รูปแบบกิจกรรมศิลปะสำหรับการเสริมสร้างการรู้รักสามัคคีของกลุ่มการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหนองบัว อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย

Main Article Content

ไทยโรจน์ พวงมณี
ณศิริ ศิริพริมา
พชรมณ ใจงามดี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และสภาพการรู้รักสามัคคีของกลุ่มการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหนองบัว อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย 2) ศึกษารูปแบบกิจกรรมศิลปะสำหรับการเสริมสร้างการรู้รักสามัคคี ประกอบด้วย ความโอบอ้อมอารีและมีน้ำใจ การให้อภัย ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน รู้รักสามัคคีต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และความร่วมมือร่วมใจ ของสมาชิกในกลุ่มการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหนองบัว อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย ผู้เข้าร่วมวิจัย ได้แก่ สมาชิกกลุ่มการจัดการท่องเที่ยว กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทนชาวบ้าน ปราชญ์ท้องถิ่น นักเรียน จากบ้านหนองบัว ตลอดจน นักวิชาการด้านศิลปะและวัฒนธรรม รวมจำนวนทั้งสิ้น 71 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม แบบประเมินเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยการใช้โปรแกรม Microsoft Excel หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหนองบัว จดทะเบียน เมื่อปี พ.ศ. 2559 มีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาหนุนเสริม มีสมาชิกจำนวน 35 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการท่องเที่ยวรูปแบบเชิงวิถีชีวิตและวัฒนธรรม 2) การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรมศิลปะ ในการเสริมสร้างการรู้รักสามัคคีของผู้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า กิจกรรมดังกล่าวสามารถเสริมสร้างระดับการรู้รักสามัคคีในภาพรวมของผู้เข้าร่วมกิจกรรมในระดับมากที่สุด (M = 4.81; SD = .62)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กานดา แก้ววรรณ. (2560). รู้รักสามัคคีนำมาซึ่งความปรองดองสมานฉันท์. https://pr.prd.go.th/phichit/ewt_news.php?nid=5234&filename=index.

คณิต เขียววิชัย และวรรณภา แสงวัฒนะกุล. (2558). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมนันทนาการแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยใช้พิพิธภัณฑ์. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 7(2), 22-33. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/33228

ชญานิศ ต้นเทียน และวัฒนพันธุ์ ครุฑะเสน. (2565). กุศโลบายการใช้สื่อสร้างสรรค์ทางศิลปะเพื่อสร้างแรงจูงใจสำหรับเด็กสู่การเรียนรู้ส่งเสริมคุณธรรม.วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 42(1), 1-14. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/254804

ทิพวรรณ พฤฒากรณ์. (2562). การเสริมสร้างความสามัคคีในสังคมไทย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 2(3), 92-107. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/251282

ธนุพล ฉันทกูล, ชัญญา อุดมประมวล และแกล้วทนง สอนสังข์. (2566). การสร้างสรรค์ศิลปกรรมชุมชนเมืองสุราษฎร์ธานี. วารสารรัชตภาคย์, 17(51), 266-283. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/262636

นภาพร สุพงษ์. (2558). การมีส่วนร่วมของบุคลากรกับการขับเคลื่อนภารกิจด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 2(2), 159-179. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/146173

นุชประวีณ์ ลิขิตศรัณย์. (2562). ผลกระทบทางการท่องเที่ยวต่อชุมชนรอบบริเวณอุทยานแห่งชาติพุเตยจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 20(2), 139-150. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/spsc_journal/article/view/240461

พรทิพย์ วงศ์ไพบูลย์. (2560). การเรียนรู้เชิงรุกและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 8(2), 328-336. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/178540

พราว อรุณรังสีเวช, ปานแพร บุณยพุกกณะ, กฤษณะ เชื้อชัยนาท และนิติธร อุ่นพิพัฒน์. (2561). ศิลปิน และงานศิลปะสู่แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สื่อ. วารสารจันทรเกษมสาร, 24(46), 1-16. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/130927

พิเชษฐ สุนทรโชติ. (2558). การสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม. วารสารสวนดุสิตวิจัย, 12(2), 19-38. https://doi.nrct.go.th/ListDoi/Download/296328/2be1d17fd25225db704f70cc834eeaf9?Resolve_DOI=10.14456/sdu-human.2016.20

ลัคนา คำเจริญ และบัณฑิต เอื้ออาภรณ์. (2555). กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย. วารสารวิจัยพลังงาน, 9(1), 1-16. http://www.eri.chula.ac.th/eri-main/wp-1content/uploads/2013/08/2012-911.pdf

วิสูตร โพธิ์เงิน. (2561) . รูปแบบกิจกรรมศิลปะเด็กสร้างสรรค์: ความเป็นพลเมือง. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 16(1), 39-51. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/170604

ศุภชัย ศรีนวล, ประสิทธิ์ ตึกขาว, ทัศนีย์ แถมยิ้ม และสุทธภพ ศรีอักขรกุล. (2566). การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมและผลการพัฒนาทักษะทางศิลปกรรมของนักเรียนผ่านงานสร้างสรรค์ทางศิลปกรรม ชุด 1 ทศวรรษสาธิตองครักษ์รวมใจ. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา, 5(1), 52-69. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/258724

ศุภมาส แหวนวิเศษ และเจริญชัย เอกมาไพศาล. (2560). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนต้นแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาตำบลน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด. วารสารธรรมศาสตร์, 36(1), 68-95. http://tujournals.tu.ac.th/thammasatjournal/detailart.aspx?ArticleID=1875

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ม.ป.ป.). รู้ รัก สามัคคี. https://www.rdpb.go.th/th/King/หลักการทรงงาน-c24/๔-รู้-รัก-สามัคคี-v9188

สุนทร อาจนิยม, บรรจง ลาวะลี และอดิศักดิ์ ทุมอนันต์. (2561). การประยุกต์หลักสามัคคีธรรมเพื่อสร้างความปรองดองของประชาชนในภาคอีสานตอนกลาง. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 5(2 ), 153-162. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/146173

สุปรียา ไผ่ล้อม. (2562).รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเมืองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2(5), 96-111. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/242362

สุริยะ ฉายะเจริญ. (2558). กระบวนการสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรม: กรณีศึกษาจิตรกรรมร่วมสมัยนิทรรศการ “อิทส์มี”. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 14(18), 43-51. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/commartsreviewsiamu/article/view/173708

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift Voor Onderwijsresearch, 2(2), 49–60.

Tay, L., Pawelski, J. O., & Keith, M. G. (2018). The role of the arts and humanities in human flourishing: A conceptual model. The Journal of Positive Psychology, 13(3), 215–225. https://doi.org/10.1080/17439760.2017.1279207

Vazquez-Marin, P., Cuadrado, F., & Lopez-Cobo, I. (2023). Connecting sustainable human development and positive psychology through the arts in education: A systematic review. Sustainability, 15(3), 2076. https://doi.org/10.3390/su15032076