ผลของการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกแบบ CAS ที่มีต่อ ทักษะการเคลื่อนที่ในกีฬาฟุตบอลของเยาวชน

Main Article Content

อัซฟาร์ ไทยสนิท
ถาวรินทร รักษ์บำรุง
นัทธี บุญจันทร์
นพดล นิ่มสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการเปลี่ยนแปลงทักษะการเคลื่อนที่ในกีฬาฟุตบอลของเยาวชนก่อนและหลังการฝึกเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ด้วยโปรแกรมการฝึกแบบ CAS (Co-ordination Agility and Speed) กลุ่มตัวอย่างคือ เยาวชนที่เป็นนักกีฬาฟุตบอลของโรงเรียนมัธยมสุไหงปาดี จำนวน 30 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 15 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการฝึกแบบ CAS เป็นโปรแกรมการฝึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาเพื่อพัฒนาทักษะการเคลื่อนที่ในกีฬาฟุตบอล 2) แบบทดสอบทักษะการเคลื่อนที่ในกีฬาฟุตบอล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้สถิติ t-test Dependent Variable, t-test Independent Variable และเปรียบเทียบความแตกต่างแต่ละคู่โดยใช้สถิติ Effect size ผลการศึกษาพบว่า ทักษะการเคลื่อนที่ในกีฬาฟุตบอลของกลุ่มควบคุมที่ฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกแบบปกติภายหลังการฝึกเป็นเวลา 8 สัปดาห์ มีค่าเฉลี่ยของทักษะการเคลื่อนที่ในกีฬาฟุตบอลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อยู่ 6 ทักษะจาก 8 ทักษะ ในขณะที่กลุ่มทดลองที่ฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกแบบ CAS พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ระดับ .05 ทุกรายการทดสอบ เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยทักษะการเคลื่อนที่ในกีฬาฟุตบอลระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลองก่อนและหลังการฝึก 8 สัปดาห์ พบว่า ค่าเฉลี่ยทักษะการเคลื่อนที่ในกีฬาฟุตบอลระหว่างกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองที่ฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกแบบ CAS มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ระดับ .05 ยกเว้นรายการเลี้ยงลูกฟุตบอลโดยมีการเคลื่อนที่เร่งความเร็ว ที่ไม่พบความแตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจริญ กระบวนรัตน์. (2545). หลักการและเทคนิคการฝึกกรีฑา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประโยค สุทธิสง่า. (2541). การบริหารเชิงกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศ ของโค้ชฟุตบอล. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วิธวรรธน์ สีชื่น. (2553). ผลของโปรแกรมการฝึกความเร็วในการวิ่งขึ้นเนินและวิ่งลงเนินที่มีต่อความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตบอลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สารัช ดีงาม. (2554). ผลของการฝึกเอส เอ คิวที่มีต่อความสามารถในกีฬาฟุตซอล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Bompa , T. O. & Haff, G. G. (2009). Periodization: Theory and Methodology of Training. (5th ed). Champaign, IL: Human Kinetics.

Jovanovic, M., Sporis, G., Omrcen, D., & Fiorentini, F. (2011). Effects of speed, agility, quickness training method on power performance in elite soccer players. Journal of Strength
and Conditioning Research, 25(5), 1285 – 1292.

Johnson, B. L., & Nelson, J. K. (1986). Practical measurements for evaluation in physical Education. (4th ed.). Minneapolis, MN: Burgess.