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/265781
แนวทางการสอนอ่านภาษาจีนเพื่อจับใจความสำหรับผู้เรียนสาขาภาษาจีนระดับอุดมศึกษา
2024-05-21T13:55:33+07:00
แตงเถา แซ่เจีย
tangthao.k@pkru.ac.th
<p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการสอนอ่านภาษาจีนเพื่อจับใจความสำหรับผู้เรียนสาขาภาษาจีนระดับอุดมศึกษา ซึ่งกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนอ่านภาษาจีนเพื่อจับใจความสำหรับผู้เรียนสาขาภาษาจีนระดับอุดมศึกษาควรปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอนหรือพื้นฐานของผู้เรียน โดยแบ่งรูปแบบออกเป็นกิจกรรมกลุ่มและกิจกรรมเดี่ยว รูปแบบกิจกรรมกลุ่ม จำนวน 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรม 你的词汇,怎么记得那么牢啊? (กิจกรรม “คำศัพท์ของเธอ ทำไมจำได้แม่นยำเช่นนี้”) 2) กิจกรรม 看图说话 (กิจกรรม “เล่าเรื่องจากภาพ”) และ 3) กิจกรรม 这个图在哪单元 (กิจกรรม “รูปภาพนี้ปรากฏอยู่ในตอนใด”) รูปแบบกิจกรรมเดี่ยว จำนวน 2 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรม 读后练习 (กิจกรรม “ทบทวนหลังอ่าน”) และ 2) กิจกรรม 蜘蛛概念图 (กิจกรรม “แผนผังใยแมงมุม”) กิจกรรมเหล่านี้มีส่วนช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการอ่าน เพื่อจับใจความแบบค่อยเป็นค่อยไปส่งผลให้สามารถพัฒนาการอ่านให้ดีขึ้นได้ และสำหรับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านนั้น ควรเริ่มควบคู่การฝึกฝนและพัฒนาทักษะการเรียนภาษาต่างประเทศทั้ง 4 ด้าน คือ ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่าน และทักษะการเขียนควบคู่กันไป</p>
2025-04-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/265934
ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก: แนวทางเพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน
2024-07-12T13:57:14+07:00
ไอริสา พรหมจรรย์
irisa123goy@gmail.com
วันชัย ธรรมสัจการ
irisa123goy@gmail.com
ปัญญา เทพสิงห์
irisa123goy@gmail.com
เกษตรชัย และหีม
irisa123goy@gmail.com
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนนำเสนอมุมมองทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก สำหรับเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพ<br />ของผู้เรียน โดยมีการนำเสนอประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ แนวคิดทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก องค์ประกอบของทุนทางจิตวิทยา<br />เชิงบวก มุมมองทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกกับบริบทการศึกษา และแนวทางการส่งเสริมทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก ซึ่งการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนจำเป็นต้องดำเนินการในทุกมิติของการพัฒนา และสิ่งที่มิอาจจะปฏิเสธได้คือ การพัฒนา<br />จิตใจ หรือทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก โดยการมุ่งส่งเสริมหรือพัฒนา การรับรู้ความสามารถของตนเอง การมองโลกในแง่ดี<br />ความหวัง และการฟื้นพลัง ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้บุคคลเกิดการพัฒนาทางจิตใจอย่างแท้จริง เพราะเสมือนเป็นจุดเริ่มต้นการพัฒนาในมิติอื่น ๆ ที่จะตามมา เพราะฉะนั้นบุคลากรทางการศึกษาสถานศึกษา หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้จำเป็นต้องทำความเข้าใจแนวคิดทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก เพื่อเป็นประโยชน์ในการออกแบบกิจกรรมในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน</p>
2025-04-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/267420
การเรียนรู้แบบยืดหยุ่น: การเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ ในระดับอุดมศึกษาในยุคดิจิทัล
2024-09-02T17:24:15+07:00
ดวงเดือน แสงแพร้ว
duangduean.sae@mahidol.ac.th
ภาวิรัช พรหมเพศ
pawirat.pro@mahidol.ac.th
<p>การเรียนรู้แบบยืดหยุ่นเป็นการเรียนที่ยืดหยุ่นด้วยเวลา สถานที่ และวิธีการ เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ-สังคมและการเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเติบโตอย่างก้าวกระโดด กระทบการดำเนินชีวิตให้ต้องใช้เทคโนโลยีอย่างเต็มประสิทธิภาพและเรียนรู้ผ่านออนไลน์ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษาแก่คนทั่วไปได้อย่างครอบคลุมและเท่าเทียมกัน ผู้เรียนยุคดิจิทัลคล่องแคล่วใช้อุปกรณ์เข้าถึงข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในทันที สถาบันอุดมศึกษาจึงต้องเปิดรับการเรียนรู้แบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการที่เชื่อมต่อความรู้ของผู้เชี่ยวชาญและประสบการณ์ของผู้อื่น โดยยืดหยุ่นให้ผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้แบบเป็นส่วนตัวที่ตรงความต้องการ เข้าถึงแหล่งเรียนรู้อย่างไม่จำกัด และวิเคราะห์เพื่อเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด แนวทางการเรียนรู้แบบยืดหยุ่นที่พบคือ 1. เริ่มเข้าศึกษา: หลักสูตรเตรียมความพร้อมผู้เรียนให้สามารถเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา รับรองการเรียนรู้/ทักษะที่มีมาก่อน ในบริบทที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ให้ผู้เรียนได้พิสูจน์ความสามารถเพื่อการรับเข้าเรียน 2. ระหว่างการศึกษา: เชื่อมต่อการเรียนรู้ด้วยการโอนย้ายหลักสูตร/รายวิชาเพื่อหลีกเลี่ยงการเรียนซ้ำซ้อนและเพิ่มโอกาสการสำเร็จการศึกษา รวมทั้งจัดการเรียนรู้ผ่านออนไลน์แบบยืดหยุ่นให้ผู้ที่ต้องการผสมผสานการเรียนและการทำงานเข้าด้วยกัน และเมื่อ 3. ใกล้สำเร็จการศึกษา: ส่งเสริมการเรียนรู้จากการทำงาน และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ยกระดับสมรรถนะของคนทำงาน โดยผู้เรียนสามารถเทียบโอนผลการเรียนจากในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย มาสะสมไว้ในคลังหน่วยกิตของสถาบันอุดมศึกษาที่เชื่อมต่อกับคลังหน่วยกิตกลางในรูปแบบดิจิทัล เป็นคุณวุฒิระดับต่าง ๆ หลักสูตรปริญญา และเรียนรู้ตลอดชีวิตได้</p>
2025-04-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี