ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคล ตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสงขลา

Main Article Content

มู่หำหมัด บินล่าเต๊ะ
วรลักษณ์ ชูกำเนิด

บทคัดย่อ




การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ ระดับการบริหาร งานบุคคลของผู้บริหาร ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และการบริหารงานบุคคล และเพื่อหา ตัวแปรพยากรณ์ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงาน ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคร้ังนี้ ได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 206 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบสัดส่วนจำแนกตามประชากรของแต่ละสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็น แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบ Likert ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเก่ียวกับความฉลาดทาง อารมณ์ของผู้บริหาร (ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .939) และ 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของ ผู้บริหาร (ค่าความเช่ือมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .952) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉล่ีย ค่าเบ่ียงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการสร้างสมการถดถอยเพื่อการพยากรณ์ตัวแปรตาม โดยวิธีวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน โดยวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารตามทัศนะของครู โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ใน ระดับมาก 2) การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารตามทัศนะของครู โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากเช่น เดียวกัน 3) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหาร ตามทัศนะของครู พบว่า โดยส่วนใหญ่ทั้งภาพรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับค่อนข้างสูง จนถึงระดับสูงมาก ช่วงค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ระหว่าง r = .608 - .955 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลตามทัศนะของครู มีเพียง 3 ด้านที่ สามารถพยากรณ์ได้ คือ ด้านความสามารถในการการสร้างสัมพันธภาพท่ีดีกับผู้อ่ืน ด้านความสามารถในการสร้าง แรงจูงใจให้ตนเอง และด้านความสามารถในการบริหารจัดการอารมณ์ตนเอง โดยมีอำนาจพยากรณ์เท่ากับ .767 คิดเป็นร้อยละ 76.7




Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

มู่หำหมัด บินล่าเต๊ะ, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา), นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาการบริหารการศึกษา 

วรลักษณ์ ชูกำเนิด, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ศษ.ด. (การบริหารการศึกษา), อาจารย์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา