บทบาท หน้าที่ และจริยธรรมของผู้แต่ง

ผู้แต่งในวารสารฉบับนี้ ประกอบด้วย

     1. ผู้ทรงคุณวุฒิ

หมายถึง ผู้ที่กองบรรณาธิการพิจารณา ว่ามีความรู้ ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ ความรู้ในด้านใดด้านหนึ่ง ที่สามารถใช้วิจารณญาณ ไตร่ตรอง วิเคราะห์ สังเคราะห์ เปรียบเทียบ เรื่องราวที่ครบถ้วนสมบูรณ์ เกิดข้อยุติหรือข้อสรุป ที่มีคุณค่า มีการใช้สำนวนกาษา การใช้คำคัพท์เฉพาะ  ศัพท์บัญญัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับเรื่องราว หรือคำอธิบาย และเป็นผู้มีจริยธรรม จิตสํานึก รับผิดชอบต่อการเขียนทางวิชาการ ซึ่งได้รับเชิญจากกองบรรณาธิการเพื่อให้ความอนุเคราะห์ ผลงาน นำมาตีพิมพ์เผยแพร่เป็นวิทยาทานแก่ผู้อ่าน

     2. นักวิชาการ ครู อาจารย์ บุคลากร ทางการศีกษา และนิสิต นักศีกษา

หมายถึง ผู้แต่งที่มีความสนใจ เสนองานเขียน ผลงานที่เป็นความรู้ในสาขาวิชาชีพ ที่ได้มีการศึกษา ค้นคว้า หรือทําการวิจัยมาอย่างลึกชึ้ง ทั้งเอกสาร ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ การนําข้อมูลมาศึกษาเปรียบเทียบ วิเคราะห์ สังเคราะห์ แปลผล ประมวลผลได้ข้อสรุป ได้แนวความคิด แล้วเขียนเรื่องราวจากข้อมูลที่ถูกต้อง สมบูรณ์ ครบถ้วน ด้วยสำนวนภาษาที่เป็นทางการเสนอต่อกองบรรณาธิการเพื่อพิจารณานำออกตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร

จรรยาบรรณ และหลักเกณฑ์การปฏิบัติสําหรับผู้แต่ง

     1. ต้องรับรองได้ว่าผลงานที่เสนอต่อกองบรรณาธิการ เพื่อตีพิมพ์เป็นผลงานที่เขียนขึ้นใหม่ และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมา ก่อน

     2. ต้องเสนอข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะเป็นจากการค้นคว้า หรือการคึกษาผลการวิจัยที่มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ โดยสาระและความคิดเห็นที่ปรากฎในผลงานเขียนทั้งหมดถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน และคณะ (ถ้ามี)

     3. ไม่ละเมิดสิทธิ หรือคัดลอกผลงานของผู้อื่น และต้องมีการอ้างอิงผลงานผู้อื่นที่ได้มีการนำมาประกอบเนื้อหาในผลงานของตนเองตามข้อกําหนดของกองบรรณาธิการอย่างถูกต้องสมบูรณ์

     4. ต้องท่าการจัดรูปแบบของผลงานตามที่วารสารกําหนดไว้ให้ถูกต้อง

     5. หากมีชื่อผู้ร่วมเขียนผลงานหลายคน ทุกคนจะต้องมีส่วนในการค่าเนินการในผลงานชิ้นนั้น ๆ และรับผิดชอบ ร่วมกับผลงานเรื่องนั้น ๆ และรับผิดชอบร่วมกันทุกกรณี

     6. ลิขสิทธิ์ของผลงานที่น่าออกตีพิมพ์ให้ตกแก่วารสารฉบับนี้ และต้องไม่นำผลงานไปตีพิมพ์ เผยแพร่กับแหล่งอื่น ๆ โดยเด็ดขาด

     7. หากมีการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ทดลอง จะต้องแนบหนังสือรับรองที่ได้รับอนุญาตให้ทำการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ทดลอง จากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ หรือคณะกรรมการพิจารณา จริยธรรมการใช้สัตว์ทดลองด้วย

บทบาทหน้าที่และจริยธรรมของบรรณาธิการ

     1. พิจารณาและตรวจสอบผลงานที่มีผู้เสนอ เพื่อรับการตีพิมพ์ โดยต้องพิจารณาว่ามีเนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เป้าหมายและขอบเขตของวารสาร รวมถึงการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของผลงานที่จะนำออกพิมพ์แต่ละฉบับ

     2. พิจารณาผลงานทุกเรื่องตามหลักวิชาการ และจริยธรรม โดยปราศจากอคติและความเห็น ส่วนตัว

     3. ต้องจัดให้มีการแจ้งให้ผู้แต่งทราบและเข้าใจในกฎ กติกาในการนําเสนอผลงานในประเด็นต่าง ๆ

     4. รักษาความลับที่เป็นข้อมูลของเจ้าของ ผลงานและผู้ประเมินอย่างเคร่งครัด

     5. พิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่เฉพาะบทความที่ผ่านกระบวนการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้วเป็นสําคัญ

     6. ไม่รับผลประโยชน์ใด ๆ ที่อาจทําได้จากการพิจารณาผลงานให้ได้รับการตีพิมพ์

     7. มีการตรวจสอบผลงานถึงการละเมิด หรือการคัดลอกผลงานผู้อื่นอย่างเคร่งครัด และไม่รับพิจารณาผลงานที่มีการละเมิดสิทธิหรือคัดลอกผลงานผู้อื่น และพร้อม “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์ผลงานนั้น ๆ ทันที

     8. จะต้องไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหา ประเด็น สาระสําคัญของผลงาน และผลประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ

     9. การตอบรับ หรือปฏิเสธการตีพิมพ์ ถือว่าเป็นที่สิ้นสุด ยกเว้นตรวจพบข้อพิสูจน์ หรือปัญหา อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่อาจทําให้กลับคําตัดสินให้ถือเป็นดุลยพินิจของบรรณาธิการ

บทบาท และจริยธรรม ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ

     1. เป็นผู้พิจารณาคุณภาพบทความ ภายใต้หลักการและเหตุผลทางวิชาการโดยปราศจากอคติ หรือความคิดเห็นส่วนตัว และต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียน

     2. ไม่เปิดเผยข้อมูลของผลงานที่รับการประเมิน

     3. ปฏิเสธการประเมินผลงานที่อาจมีส่วนได้ ส่วนเสีย หรือมีทัศนคติ เหตุผลอื่น ๆ ที่ทําให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็น และ ข้อเสนอแนะอย่างอิสระใต้ต่อผลงานชิ้นนั้น ๆ

     4. ตอบรับการประเมินเฉพาะในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ ตระหนักว่าตนเองมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของผลงานวิชาการที่รับประเมินอย่างแท้จริง และต้องพิจารณาความสําคัญของเนื้อหาในผลงาน ที่จะมีต่อสาขาวิชานั้น ๆ เกี่ยวกับคุณภาพ โดยปราศจากการใช้ความคิด เห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินผลงาน

     5. ต้องรักษาระยะเวลาประเมินตามกรอบเวลาประเมินที่กําหนดอย่างเหมาะสม