การมีส่วนร่วมของบุคลากรกับการขับเคลื่อนภารกิจด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

Main Article Content

นภาพร สุพงษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของบุคลากรธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรกับการขับเคลื่อนภารกิจด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อศึกษาระดับการขับเคลื่อนภารกิจด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบุคลากรธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของบุคลากรกับการขับเคลื่อนภารกิจด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research )ได้กลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) แบ่งตามสายงานจากบุคลากรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจำนวน 335 คน เครื่องมือที่เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถามประมาณค่า ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ( Descriptive Statistics )และการวิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์โดยใช้สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) ผลการวิจัยพบว่าระดับการมีส่วนร่วมของบุคลากร 4 ด้าน ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด ระดับการขับเคลื่อนภารกิจด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ 7 ด้านได้แก่ การกำกับดูแลกิจการที่ดี การปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติด้านแรงงาน การดูแลสิ่งแวดล้อม การดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม การใส่ใจต่อผู้บริโภค และการพัฒนาและมีส่วนร่วมของชุมชนโดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แต่ละด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และการมีส่วนร่วมของบุคลากรมีความสัมพันธ์กับการขับเคลื่อนภารกิจด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จณิณ เอี่ยมสะอาด. (2550). รูปแบบและการสื่อสารการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจไทย.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
ณรงค์ วารีชล. (2550). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาเทศบาลสู่เมืองน่าอยู่ กรณีศึกษา: เทศบาลตาบลบางพระ อาเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี.ปัญหาพิเศษปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารทั่วไป,วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณัชชา วรรณวรางค์. (2555). การมีส่วนร่วมของพนักงานในการดาเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปรีดา เจษฎาวรางกูล. (2550). การมีส่วนร่วมของกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาลเมือคูคต อาเภอลาลูกกา จังหวัดปทุมธานี. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่นวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์ และคณะ . (2551). การพัฒนา CSR ในกระบวนการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจกรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย. ฝ่ายสวัสดิการสาธารณะ
นฤมล หาญเชิงชัย . (2544). การมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมของพนักงานธนาคาร : ศึกษาเฉพาะกรณีธนาคารในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คณะสังคมสงค์เคราะห์.สาขาบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม.
มยุรี ตันติยะวงศ์ษา. (2546). การมีส่วนร่วมของบุคลากรในโรงพยาบาลสงฆ์ในกิจกรรม 5 ส.วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไพรชล ตันอุด. (2552). การมีส่วนร่วมของผู้นำและประชาชนในการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งเมืองน่าอยู่ : กรณีศึกษาเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต .มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
หทัยรัตน์ วิชิตพรชัย. (2548). การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายในระดับคณะวิชาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ .กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Cohen, and Uphoff, Norman T. (1980). Participation’s Place in Rural Development: seeking clarity through specificity. World Development.