ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงใช้สารเสพติดของเยาวชนไทยในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์
เก็ตถวา บุญปราการ
ชิดชนก เชิงเชาว์
อภิรักษ์ จันทวงศ์
ปกรณ์ ลิ้มโยธิน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงใช้สารเสพติดของเยาวชนไทยในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่เยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15-25 ปี มีสัญชาติไทยและอาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G* Power ได้จำนวน 1,145 ตัวอย่าง ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยสุ่มแบบชั้นภูมิจากทุกตำบลในอำเภอหาดใหญ่ แล้วสุ่มแบบโควตามา ตำบลละ 88 คน ขั้นสุดท้ายสุ่มอย่างง่ายจับฉลากแบบไม่ใส่กลับคืนจากครัวเรือนที่มีเยาวชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ เพื่อหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยง ผลการวิจัยพบว่าเพศ การอาศัยอยู่กับญาติ ปัจจัยด้านความรู้ และปัจจัยด้านกลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงใช้สารเสพติดของเยาวชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนสถานภาพของบิดามารดาหย่าร้าง และบิดาหรือมารดาเสียชีวิตมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงใช้สารเสพติดของเยาวชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่เยาวชนซึ่งอาศัยอยู่กับบิดาหรือมารดา และปัจจัยด้านครอบครัวมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงใช้สารเสพติดของเยาวชนอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถทำนายพยากรณ์ได้ร้อยละ 59.90


            

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนิษฐา ไทยกล้า เกรียงไกร พึ่งเชื้อ และสุชาดา ภัยหลีกลี้. (2559). พฤติกรรมการใช้สารเสพติด พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ และเครือข่ายทางสังคมของเยาวชนนอกสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการสารเสพติด (ภวส.)

กิตติศักดิ์ จังพานิช. (2558). ปัจจัยป้องกันกลุ่มเสี่ยงติดยาเสพติดของผู้ที่มีความเสี่ยงในการใช้ยาเสพติด: กรณีศึกษา จ.ราชบุรี. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 11(3), 37-42.

เกรียงศักดิ์ อุบลไทร อรอุมา เจริญสุข และสกล วรเจริญศร. (2561, สิงหาคม). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของวัยรุ่น: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์อภิมาน. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 10(2), 21-40.

เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์. (2554). โมเดลเชิงสาเหตุผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาวะรอพินิจของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนามนุษย์และสังคม) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

ธินัฐดา พิมพ์พวง และมานพ คณะโต. (2559). ภูมิคุ้มกันยาเสพติดและสารเสพติด ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 27(1), 136-146.

ณรงค์ หมื่นอภัย. (2552). ปัจจัยทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อการใช้สารเสพติดของเยาวชนในอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. การศึกษาค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ การเมือง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวทิยาลยัเชียงใหม่, เชียงใหม่.

รชดี บินหวัง, และเกษตรชัย และหีม. (2559). สภาพและปัญหาในการจัดการปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชนมุสลิม ชุมชนบ้านดอนขี้เหล็ก ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 56(1), 1-33.

ระบบสถิติทางการทะเบียน. (2562). สถิติประชากรและบ้าน. สืบค้นจาก http://stat.dopa.go.th/stat/ statnew/upstat_age.php.

ราเมศ กรณีย์ โชติกา อุ่นใจ อนุสรณ์ ดิษฐสวรรค์ ศิริพร ป้อมใย และทิพยาภรณ์ วินิจสร. (2559,มีนาคม - เมษายน). สถานการณ์ของชนิดสารเสพติดทีใช้ในกลุ่มผู้เสพในเขตบริการสุขภาพที่ 3 พ.ศ. 2552-2557. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 25(2), 173-180.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล อมรรัตน์ ศรีคำสุข ไซโตะ ปราณีพร บุญเรือง จีระภา สีระหัด และฐิติวัฒน์ กองเกิด. (2556). “ยา” และ “ผู้หญิงติดยา”:ความหมายของการใช้สารเสพติด. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 58(4), 407-420.

สายสุดา สุขแสง, เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์ และรัชตา ธรรมเจริญ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านความรู้ ปัจจัยด้านกลุ่มเพื่อนกับพฤติกรรมเสี่ยงใช้สารเสพติดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดสงขลา. ใน รายงานการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 วันที่ 26 มิถุนายน 2558. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ หน้า: 1350-1359.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2561). รายงานผลการปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ ประจำปี 2561. กรุงเทพฯ: ส่วนปฏิบัติการข่าวและปราบปรามยาเสพติด 10 สำนักปราบปรามยาเสพติด และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

Baumrind, D. (1971). Current Patterns of Parental Authority. Developmental Psychology Monographs, 4, 1-103.

Burns, N., & Grove, S. K. (1997). The Practice of Nursing Research: Conduct Critique and Utilization. (3rd ed.) Chicago: Rand Mcnally.

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient Alpha and The Internal Structure of Tests. Psychometrika. 16(3), 297-334.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39, 175–191.

Glanz, K, Rimer, B. K., & Viswanath, K. (2008). Health behavior and health Education: Theory, research,and practice. San Francisco: Jossy-Bass.

Hair, J., Blak, W.C., Barbin, B.J., Anderson, R.E., & Tatham, R.L. (2010). Multivariate data analysis. New Jersey: Upper Sandle River, Prentice Hall.

Maccoby, E.E., & Martin, J. (1983). Socialization in the Context of Family: Parent-Child Interaction. In P.H. Mussen (ed.), Handbook of Child Psychology, Vol. 4 Socialization, Personality, and Social Development, (pp. 1-101). New York: Wiley.

Nunnally, J., & Bernstein, I. (1994). Psychometric theory. New York:McGraw-Hill.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60