ความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ที่มีต่อหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ปิติพัฒน์ นิตยกมลพันธุ์
  • ทศพร แก้วขวัญไกร
  • บัญชา จันทราช
  • ภวิษย์หาญ พะนุมรัมย์
  • ศิระ เพ็ชรจำเริญสุข
  • ธนกร เพชรสินจร

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจและเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ที่มีต่อหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งนักศึกษาจำแนกตามเพศ อายุ เกรดเฉลี่ยสะสม และแขนงวิชา ส่วนอาจารย์จำแนกเพศ อายุ ประเภทของบุคคลกรสายวิชาการ ตำแหน่งทางวิชาการ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการสอน โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 193 คน และอาจารย์ประจำหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 6 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และใช้สถิติในวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการศึกษา พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจโดยรวมต่อหลักสูตรอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตร พบว่านักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยสะสมแตกต่างกันส่งผลต่อความพึงพอใจโดยรวมของนักศึกษาต่อหลักสูตรแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.10 ในส่วนของอาจารย์พบว่า อาจารย์มีความพึงพอใจโดยรวมต่อหลักสูตรอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของอาจารย์ที่มีต่อหลักสูตร พบว่าอาจารย์ที่มีอายุแตกต่างกันส่งผลความพึงพอใจโดยรวมของอาจารย์ต่อหลักสูตรแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.10

References

คณะวิทยาการจัดการ. (2559). แบบประเมินความพึงพอใจอาจารย์ประจำหลักสูตรนิเทศศาสตร
บัณฑิต ปีการศึกษา 2558. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร : หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อลีน
เพรส.
ฉัตรนภา พรหมมา. (2542). การพัฒนาเกณฑ์ประเมินหลักสูตรสาขา วิทยาศาสตร์สถาบันราชภัฏ
อุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์: สำนักวิจัยและบริการวิชาการ สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์.
ทรงสิริ วิชิรานนท์, ภาวิณี อุ่นวัฒนา, พัลลพ หามะลิ และชัยวุฒิ ชัยฤกษ์. (2560). ความพึงพอใจต่อ
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. การประชุมวิชาการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 และการประชุมวิชาการนานาชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 8 (RMUTCON 2017), วันที่ 7-9 สิงหาคม 2560, (65-71). กรุงเทพฯ.
ทศพร แก้วขวัญไกร. (2559). ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณทิต. บุรีรัมย์:
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
บุญเรียม ทะไกรราช และรุ่งอุษา คำร้อยแสน. (2558). การประเมินหลักสูตร คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระนคร. กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ
นคร.
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2553). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัตนา พรมภาพ. (2551). ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรของ
ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2550. พิษณุโลก:
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วรญา ทองอุ่น และจันจิราภรณ์ ปานยินดี. (2560). ความพึงพอใจต่อหลักสูตรการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 2(1), 1-12.
สุพัตรา รักการศิลป์, เอมอร แสวงวโรตม์, ผกามาส มูลวันดี, ฐิติพร วรฤทธิ์, แก้วมณี อุทิรัมย์ และทิพย์
สุดา ทาสีดำ. (2559). ความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาการบัญชีที่มีต่อหลักสูตรบัญชีบัณฑิต
สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำปีการศึกษา
2558. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 8(2), 141-151.
สุภาภรณ์ ประสงค์ทัน และไพวรรณ์ เงาศรี. (2555). ความพึงพอใจและความต้องการจำเป็นของนิสิตและบัณฑิตต่อการบริการของภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
อารีรักษ์ มีแจ้ง. (2552). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการศึกษาในหลักสูตรศิลป
ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร,
6(3), 69-86.
อิสรีย์ โชว์วิวัฒนา. (2556). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรปริญญาตรี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 33(ฉบับพิเศษ), 1-12.
Good, C.V. (1973). Dictionary of Education. 3rd ed. New York: McGraw–Hill.
Lahey, B.B. (2004). Psychology: An introduction. Boston: McGraw-Hill.
Maslow, A.H. (1943). A Theory of Human Motivation. Psychological Review, 50(4), 370-396.
Oliva, P.F. (1982). Developing the Curriculum. Boston: Brown and Company.
Schermehorn, J. (1984). Management for Productivity. New York: John Wiley and Sons.
Shelly, M.W. (1975). Responding to social change. Pennsylvania: Hutchison and Press.
Stufflebeam, D.L., et al. (1971). Educational Evaluation and Decision Making. Illinois:
Peacock Publisher lnc.
Taba, H. (1962). Curriculum Development : Theory and Practice. New York: Harcourt,
Brace and world Inc.
Tanner, D. and Tanner, L. (1980). Curriculum Development : Theory into Practice.
2nd ed. New York: Macmillan.
Tyler, R.W. (1957). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago: University
of Chicago Press.
Vroom, V.H. (1987). Management and motivation. New York: McGraw–Hill.

เผยแพร่แล้ว

05-02-2020