แนวทางการจัดการสถานศึกษาเอกชนเพื่อให้ดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน

Main Article Content

กฤชเชาว์ นันทสุดแสวง
ทวีศักดิ์ รูปสิงห์
ธานินทร์ ศิลป์จารุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการดำเนินงานทั่วไปของสถานศึกษาเอกชน 2) ศึกษาองค์ประกอบแนวทางในการจัดการสถานศึกษาเอกชนเพื่อให้ดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน และ 3) พัฒนาแบบจำลองสมการโครงสร้างแนวทางการจัดการสถานศึกษาเอกชนเพื่อให้ดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ระเบียบวิธีวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วน คือ (1) การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้กลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักวิชาการ จำนวน  3 คน ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน จำนวน 3 คน และผู้ที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาในระดับกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน  3 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) การวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับมัธยมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา จำนวน 500 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้คือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม (T-test) การวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equations Modeling: SEM) และการวิเคราะห์ความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรม   วิเคราะห์ทางสถิติ


ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการจัดการสถานศึกษาเอกชนเพื่อให้ดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนจากความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำแนกได้ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านแผนกลยุทธ์ (Strategy) ด้านโครงสร้างองค์กร (Organization structure) ด้านการบริหารองค์กร (Management) ด้านทรัพยากรบุคคล (Human resource) และด้านภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership) 2) องค์ประกอบด้านการบริหารองค์กร มีอิทธิพลทางตรงกับองค์ประกอบด้านโครงสร้างองค์กร มีอิทธิพลทางตรงต่อองค์ประกอบด้านแผนกลยุทธ์ และยังมีอิทธิพลทางตรงต่อองค์ประกอบด้านทรัพยากรบุคคล องค์ประกอบด้านทรัพยากรบุคคล มีอิทธิพลทางตรงต่อองค์ประกอบด้านแผนกลยุทธ์ มีอิทธิพลทางตรงต่อองค์ประกอบด้านโครงสร้างองค์กร และยังมีอิทธิพลทางตรงต่อองค์ประกอบด้านภาวะความเป็นผู้นำ 3) ผลการพัฒนาแบบจำลองสมการโครงสร้างแนวทางการจัดการสถานศึกษาเอกชนเพื่อให้ดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่  χ 2 = 245.581, df = 224, ค่า χ2/ df = 1.096,GFI= .96 และ RMSEA = 0.014

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤชเชาว์ นันทสุดแสวง (2562) แนวทางการจัดการสถานศึกษาเอกชนให้ดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ตฤณ ศุภโชคอุดมชัย (2557) กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วิโรจน์ สารรัตนะ และอัญชลี สารรัตนะ. (2545). ปัจจัยทางการบริหารกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ข้อเสนอผลการวิจัยเพื่อการพัฒนาและการวิพากษ์. กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุทธิ์.

ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา แนวคิด ทฤษฎีและบทบัญญัติทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 7(3), 845-861.

ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์. (2558). รูปแบบการบริหารข่ายงานห้องสมุด มหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคสู่การเป็นองค์การแห่งนวัตกรรม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(1),75-94.

ศิริลักษณ์ ทิพม่อม วาโร เพ็งสวัสดิ์ วัลนิกา ฉลากบาง และพรเทพ เสถียรนพเก้า. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารราชพฤกษ์, 14(3), 72-79.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล พ.ศ.2558 .กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Glor, E. (2014). Studying the Impact of Innovation on Organizations, Organizational Populations and Organizational Communities: A Framework for Research. The Innovation Journal: The Public Sector Innovation Journal, 19(3), 1-20.