การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงลักษณะการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 3) ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 900 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ใช้แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.83 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) ผลการวิจัยพบว่า การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ( =4.36, S.D.=0.41) ตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ภาวะผู้นำการเรียนรู้ร่วมกัน ( = 4.52, S.D. = 0.41) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมี 6 องค์ประกอบ คือ ด้านภาวะผู้นำการเรียนรู้ร่วมกัน การสร้างด้านค่านิยมและวิสัยทัศน์ร่วมกัน ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน ด้านชุมชนกัลยาณมิตร ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคคล และการสะท้อนผลการปฏิบัติงานเมื่อพิจารณาค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนประกอบด้วย =0.12, df = 2, P-value =0.94, RMSEA = 0.00, RMR = 0.00, CFI = 0.00, GFI=0.00 แต่ละตัวชี้วัดขององค์ประกอบหลักมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.47-0.79 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของตัวแปรได้ (R2 )อยู่ระหว่าง 0.22 – 0.62 ซึ่งองค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักสูงสุด ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำร่วมการเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานเรียนรู้
Article Details
References
ตะวัน สื่อกระแส. (2557) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). สาขาผู้นำทางการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล : สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บรรจง ฟ้ารุ่งสาง. (2550). การวิจัยนโยบายของรัฐเกี่ยวกับการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2540-2550 (รายงานผลการวิจัย). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, มาตรา 54 (เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก.). หน้า 14.
วิจารณ์ พานิช.(2548). การจัดการความรู้ในยุคสังคมและเศรษฐกิจบนฐานความรู้. กรุงเทพฯ: บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น.
วรลักษณ์ ชูกำเนิด และเอกรินทร์ สังข์ทอง. (2557). โรงเรียนแห่งชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นหัวใจสำคัญ.วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 25(1),93-102.
วรลักษณ์ ชูกำเนิด เอกรินทร์ สังข์ทอง และชวลิต เกิดทิพย์. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ. 12(2), 123-134.
ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิ ตยานนท์ และดิเรก ศรีสุโข. (2553). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครังที 5). กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์.( 2552). สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยแลพัฒนาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์ (2555). ภาวะผู้นำทฤษฎีและปฏิบัติ: ศาสตร์และศิลป์สู่ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์. กรุงเทพฯ: วิรัตน์ เอ็คดูเคชั่น.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). เมืองแห่งการเรียนรู้: ผลการสำรวจ (แปลและเรียบเรียงจากเอกสารในอินเตอร์เน็ต เรื่อง Learning Towns, Learning Cities: The Survey). สืบค้นจาก http://www.lifelonglearning.co.uk/learningcities/index.htm.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2560 -2579 . กรุงเทพ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิก จำกัด
Cheng C.T. (1993). Competency assessment in sport managerment for the republic of Chaina (Taiwan).
Anderson, J. C., & Gerbing, D. W. (1984). The effect of sampling error on convergence, improper solutions, and goodness-of-fit indices for maximum likelihood confirmatory factor analysis. Psychometrika, 49(2), 155–173.
Hair, J.F., Anderson, R.E., Tatham, R.L. and Black, W.C. (1998), Multivariate Data Analysis. (5th ed) .Prentice-Hall, Englewood Cliffs, NJ.
Kenoyer, F.E. (2012). Case Study of professional Learning Community Characteristics in an Egyptian Private School. Doctor’s Dissertation. College of Education, Columbia International University.
Stoll, L.,Bolam,R.,McMahon,A, wallance, M. and Thomas,S. (2006). Professional Learning Communities: A review of the literature. Journal of Education Change.7:221-258.
Sztompka, P. (1999). Trust: A sociological theory. Cambridge: Cambridge University Press.