การศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางอัลกอริทึม เรื่อง การจัดเรียงและการค้นหาข้อมูล ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเอสเอสซีเอส
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางอัลกอริทึม เรื่อง การจัดเรียงและการค้นหาข้อมูล ของผู้เรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเอสเอสซีเอส และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียน
ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเอสเอสซี กลุ่มประชากรที่ทำการวิจัยเป็นผู้เรียนระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ภาคพิเศษ (วันเสาร์ – อาทิตย์) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเมคาทรอนิกส์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 2051315 โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม ภาคการศึกษาฤดูร้อน ประจำปีการศึกษา 2560 จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบเอสเอสซีเอส จำนวน 10 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางอัลกอริทึม
ซึ่งเป็นแบบทดสอบชนิดอัตนัย จำนวน 12 ข้อ และ 3) แบบประเมินความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเอสเอสซีเอส การวิเคราะห์ข้อมูลใช้คะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางอัลกอริทึม มาคำนวณค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ แล้วนำค่าร้อยละของคะแนนมาเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางอัลกอริทึม เรื่อง การจัดเรียงและการค้นหาข้อมูลของผู้เรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเอสเอสซีเอสผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 2) ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การจัดเรียงและการค้นหาข้อมูล โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเอสเอสซีเอสในภาพรวมอยู่ในระดับดี
Article Details
References
เกษศิรินทร์ ขันธศุภ ชานนท์ จันทรา และทรงชัย อักษรคิด. (2561). ทำการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับการใช้คำถาม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 8(3), 219 – 231.
เจนจิรา สรสวัสดิ์ วันดี เกษมสุขพิพัฒน์ และทรงชัย อักษรคิด. (2561). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบ SSCS. วารสารคณิตศาสตร์, 63(696), 35 – 51.
ณรงค์วิทย์ นาขวัญ. (2561). การถามอย่างมืออาชีพสำหรับครูแพทย์. วารสารรามาธิบดีเวชสาร, 41(2), 124 – 134.
นริศรา สำราญวงษ์ อาพันธ์ชนิต เจนจิต และคงรัฐ นวลแปง. (2560). การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องบทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(1), 254 – 264.
นันทพร รอดผล และเอกชัย ภูมิระรื่น. (2559). SSCS: กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สู่เส้นทางสังคมศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 14(1), 73 – 79.
บุญสนอง วิเศษสาธร. (2562). ผลการสอนโดยใช้แผนผังความคิดที่มีต่อทักษะและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 30(3), 105 – 115.
พัชราวดี ใจแน่น และสิทธิพล อาจอินทร์. (2562). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิคระดมสมอง. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13(2), 23 – 33.
รินรดี ปาปะใน. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผสานเทคนิคแผนผังความคิดสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(3), 297 – 308.
วิจารณ์ พานิช. (2558). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 1(2), 3 – 14.
วิภาดา คล้ายนิ่ม ชานนท์ จันทรา และต้องตา สมใจเพ็ง. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยใช้รูปแบบ SSCS. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 10(2), 329 – 345.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557, กรกฎาคม 4). คู่มือวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. สาขาประเมินมาตรฐาน. http://sa.ipst.ac.th/?p=679.