ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการเรียนรู้โดยใช้กีฬาเป็นฐาน สำหรับเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดน

Main Article Content

สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์
วรินทร บุญยิ่ง
ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการเรียนรู้โดยใช้กีฬาเป็นฐาน สำหรับเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและแบ่งการวิจัย ออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพและบริบทของการจัดการเรียนรู้โดยใช้กีฬาเป็นฐาน โดยใช้โครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบ
การศึกษาจังหวัดชายแดนใต้เป็นกรณีศึกษา ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร การจัดสนทนากลุ่ม จำนวน 15 คน และการสังเกต ระยะที่ 2 พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายฯ โดยนำข้อมูลจากการวิเคราะห์นโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และผลการวิเคราะห์สภาพและบริบทในการจัดการเรียนรู้ ในระยะที่ 1 เพื่อยกร่างเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายฯ และระยะที่ 3 ประเมินผลข้อเสนอเชิงนโยบายฯ โดยใช้แบบประเมินสอบถามความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายฯ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) นโยบาย: จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชาติผ่านกระบวนการทางการกีฬาเพื่อนำไปสู่การศึกษาต่อและการมีงานทำของเยาวชนตามแนวชายแดน 2) โครงการเชิงนโยบาย: โครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดน 3) วัตถุประสงค์ 4) กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่: พื้นที่จังหวัดชายแดนและจังหวัดชายแดนภาคใต้ (รวมจังหวัดปัตตานี) 5) กลไกและมาตรการ มี 3 ระดับ คือ ระดับนโยบาย ระดับการบูรณาการและการขับเคลื่อนนโยบาย และระดับปฏิบัติการ และ 6) การประเมินผลเชิงนโยบาย มี 4 ด้าน คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลลัพธ์ และผลกระทบในส่วนของผลการประเมินข้อเสนอเชิงนโยบายในด้านความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการนำไปปฏิบัติใช้อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anumarnrajathon, M. (2006). Public policy. Bangkok: Expernet. [in Thai]

Buathong, S. (2017). Measurement and assessment of learning skills in the 21st century. Veridian E-Journal Silpakorn Universit, 10(2), 1856 – 1867. [in Thai]

Coakley, J. (2011). Youth sports: What counts as “positive development”. Journal of Sport and Social Issues, 35(3), 306-324.

Dror, Y. (1973). Public policymaking reexamined. Bedfordshire: Leonard Hill Books. Education Reform Commission. (2021). Country reform plan: Education (revised edition). Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Council. [in Thai]

Ministry of Education. (2017). Education development planin border areas (2017-2021). Bangkok: Office of the Permanent Secretary, Ministry of Education. [in Thai]

Office of the National Economic and Social Development Council. (2018). National strategy 2018–2037. Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Council. [in Thai]

Office of the National Security Council. (2020). Area Development Plan for National Security Enhancement (2018-2022). Bangkok: Publisher of the Cabinet and the Royal Gacette. [in Thai]

Provincial Coordination and Administrational Education Center in Southern Border Provinces. (2018). Development of educational quality in the southern border provinces. Pattani: Provincial Coordination and Administrational Education Center in Southern Border Provinces, Ministry of Education. [in Thai]

Purkey, W.W., & Novak, J.M. (2008). Fundamentals of invitational education. U.S.A.: The International Alliance for Invitational Education.

United Nation. (2015). The sustainable development goals in Thailand. United Nation Thailand. https://thailand.un.org/en/sdgs.

United Nation. (2019). Leaving no one behind: A UNSDG operational guide for UN country teams. UN Sustainable Development Group. https://unsdg.un.org/resources/leaving-no-one-behindunsdg-operational-guide-un-country-teams.

Yawaprapat, S. (2007). Public policy. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]