ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของเคมีของนักศึกษาก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาเคมี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ธรรมชาติของเคมีเป็นการศึกษากระบวนการคิดและการทำงานของนักเคมีเพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ทางเคมี เป้าหมายของการเรียนรู้เคมีในหลักสูตรวิทยาศาสตร์ของหลายประเทศจึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนคิดอย่างนักเคมี รวมทั้งการฝึกให้นักศึกษาครูสอนเคมีอย่างที่เคมีเป็น การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของเคมีของนักศึกษาก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาเคมีชั้นปีที่ 1 ถึงปีที่ 4 จำนวน 100 คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความเข้าใจธรรมชาติของเคมีร่วมกับการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างซึ่งครอบคลุม 3 ประเด็น ได้แก่ การมองโลกแบบเคมี การแสวงหาความรู้ทางเคมีและการทำงานและสังคมของนักเคมี วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยอ่านคำตอบของนักศึกษาอย่างละเอียดแล้วตีความเพื่อจำแนกกลุ่มคำตอบของนักศึกษา ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาครูเคมีทั้ง 4 ชั้นปี ส่วนใหญ่มีความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของเคมีอยู่ในกลุ่มที่ไม่สอดคล้องกับมติประชาคมวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการมองโลกแบบเคมีและการแสวงหาความรู้ทางเคมี นักศึกษาไม่เข้าใจเป้าหมายของการสร้างแบบจำลองทางเคมีหรือการทดลองทางเคมีโดยมองว่าเป็นเพียงสิ่งที่นักเคมีสร้างขึ้นมาตามทฤษฎีหรือตามเนื้อหาที่มีอยู่ในหนังสือแล้วเท่านั้น จากผลการวิจัยขอเสนอแนะว่า ในการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี ครูเคมีควรจัดกิจกรรมการแสวงหาองค์ความรู้ทางเคมีว่านักเคมีมีวิธีการใดบ้างในการสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาและสังคมมีบทบาทต่อนักเคมีอย่างไรทั้งในแง่ประโยชน์และผลกระทบต่อสังคมจากการค้นคว้าหาความรู้ของนักเคมีผนวกกับเนื้อหาเคมีในแบบเรียน
Article Details
References
ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2551). แนวคิดทางเลือกของนักเรียนในวิชาเคมี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 19(2), 10-28.
ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2558). กลยุทธ์การสอนเคมีอย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: บริษัท วิสต้า อินเตอร์ปริ้นท์ จำกัด.
พัชรี ร่มพะยอม วิชัยดิษฐ. (2558). ธรรมชาติของวิชาเคมีและการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับธรรมชาติของวิชา. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว, 31(2), 187–189.
ลือชา ลดาชาติ และกาญจนา มหาลี. (2559). ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 7(2), 298-324.
สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2015). สรุปผลการวิจัย PISA 2015. Retrieved from http://pisathailand.ipst.ac.th/pisa/reports/pisa 2015 summary report
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.). (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
American Association for the Advancement of Science. (2009). Science for All American.Washing D.C. Retrieved from http://www.project2061.org/publications/sfaa/online/chap1.htm
Chang, H. (2017). What History Tells Us about the Distinct Nature of Chemistry. Ambix, 64(4), 360 -374.
Driver, R., Leach, J, Miller, A, and Scott, P. (1996). Young People Images of Science. Buckingham: Open University Press.
Grosslight, L., C. Unge & E. Jay. (1991). Understanding Models and Their use in Science: Conceptions of middle and high school students and experts. Journal of Research in Science Teaching, 28(9), 799-822.
Harrison, A. G. & D. F. Treagust. (2000). A typology of school science models. International Journal of Science Education, 22(9), 1011–1026.
Johnstone, A. H. (1993). The development of Chemistry Teaching: A Changing Response to a Changing Demand. Journal of Chemical Education, 70(9), 701-705.
Nicoll, G. (2001). A Report of Undergraduates’Bonding misconceptions. International Journal of science Education, 23(7), 707-730.
Vesterinen, V.M., A. Maija & R. S. Markku. (2012). Nature of Chemistry in the National Frame Curricula for Upper Secondary Education in Finland, Norway and Sweden. Science Education, 5(2), 200-212.