การสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกลยุทธ์ Modeled Talk เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา)

Main Article Content

อับดุลรอพา สาแล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาคุณภาพกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกลยุทธ์ Modeled Talk เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมีคุณภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกลยุทธ์ Modeled Talk 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกลยุทธ์ Modeled Talk เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนศิลปศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา) ที่เรียนวิชา อ 32208 ภาษาอังกฤษฟัง-พูด ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผน การจัดการเรียนรู้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกลยุทธ์ Modeled Talk ที่เป็นเนื้อหา Procedure Text จำนวน 10 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารก่อนและหลังเรียนเป็นฉบับเดียวกัน 3) แบบสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกลยุทธ์ Modeled Talk 4) แบบสัมภาษณ์การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกลยุทธ์ Modeled Talk 5) แบบสอบถาม
ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกลยุทธ์ Modeled Talk ระยะเวลาการวิจัย จำนวน 24 ชั่วโมง
 
ผลการวิจัยดังนี้ 1) กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกลยุทธ์ Modeled Talk เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมีประสิทธิภาพ 79.75/83.75 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 ตามที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนมีความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกลยุทธ์ Modeled Talk สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกลยุทธ์ Modeled Talk เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก (คะแนนเฉลี่ย = 4.13 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.88)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Aslamiyah, S. (2019). The Effect of Modeled Talk Strategy In Teaching Vocabulary at Kindergarten Students (An Experimental Study at Al Insani Kindergarten). Universitas Pamulang, Tangerang Selatan. Indonesia.

Chukampaeng, C. (2010). Curriculum and Instruction Research. Mahasarakham University. [In Thai]

Firman, E. (2022). The Use of Modeled Talk toward Students’ Motivation and Vocabulary. SMPN 1 Sakra Barat. Indonesia.

Herrell, A. (1999). Modeling Talk to Support Comprehension in Young Children. Kindergarten Education: Research, Theory, and Practice. 3, 29-42.

Malikah, S.(2017). An Analysis of the Use of Modeled Talk Technique in Apeaking Class in the Seventh Grade in SMPN2 Dawarblandong, Mojokerto. [Bachelor’s thesis, University of Muhammadiyah Malang].

Office of the Basic Education Commission. (2014). Guidelines According to the Announcement of the Ministry of Education on the English Language Teaching Reform Policy. https://eqa.snru.ac.th/th/guideline-cefr [In Thai]

Post Today. (2019). EF English Language Skills Ranking Index. www.posttoday.com [In Thai]

Richards, C. & Rodgers, S. (2002). Approaches and Methods in Language Teaching. (2nd ed). Cambridge University Press.

Tookjit, L. (2016). English Communicative Strategies in Classroom of Thai Students and Foreign Teachers in University of Phayao. [Independence Study, University of Phayao]. [In Thai]