พฤติกรรมการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล ของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรสายสนับสนุนและเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการทำงานบนพื้นฐานหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามบุคลากรสายสนับสนุนที่สังกัดวิทยาเขตปัตตานี หาดใหญ่ ตรัง ภูเก็ต และสุราษฎร์ธานี
ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลอยู่ในระดับมากทุกด้าน ดังนี้ 1) ด้านหลักนิติธรรมคือรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ปฏิบัติงานโดยยึดระเบียบบริหารของหน่วยงานและปฏิบัติงานโดยให้ความเสมอภาคต่อผู้รับบริการ 2) ด้านหลักคุณธรรมคือปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่ มีความวิริยะอุตสาหะในงานที่ตนรับผิดชอบและมีน้ำใจช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้ร่วมงาน 3) ด้านหลักความโปร่งใสคือรู้สิทธิและขอบเขตหน้าที่ของตนในการปฏิบัติงาน ขณะปฏิบัติงานมีการให้อภัยและให้โอกาสผู้อื่นเสมอในการปฏิบัติงานร่วมกันกับผู้อื่น และรับผิดชอบต่อวัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานของทางมหาวิทยาลัย 4) ด้านหลักการมีส่วนร่วมคือรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงานและนักศึกษาอย่างมีจิตเมตตา สามารถปรับตัวในการทำงานที่ได้รับมอบหมายได้ดี และใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาอย่างสมเหตุสมผลในการปฏิบัติงาน 5) ด้านหลักความรับผิดชอบคือสามารถปฏิบัติงานตามสายการบังคับบัญชาที่ถูกกำหนดไว้ชัดเจน รายงานผลการปฏิบัติงานให้ผู้บังคับบัญชารับทราบเสมอ และเมื่อพบปัญหาในการปฏิบัติงานสามารถชี้แจงปัญหาและหาแนวทางแก้ไขได้ 6) ด้านหลักความคุ้มค่าคือใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถใช้วัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานได้คุ้มค่า และได้ทบทวนการปฏิบัติงานแล้วนำผลมาปรับปรุงในการปฏิบัติงานครั้งต่อไปพฤติกรรมการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์โดยภาพรวมทั้ง 6 ด้าน ไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2547). Good Governance กับการปฏิรูปการศึกษา – การปฏิรูปการเมือง. กรุงเทพฯ: ม.ร.พ.
ณดา จันทร์สม. (2559). ธรรมาภิบาลกับการบริหารสถาบันอุดมศึกษาไทย โครงการภายใต้แผนงานวิจัย “การเปลี่ยนแปลงอุดมศึกษาไทย: ปัญหาและความท้าทาย” วารสารพัฒนาการเศรษฐกิจปริทรรศน์,
13(1).
นิกร นวโชติรส. (2550). การบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
นิศากร ช่างสุวรรณ. (2554) รายงานการวิจัยการใช้ธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลตามทัศนะของบุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ประสิทธิ์ วัฒนาภา. (2562). หลักนิติธรรมและการบริหารสถาบันอุดมศึกษาในกํากับของรัฐบาล. นครปฐม: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระยุทธนา ชุดทองม้วน. (2550). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). กระแสคน กระแสโลก. กรุงเทพฯ: งานการสื่อสารองค์กร
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2543). การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี (Good Governance). รายงานประจำปี 2541-2543. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2561). ระบบบริหารราชการของราชอาณาจักรไทย โครงการสื่อการเรียนรู้อาเซียนกูรู. นนทบุรี: กรกนกการพิมพ์.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2546). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นเรื่องการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา : โครงสร้าง อำนาจหน้าที่และทิศทางอุดมศึกษาไทยในอนาคตครั้งที่ 3. อนุสารอุดมศึกษา, 44(482), 24-28.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2547). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2546-พ.ศ. 2550). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. สืบค้นจาก http://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20171122-prince-of-songkla-university.pdf สืบค้นจากเว็บไซด์ http://clpd.psu.ac.th/