แนวทางการส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน: รากฐานแห่งการพัฒนาคน

Main Article Content

นัฐพล ปันสกุล

บทคัดย่อ

การส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนมีความสำคัญ เพราะเด็กวัยเรียนใช้เวลาอยู่ในโรงเรียนมากถึง 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ในยุคที่ก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัลส่งผลให้รูปแบบการดำเนินชีวิตของเด็กวัยเรียนเปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพมากขึ้น การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนและบุคลากรในโรงเรียนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้เด็กวัยเรียนเป็นผู้มีสภาวะสุขภาพทางกาย ทางจิตใจ ทางจิตวิญญาณ และทางสังคมที่ดี นำไปสู่ความสามารถในการศึกษาเล่าเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มโอกาสให้เด็กวัยเรียนมีความรอบรู้เรื่องสุขภาพอนามัย ทัศนคติ และทักษะการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมในการดำเนินชีวิตอย่างมีภาวะสุขภาพดีในปัจจุบันและอนาคต หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน มีการพัฒนาให้ครอบคลุมทุกมิติด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของ ทุกภาคส่วนทั้งในโรงเรียนและชุมชน ให้สามารถนำความรู้และทักษะด้านสุขภาพมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การดูแลสุขภาพตนเองและผู้อื่น การตัดสินใจในการควบคุมสภาวการณ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ สมาชิกในชุมชนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาดและปลอดภัย เพื่อบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบของการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนควรมีจุดเน้นในแต่ละองค์ประกอบแตกต่างกันตามบริบทของพื้นที่และบริบทของโรงเรียน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2561). โรคสมาธิสั้น โรคซึมเศร้า เด็กดื้อ โรคดื้อต่อต้าน. สืบค้นจาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id =27676

กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการ. (2545). เกณฑ์มาตรฐานการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กัลยาณี โนอินทร์. (2560). ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในวัยเรียนและวัยรุ่นไทย. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(ฉบับพิเศษ), 1-8.

จินตนา สรายุทธพิทักษ์. (2557). โปรแกรมสุขภาพในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัชนันท์ ชีวานนท์. (2559). อุบัติเหตุในเด็ก: สถานการณ์ และแนวทางการป้องกัน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(3), 1-12.

นัฐพล ปันสกุล และศุภกาญจน์ แก่นท้าว. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนและภาวะสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่ง. วารสาร มฉก.วิชาการ, 23(2), 279-291.

ประกาย จิโรจน์กุล. (2556). แนวคิด ทฤษฎีการสร้างเสริมสุขภาพ และการนำมาใช้. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการ สถาบันพระบรมราชชนนี.

ปราลีณา ทองศรี และอารยา เชียงของ. (2561). บทบาทพยาบาลอนามัยชุมชนในงานอนามัยโรงเรียน. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 32(2), 203-221.

วรภาคย์ ไมตรีพันธ์. (2562). จากกระบวนทัศน์ใหม่ภาวะผู้นำ สู่บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนแล้วชุมชน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 30(3), 17-29.

วราภรณ์ บุญเชียง. (2558). อนามัยโรงเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). คู่มือการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เลี้ยงเด็ก. กรุงเทพฯ: บริษัท อาร์ต ควอลิไฟท์ จำกัด.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพ: บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560ก). คู่มือการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560ข). แนวทางการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคเด็กวัยเรียนและเยาวชน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพ: สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี และศรีเสาวลักษณ์ อุ่นพรมมี. (2556). พัฒนาการสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.

สุรีรัตน์ รงเรือง และสมเกียรติ สุขนันตพงศ์. (2554). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 17(1), 109-123.

สุวณีย์ ศรีวรมย์, ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร และวาโร เพ็งสวัสดิ์. (2555). สภาพและปัญหาการดำเนินการเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอุบัติเหตุของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในจังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 2(2), 68-75.

อมรศรี ฉายศรี, สุปาณี เสนาดิสัย และวันทนา มณีวงศ์กูล. (2554). การมีส่วนร่วมของโรงเรียน ผู้ปกครอง ศูนย์สุขภาพชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน: กรณีศึกษา. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 17(3), 506-519.

อรพรรณ อ่อนจรม, นิธิเจน กิตติรัชกุล, ดนัย ชินคำ, นัยนา ประดิษฐ์สิทธิกร, ยศ ตีระวัฒนานนท์ และศรีเพ็ญ ตันติเวสส. (2561). การศึกษาทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับให้บริการอนามัยโรงเรียนระดับประถมศึกษาในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(3), 456-468.

อรวรรณ น้อยวัฒน์. (2558). เอกสารการสอนชุดวิชาการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค (หน่วยที่ 10). (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อรอุมา โภคสมบัติ, กิตติ ลาภสมบัติศิริ และชนกานต์ ด่านวนกิจเจริญ. (2561). สถานการณ์ภาวะสุขภาพนักเรียนในประเทศไทย พ.ศ. 2558. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 12(27), 23-42.

อริยา คูหา, สรินฎา ปุติ และฮานานมูฮิบบะตุดดีน นอจิ. (2562). โลกที่เปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ที่ผ่านสู่ Active Learning. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 30(2), 1-13.

Allensworth, D., Lawson, E., Nicholson, L., & Wyche, J. (1997). Schools and health. Washington D.C.: National Academies Press.

Dryfoos, J. G. (1994). Full-Service Schools: A Revolution in Health and Social Services for Children, Youth, and Families. San Francisco, Calif: Jossey-Bass Publishers.

Karnik, S., & Kanekar, A. (2012). Childhood obesity: a global public health crisis. International journal of preventive medicine, 3(1), 1-7.

Pulgarón, E. R. (2013). Childhood obesity: a review of increased risk for physical and psychological comorbidities. Clinical therapeutics, 35(1), A18-A32.

World Health Organization. (2017). Health promoting school. Retrieved from https://www.who.int/healthpromotion/publications/health-promotion-school/en/