การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะนักศึกษาครูในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

ปัณยตา บัณฑิตกุล
สุธาสินี บุญญาพิทักษ์
เมธี ดิสวัสดิ์

บทคัดย่อ




งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพ่ือพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะนักศึกษาครูในศตวรรษที่ 21 การดำเนินการวิจัย คือ 1) เป็นการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์คณบดีคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ จากสถาบันผลิตครูภาคใต้ตอนล่าง จำนวน 6 คน เพ่ือกำหนดกรอบตัวบ่งชี้สมรรถนะนักศึกษาครูในศตวรรษที่ 21 2) เป็นการตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้ และวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะนักศึกษาครูในศตวรรษที่ 21 ทำการ ตรวจสอบความสอดคล้องของตัวบ่งช้ีกับนิยามของตัวบ่งช้ีสมรรถนะนักศึกษาครูในศตวรรษท่ี 21 ตรวจสอบโดย ผู้เชี่ยวชาญด้านสมรรถนะนักศึกษาครูในศตวรรษที่ 21 จำนวน 5 คน เพ่ือตรวจสอบความเป็นไปได้ในการนำตัวบ่งช้ี ไปใช้ในการประเมินสมรรถนะนักศึกษาครูในศตวรรษท่ี 21 ตรวจสอบโดยอาจารย์นิเทศก์ จำนวน 5 คน และเพื่อ วิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะนักศึกษาครูในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูพี่เลี้ยงของนักศึกษาครู โดย การสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 214 คน โดยใช้แบบประเมินสมรรถนะนักศึกษาครูในศตวรรษที่ 21 และกำหนด องค์ประกอบของสมรรถนะนักศึกษาครูในศตวรรษที่ 21 โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ส่วนประกอบสำคัญ (Principal Component Analysis) 3) การทดลอง ใช้แบบประเมินสมรรถนะนักศึกษาครูในศตวรรษท่ี 21 โดยการนำตัวบ่งช้ีสมรรถนะนักศึกษาครูในศตวรรษท่ี 21 จากการวิเคราะห์องค์ประกอบ มาทดลองใช้แบบประเมินสมรรถนะนักศึกษาครูในศตวรรษที่ 21 นำผลที่ได้จากการ ประเมินมาหาค่าความเช่ือมั่นของแบบประเมินสมรรถนะนักศึกษาครูในศตวรรษท่ี 21


ผลการศึกษาพบว่า ตัวบ่งชี้สมรรถนะนักศึกษาครูในศตวรรษที่ 21 จากการสังเคราะห์เอกสาร และงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์คณบดีคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ จากสถาบันผลิตครูภาคใต้ตอนล่าง ได้ตัวบ่งชี้ จำนวน 51 ตัวบ่งชี้ และได้ตัวบ่งชี้ท่ีมีความตรงเชิงโครงสร้างและความเป็นไปได้สำหรับนำไปใช้ประเมิน จำนวน 47 ตัวบ่งชี้ จัดองค์ประกอบได้ 12 องค์ประกอบ คือ 1) องค์ประกอบสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ 2) องค์ประกอบ สมรรถนะด้านบริหารจัดการชั้นเรียน 3) องค์ประกอบสมรรถนะด้านการอยู่ร่วมกันแบบพหุวัฒนธรรม 4) องค์ประกอบ สมรรถนะด้านภาวะผู้นำ 5) องค์ประกอบสมรรถนะด้านการบริการ 6) องค์ประกอบสมรรถนะด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ 7) องค์ประกอบสมรรถนะด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ 8) องค์ประกอบสมรรถนะด้านวิจัยเพื่อ พัฒนาผู้เรียน 9) องค์ประกอบสมรรถนะด้านพัฒนาผู้เรียน 10) องค์ประกอบสมรรถนะด้านการสร้างชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ (PLC) 11) องค์ประกอบสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเอง 12) องค์ประกอบสมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีม และแบบประเมินสมรรถนะนักศึกษาครูในศตวรรษที่ 21 มีค่าเชื่อม่ันเท่ากับ .890




Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ปัณยตา บัณฑิตกุล, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

กศ.ม. (สาขาวิชาการวิจัยและประเมิน), นิสิตปริญญาโท 

สุธาสินี บุญญาพิทักษ์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

กศ.ด. (การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร), อาจารย์ 

เมธี ดิสวัสดิ์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

กศ.ด. (วิจัยและประเมินผลการศึกษา), อาจารย์