รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเมืองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

สุปรียา ไผ่ล้อม

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนารูปแบบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1). เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเมืองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 2). เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเมืองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3). เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเมืองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเมืองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3.2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อม ก่อนและหลัง ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเมืองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการจัดการสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 4). เพื่อประเมินรูปแบบการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเมืองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4แหล่งข้อมูลการศึกษาข้อมูลได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/6โรงเรียนเทศบาลสวนสนุก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) ครูวิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมโรงเรียนเทศบาลสวนสนุกจำนวน 10คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)และจัดทำร่วมโดยแบบการประชุมย่อยของครูจำนวน 3ครั้งตัวแทนชุมชนจำนวน 5 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)และจัดทำร่วมโดยแบบการประชุมย่อยร่วมกับตัวแทนชุมชนจำนวน 3ครั้งผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม จำนวน 5 ท่าน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 3 ครั้ง ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเมืองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทั้งในชั้นเรียนและในชุมชนเมืองพบว่า


1 นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในชั้นเรียน มีทักษะปฏิบัติกิจกรรมต่อเนื่อง ได้สม่ำเสมออยู่ในระดับดีมาก และการปฏิบัติในชุมชน มีทักษะปฏิบัติกิจกรรมมีความต่อเนื่องทุกครั้งอยู่ในระดับดีมาก ทักษะการคิดการตัดสินใจและการสังเกตนักเรียนทุกคนปฏิบัติกิจกรรม ได้สม่ำเสมอมีความต่อเนื่องทุกครั้งอยู่ในระดับดีมากและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้น จากก่อนเรียนการจัดกิจกรรม ที่ส่งเสริมความสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


2 นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีทักษะกระบวนการทางภูมิศาสตร์ขั้นพื้นฐานจำนวน 4 ทักษะ อยู่ในระดับสูง ทุกด้าน จากแบบบันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งในชั้นเรียนและในชุมชนที่ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สภาพจริง


3 นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง มีความสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อม สามารถกระทำและการแสดงออกเป็นการปฏิบัติได้พบว่าด้านการรู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและผลกระทบนักเรียนเข้าใจและสามารถบอกถึงเหตุผลต้นทางของปัญหาและสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เกิดขึ้นกับนักเรียนในสถานที่ที่เป็นแหล่งชุมชน โดยเกิดการเรียนรู้ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์ความรู้สึก และด้านทักษะทุกทักษะ ยกเว้นด้านการเรียบเรียงที่มีข้อมูลไม่สอดคล้องกับแบบทดสอบอื่นส่วนรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิผลตามเกณฑ์ เกิดการเรียนรู้ในแต่ละด้านอย่างมีเหตุมีผลในด้านการเข้าร่วมและการมีส่วนร่วมดูแลรักษาและพัฒนาสิ่งแวดล้อมนักเรียนทุกคนปฏิบัติได้และเข้าใจในสิ่งที่กระทำร่วมกัน พร้อมช่วยเหลือซึ่งกันและกันสม่ำเสมอ มีความต่อเนื่องทุกครั้งอยู่ในระดับดีสรุป โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


4. พบว่ารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิผลและความเหมาะสมและเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเมืองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยในภาพรวมมีค่าดัชนีความสอดคล้องเหมาะสม มีค่าเท่ากับ 1.00 ถือว่าอยู่ในระดับมากที่สุดและส่วนความคิดเห็นของตัวแทนชุมชนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเมืองเป็นฐาน พบว่ามีความเชื่อมโยงในการจัดกิจกรรม 3 ด้าน คือ 1. ด้านการวางแผน มีกำหนดแนวทางร่วมการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมความต้องการของชุมชน และนำเสนอปัญหาต่างๆและข้อจำกัดของกิจกรรม 2.ด้านการประสานงาน ให้ความร่วมมือในทุกด้าน อย่างเต็มความสามารถชองชุมชน พร้อมเป็นวิทยากรหรือปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการให้ความรู้แก่การจัดกิจกรรมตลอดการดำเนินงาน 3. ด้านการจัดหาทรัพยากร พร้อมให้การสนับสนุนในสิ่งของเครื่องมือประกอบการจัดกิจกรรม รวมถึงให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ สรุป โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและในส่วนความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเมืองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านตัวครูผู้สอน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านวัดและประเมินผลและด้านประโยชน์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article