วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journalfms-thaijo <p><strong>วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์<br /></strong> วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นวารสารวิชาการที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัยครอบคลุมศาสตร์ต่างๆ ทางสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ บัญชี บริหารธุรกิจ การจัดการ บริหารทรัพยากรมนุษย์ การเงินการธนาคาร การตลาด คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและโรงแรม สื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสหวิทยาการจัดการ โดยครอบคลุมสาขาวิชาหลัก (Main subject category) และสาขาวิชาย่อย (Subject areas) ตามขอบเขตของวารสารฯ ดังนี้<br /> สาขาวิชาหลัก: Social Sciences<br /> สาขาวิชาย่อย: 1. Business, Management and Accounting <br /> 1.1 General Business, Management and Accounting<br /> 1.2 Management Information Systems <br /> 1.3 Marketing<br /> 1.4 Organizational Behavior and Human Resource Management<br /> 1.5 Tourism, Leisure and Hospitality Management<br /> สาขาวิชาย่อย: 2. Economics, Econometrics, and Finance<br /> 2.1 General Economics, Econometrics, and Finance<br /> สาขาวิชาย่อย: 3. Social Sciences<br /> 3.1 General Social Sciences<br /> 3.2 Education<br /> 3.3 Law<br /> 3.4 Linguistics and Language<br /> 3.5 Sociology and Political Science<br /> 3.6 Communication<br /> 3.7 Public Administration<br /> ทั้งนี้สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบดังนี้<br /> 1. บทความประสบการณ์ และบทความเรียบเรียง<br /> 2. บทความวิจัย เป็น Concept paper หรือ ผลงานวิจัยที่ทำเสร็จสมบูรณ์<br /> 3. ผู้นำเสนอบทความเป็นบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาและบุคคลทั่วไปที่สนใจ</p> <p><strong>การประเมินบทความ</strong><br /> แต่ละบทความจะถูกประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) จากหลากหลายสถาบันอย่างน้อย 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งจะไม่ทราบชื่อซึ่งกันและกัน (Double Blinded) </p> <p><strong><em>Time to first decision: 2 Week</em></strong><br /><strong><em>Review time: 6-8 Week<br /></em></strong><strong><em>Acceptance to publication: 4-26 Week</em></strong></p> <p><strong>กำหนดการตีพิมพ์เผยแพร่</strong><br />การตีพิมพ์วารสารฯ จะมีการตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ คือ<br /> 1. ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน<br /> 2. ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p>-------------------------------------------------------------------------------------------------<strong><br /></strong><strong>วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์</strong><br />ISSN 2651-124X (Print) <br />ISSN 2985-0444 (Online)<br /><strong>จำนวนฉบับ</strong> : ปีละ 2 ฉบับ (มกราคม - มิถุนายน และ กรกฏาคม - ธันวาคม)<br /><strong>ภาษา</strong> : ไทย,อังกฤษ<br /><strong>ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์</strong> : จะเริ่มเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับบทความที่ได้รับการเผยแพร่ในปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (2567) เป็นต้นไปในอัตราดังนี้<br /> - บุคคลภายนอกเก็บค่าธรรมเนียมบทความละ 3,500 บาท (อาจารย์/นักวิจัย/นักวิชาการ/นักศึกษา ของสถาบันอื่น)<br /> - บุคคลภายในเก็บค่าธรรมเนียมบทความละ 3,000 บาท (อาจารย์/นักวิจัย/นักวิชาการ/นักศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์)<br /> - กรณีบุคคลภายในที่มีชื่อเป็นผู้ร่วมผลงานกับบุคคลภายนอก ให้ชำระค่าธรรมเนียมบทความในอัตราเดียวกับบุคคลภายนอก บทความละ 3,500 บาท</p> th-TH <p>ลิขสิทธิ์&nbsp; ในการตีพิมพ์บทความ</p> <p>&nbsp;</p> <p>จะโชว์ตอนที่ ผู้ส่งบทความ ตีพิมพ์ ต้องกด accept</p> pronprun.sk@bru.ac.th (รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา ปาโนรัมย์) pronprun.sk@bru.ac.th (คุณพรพรรณ แสงแก้ว) Sat, 06 Jul 2024 16:35:57 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 แนวทางการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษาชโลบลจักรี ตำบลบ้านกิ่ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journalfms-thaijo/article/view/267969 <p>งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงด้านการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน 2) เพื่อศึกษาแนวการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน กลุ่มสมาชิกวิสาหกิจชุมชนชโลบลจักรี ตำบลบ้านกิ่ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มสมาชิกวิสาหกิจชุมชนชโลบลจักรี จำนวน 35 ราย ประกอบด้วย 1) ผู้นำและผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 5 ราย 2) สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง และการประชุมกลุ่มย่อยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน สมาชิกมีความพึงพอใจมากที่สุดในการจัดการสินค้าหรือบริการ รองลงมา การบริหารตลาด การจัดการความรู้และข้อมูล ผู้นำและการบริหารวิสาหกิจชุมชน การวางแผนการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน และการบริหารสมาชิกวิสาหกิจชุมชน ส่วนแนวทางการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ด้านการพัฒนาสมาชิกกลุ่มคือ การส่งเสริมการเก็บออมเพื่อเป็นเงินลงทุน การเสริมสร้างความรู้การปลูกพืชผักอื่นๆ การทำปุ๋ยใช้เองเพื่อลดต้นทุนการปลูกพืชผักให้กับสมาชิก ด้านการพัฒนาการผลิตและการตลาด ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว การจัดทำแผนการผลิต และ เพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลผลิต และการแปรรูปผลผลิต ด้านการพัฒนาองค์ความรู้ มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การปลูกพืชผักอินทรีย์ เพื่อให้สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้ทุกขั้นตอนแก่คนที่สนใจและสมาชิกรุ่นต่อไป</p> วิเชียร วงค์วัน, หัสยา วงค์วัน Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journalfms-thaijo/article/view/267969 Sat, 06 Jul 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journalfms-thaijo/article/view/268465 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี และ 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จำนวน 258 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และด้านการคำนึงถึงปัจเจกบุคคล อยู่ในระดับมาก และระดับความคิดเห็นของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง ด้านวินัยและการรักษาวินัย ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ด้านการลาออกจากราชการ และด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง อยู่ในระดับมาก และระดับความคิดเห็นของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ด้านผลการปฏิบัติงาน ด้านการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่และด้านการปฏิบัติงานตามสถานการณ์ อยู่ในระดับมาก 2) ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และด้านกระตุ้นทางปัญญาส่งผลในทางตรงกันข้ามกับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี</p> วันชัย อมรมงคลทอง, นาตยา อารยเขมกุล, จันทพงศ์ จันทรภักดี, ณัฎฐณิชา รักษาวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journalfms-thaijo/article/view/268465 Sat, 06 Jul 2024 00:00:00 +0700 องค์ประกอบผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคจังหวัดอำนาจเจริญ ภายหลังสถานการณ์โควิด 19 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journalfms-thaijo/article/view/269376 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์และการตัดสินใจซื้อของผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเพื่อสุขภาพของจังหวัดอำนาจเจริญ ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 และ 2) ศึกษาองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเพื่อสุขภาพของจังหวัดอำนาจเจริญ ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากผู้บริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเพื่อสุขภาพของจังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 400 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวัดองค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) และการวิเคราะห์เชิงยืนยัน (CFA)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคมีความคิดเห็นต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเพื่อสุขภาพของจังหวัดอำนาจเจริญทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการสอบถามและตอบ ด้านการรู้จักผลิตภัณฑ์ ด้านการสนับสนุน ด้านการชื่นชอบผลิตภัณฑ์ และด้านการตัดสินใจ ส่วนองค์ประกอบผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเพื่อสุขภาพของจังหวัดอำนาจเจริญ ภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ผู้บริโภคมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านศักยภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ด้านผลิตภัณฑ์ที่คาดหวัง ด้านผลิตภัณฑ์ควบ ด้านรูปร่างผลิตภัณฑ์ และด้านผลิตภัณฑ์หลัก ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโมเดลการวัดปัจจัยองค์ประกอบผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ โดยพบว่า องค์ประกอบผลิตภัณฑ์ 3 ด้าน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์หลัก ผลิตภัณฑ์ที่คาดหวัง และผลิตภัณฑ์ควบ ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ ซึ่งสามารถพยากรณ์ (R<sup>2</sup>) ได้ถึง 69% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p> ศุภกัญญา เกษมสุข, โชฒกามาศ พลศรี, วรรณณา ปิยะรัตน์มานนท์, วิลารักข์ อ่อนสีบุตร Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journalfms-thaijo/article/view/269376 Sat, 06 Jul 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นหมู่บ้านท่องเที่ยวตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journalfms-thaijo/article/view/270118 <p>การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์ชุมชนตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์บนฐานอัตลักษณ์ชุมชนตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ และ 3) ประเมินความพึงพอใจต้นแบบผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์พื้นถิ่นชุมชนตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพกับกลุ่มตัวอย่างในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม การสังเกต บัตรคำลงคะแนน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีแบบเชิงพรรณนา และวิจัยเชิงปริมาณกับกลุ่มบุคคลทั่วไปจำนวน 50 คน แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า อัตลักษณ์ชุมชน คือ 1) ศาลตาปู่แสลงโทน 2) กำแพงดิน 3) ต้นแสลง 4) ปูนา และ5) ลายขัด จึงนำอัตลักษณ์ชุมชนมาเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน จนได้ลวดลายที่เหมาะสมเพื่อเป็นต้นแบบกับ การทอผ้า จำนวน 5 ลาย ย้อมสีเส้นฝ้ายด้วยสีธรรมชาติจากพืชในท้องถิ่น ใช้เทคนิคการผสมสีให้เกิดสีหลากหลายเฉดสีให้สวยงามต่อการทอผ้า ออกแบบลายทอเสื่อกก จำนวน 5 ลายอัตลักษณ์ สีที่ใช้เป็นสีอัตลักษณ์ชุมชน การออกแบบผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าทอพื้นเมือง ใช้เทคนิคการวางแพทเทิร์นลายผ้าให้เหมาะสมกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าและเครื่องประกอบการแต่งกาย จำนวน 1 ชุด การออกแบบผลิตภัณฑ์จักสานเน้นความประณีต แข็งแรง และประโยชน์ใช้สอย จำนวน 5 ชนิด และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยการสร้างแบรนด์ ประกอบด้วยตราสินค้า ป้ายห้อยสินค้า และบรรจุภัณฑ์ เน้นสัญลักษณ์ความเป็นอัตลักษณ์ชุมชน ทั้งรูปลักษณ์ และสี เป็นกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน และผลการประเมินความพึงพอใจในที่มีต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นชุมชนตำบลแสลงโทน จากผู้บริโภค และบุคคลทั่วไป จำนวน 50 คน พบว่า มีระดับความพึงพอใจในภาพรวมทุกต้นแบบผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยที่ (<img title="x\bar{}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?x\bar{}" />= 4.52, S.D.= 0.63)</p> อัษฎางค์ รอไธสง, ธัญรัศม์ ยุทธสานเสนีย์, สนิท พาราษฎร์, สินีนาฏ รามฤทธิ์, วิชัย เกษอรุณศรี Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journalfms-thaijo/article/view/270118 Sat, 06 Jul 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความไว้วางใจในแบรนด์ภิพัชรา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journalfms-thaijo/article/view/269612 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความไว้วางใจในแบรนด์<br />ภิพัชรา และศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความไว้วางใจในแบรนด์ภิพัชรา มีการใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามออนไลน์ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยมีค่าความเชื่อมั่นแต่ละตัวแปรอยู่ระหว่าง 0.746 ถึง 0.865 โดยเก็บรวบรวมจากกลุ่มผู้บริโภคที่รู้จักและมีความสนใจในแบรนด์ภิพัชรา ทั้งเพศชายและเพศหญิง จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 400 คน ทำการสุ่มแบบสะดวก การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient) โดยงานวิจัยในครั้งนี้ได้พบว่า การศึกษาปัจจัยด้านภาพลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Image) (<img title="\beta" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\beta" />= 0.137) ด้านความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสินค้า (Product Uniqueness) (<img title="\beta" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\beta" />= 0.143) ด้านการตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Awareness) (<img title="\beta" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\beta" />= 0.137) และด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) (<img title="\beta" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\beta" />= 0.497) มีอิทธิพลต่อความไว้วางใจในแบรนด์<br />ภิพัชรา ในขณะที่ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมกับแฟชั่น (Fashion Involvement) (<img title="\beta" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\beta" />= -0.038) ไม่มีอิทธิพลต่อความไว้วางใจในแบรนด์ภิพัชรา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> นิโลบล ชวนาพิทักษ์, ปิยธิดา เจ๊ะหมัด, อนุรักษ์ ศิลปวิสุทธิ์, สาธิตา ชัยพรพิศุทธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journalfms-thaijo/article/view/269612 Wed, 24 Jul 2024 00:00:00 +0700 การบูรณาการทักษะดนตรีพื้นบ้านโดยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฉลิมพระเกียรติฯ บ้านโรงเลื่อย จังหวัดบุรีรัมย์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journalfms-thaijo/article/view/270481 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาด้านทักษะดนตรีพื้นบ้าน 2) พัฒนาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะดนตรีพื้นบ้าน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังใช้ชุดฝึกทักษะดนตรี และ 4) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อชุดฝึกทักษะดนตรีพื้นบ้าน โดยเป็นการวิจัยแบบผสม เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฉลิมพระเกียรติฯ บ้านโรงเลื่อย จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบทักษะดนตรีพื้นบ้านก่อนเรียนและหลังเรียน ชุดฝึกทักษะดนตรีพื้นบ้าน ประเมินทักษะการปฏิบัติดนตรีพื้นบ้าน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อชุดฝึกทักษะดนตรีพื้นบ้าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการตรวจสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีการเรียนทักษะด้านดนตรีบ้างในรายวิชาดนตรี โดยเรียนเพียงแค่เนื้อหาพื้นฐานยังไม่ได้มีการฝึกปฏิบัติ เนื่องจากเครื่องมือและอุปกรณ์ทางด้านดนตรียังมีได้เพียงพอ 2) ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะดนตรีพื้นบ้านโดยการเรียนรู้แบบ มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตเท่ากับ 76.25/88.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75 3) ผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อชุดฝึกทักษะโดยรวมอยู่ในระดับมากและเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านการวัดผลประเมินผล ด้านครูผู้สอน และด้านกิจกรรมการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านสื่อในการจัดการเรียน ด้านชุดฝึกทักษะดนตรีพื้นบ้าน และด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมาก</p> เอกชัย ธีรภัคสิริ, พนาสินธุ์ ศรีวิเศษ, วีระยุทธ สุทโธ Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journalfms-thaijo/article/view/270481 Wed, 24 Jul 2024 00:00:00 +0700