การประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนและทักษะการสื่อสารผ่านการแสดง ภายใต้กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ในวิชาศิลปะการแสดง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนและทักษะการสื่อสารผ่านการแสดงของนิสิตในรายวิชาหลักปฏิบัติและการจัดการทางสื่อสารการแสดง (Principles of Performing Arts Practice and Management) หลังจากการใช้กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน นิสิตที่เข้าร่วมกระบวนการเป็นนิสิตชั้นปีที่ 3 หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาปลายปีการศึกษา 2560 จำนวน 22 คน การวิจัยในครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed method) โดยใช้แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของนิสิต การสังเกต และแบบประเมินทักษะการสื่อสารผ่านการแสดง ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวมรวมข้อมูลโดยการประเมินการมี ส่วนร่วมในชั้นเรียนของนิสิตก่อนและหลังการใช้หลักการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ดำเนินการใช้การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนการสอน โดยกำหนดโจทย์เพื่อให้นิสิตเลือกนำเอาความรู้และทักษะที่ผู้จัดกระบวนการนำเสนอให้มาใช้เพื่อค้นหาคำตอบ จากนั้นจึงจดบันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้ของนิสิตและประเมินทักษะการสื่อสารผ่านการแสดงในสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอน การวิจัยนี้ประกอบด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงปริมาณและในเชิงคุณภาพโดยข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากแบบสอบถามใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสถิติพรรณนา ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสังเกตการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบจัดกลุ่มข้อมูลก่อน (a priori codes) ซึ่งเริ่มด้วยการจัดกลุ่มประเภทของข้อมูลล่วงหน้า จากนั้นจึงอ่านและวิเคราะห์ข้อมูลผลการวิจัยพบว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานช่วยให้นิสิตมีส่วนร่วมในชั้นเรียนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความมั่นใจในตนเอง และเกิดทักษะการสื่อสารผ่านการแสดงที่อยู่ในระดับดีมาก
Article Details
References
B.A. in Communication Management at the Faculty of Communication Arts. (2018). Retrieved from http://www.inter.commarts.chula.ac.th/page/academics/ba-comm-management/
Bosuwon, T. (2008). A development of the business English reading course using a problem-based learning approach to enhance English learning outcomes of the university of the Thai Chamber of Commerce undergraduate students [Unpublished doctoral dissertation]. Chulalongkorn University. [in Thai]
Cohen, R. (2011). Working together in theatre. Basingstoke: Palgrave Macmillan.
Deep, S., Ahmed, A., Suleman, N., Abbas, M. Z., Nazar, U., & Razzaq, H. S. A. (2020). The problem-based learning approach towards developing soft skills: A systematic review. The Qualitative Report, 25(11).
Delisle, R. (1997). How to use problem-based learning in the classroom. Alexandria, Virginia: Association for the Supervision and Curriculum Development.
Fielder, S., & Friday, P. (2008). AQA drama and theatre studies. Cheltenham: Nelson Thornes.
Kardoyo, Nurkhin, A., Muhsin, & Pramusinto, H. (2020). Problem-based learning strategy: Its impact on students’ critical and creative thinking skills. European Journal of Educational Research, 9(3). 1141-1150.
Khemmani, T. (2017). 14 Teaching methods for professional teachers. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
MacDiarmid, C. (2017). Interaction and engagement in problem-based learning sessions: A corpus-based analysis [Unpublished doctoral dissertation]. University of Glasgow, UK.
Punpeng, G. (2016). Grading detail form. Unpublished report, 2804416 PRIN PERF PRAC MGT, Chulalongkorn University, Thailand.
Savin-Baden, M. (2003). Facilitating problem-based learning. Maidenhead: Society for Research into Higher Education.
Savin-Baden, M. (2016). The impact of transdisciplinary threshold concepts on student engagement in problem-based learning: A conceptual synthesis. Interdisciplinary Journal of Problem-Based Learning, 10(2). doi: 10.7771/1541-5015.1588
Schwartz, P., Mennin, S., & Webb, G. (2006). Problem-based learning. London: Routledge.
Tangdhanakanond, K. (2016). Measuring and evaluating practical skills. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]