การศึกษาผลของโครงงานแบบสะเต็มที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนและความเชื่อของครูและนักเรียนที่ว่าโครงงานแบบสะเต็มสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้ในโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาในภาคใต้

Main Article Content

บุญญิสา แซ่หล่อ
วาสนา บุญแสวง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของโครงงานแบบสะเต็มต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 2) ศึกษาความเชื่อของนักเรียนที่ว่าโครงงานแบบสะเต็มสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้ภายหลังการทำโครงงาน 3) ศึกษาความเชื่อของครูที่ว่าโครงงานแบบสะเต็มสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนได้ภายหลังการทำโครงงาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ 1) ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ที่อาสาสมัครเข้าร่วมโครงการวิจัยจาก 5 โรงเรียนจำนวน 6 คน โดยจะได้รับการอบรมเกี่ยวกับโครงงานแบบสะเต็มก่อนที่จะไปทดลองกับนักเรียน การทดลองใช้เวลา 1 เดือน 2) นักเรียนจากโรงเรียน 5 โรงเรียนในภาคใต้ จำนวน 146 คน การทดลองใช้เวลา 1 เดือน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดของ Torrance (Torrance’s creative thinking test) แบบสัมภาษณ์ความเชื่อของนักเรียน และแบบสอบถามความเชื่อของครู (google form)
ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังทำโครงงานแบบสะเต็มนักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นที่ระดับนัยสำคัญ .01 เมื่อเทียบกับก่อนการทำโครงงาน ผลการสัมภาษณ์นักเรียน พบว่า นักเรียน 72.22% (13 คนจาก 18 คน) เชื่อว่าการทำโครงงานแบบสะเต็มสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของพวกเขาได้ และผลจากที่ให้ครูทำแบบสอบถามผ่าน google form พบว่า 100% ของครูทั้งหมด ยืนยันว่าโครงงานแบบสะเต็มสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนได้ โดยมีรายละเอียดคือ 40% เห็นด้วยอย่างยิ่ง 20% เห็นด้วย ส่วนอีก 40% เห็นด้วยในระดับปานกลาง และไม่มีใครที่ไม่เห็นด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย