การบูรณาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เพื่อพัฒนานวัตกรรมสื่อ โครงการชุมชนท่องเที่ยวโอท้อปนวัตวิถี บ้านวังยาว ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ก่อเกียรติ ขวัญสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพของนวัตกรรมสื่อที่พัฒนาขึ้นจากการการบูรณาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนานวัตกรรม 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจของประชากรในชุมชนที่มีต่อการกระบวนการทำงานร่วมกันกับนิสิต และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการบูรณาการการเรียนรู้ด้วยกระบวนการดังกล่าว ซึ่งเป็นการนำกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) ของ Stanford d. School. ไปใช้เพื่อบูรณาการจัดการเรียนรู้กับนิสิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 39 คน ที่เรียนรายวิชา “1 หลักสูตร 1 ชุมชน” ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ในการพัฒนานวัตกรรมสื่อโครงการชุมชนท่องเที่ยวโอท้อปนวัตวิถี บ้านวังยาว ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยผลการศึกษา สรุปผลดังนี้ 1) ได้นวัตกรรมสื่อโครงการชุมชนท่องเที่ยวโอท้อปนวัตวิถี นำเสนอผ่านสื่อสังคม เพจเฟสบุ๊ค ชื่อ โอท้อปนวัตวิถีของดีตำบลเกิ้ง ที่ได้ศึกษาระดับคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}=4.03, S.D.=0.77) 2) ผลสำรวจระดับความพึงพอใจของประชากรในชุมชนที่มีต่อการบูรณาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ เพื่อพัฒนาสื่อนวัตกรรมที่ต้องการ มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (µ =4.31, gif.latex?\sigma=0.65) 3) ผลสำรวจความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการบูรณาการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ เพื่อพัฒนาสื่อนวัตกรรม มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.17, S.D.=0.67)

Article Details

บท
บทความวิจัย