ตัวบ่งชี้พฤติกรรมความถนัดทางดนตรีสำหรับนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยคร้ังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์และพัฒนาตัวบ่งชี้พฤติกรรมสำหรับการสร้างแบบวัดความถนัด ทางดนตรีของเด็กไทยระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดเชียงใหม่ ทำการสังเคราะห์แนวคิดพื้นฐานเก่ียวกับตัวบ่งชี้ ความถนัดทางดนตรีจากบทความวิจัย เอกสารตำราและทฤษฎีความถนัดทางดนตรี พัฒนาตัวบ่งชี้ผ่านการสัมภาษณ์ ขอความเห็นจากอาจารย์ผู้สอนดนตรีในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาลัยดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ ครูดนตรี ในวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ครูดนตรีในระดับมัธยมปลาย ขั้นตอนสุดท้ายทำการยืนยันความเท่ียงตรงเชิงเนื้อหา ผ่านการพิจารณาดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของครูดนตรีโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 30 คน
ผลการวิจัยพบว่าจากการศึกษาเอกสารตำราสังเคราะห์ตัวบ่งชี้ได้ 20 ตัวบ่งชี้ การพัฒนาตัวบ่งชี้จากความเห็น และข้อเสนอแนะของผู้เช่ียวชาญ พบว่าตัวบ่งชี้บางตัวยากเกินไปและมีคำอธิบายที่ไม่ชัดเจนสำหรับการนำไปใช้ จึงปรับเหลือ 18 ตัวบ่งชี้ นำไปตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหากับครูผู้สอนดนตรีในโรงเรียนมัธยมพบว่ามีค่าดัชนี ความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.8-1.0 แบ่งเป็นด้านการรับรู้ระดับเสียง (Pitch Accutary) จำนวน 8 ตัวบ่งชี้ ด้านการรับรู้จังหวะ (Rhythmic Awareness) จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ ด้านการรับรู้ทำนอง (Melodic Awareness) จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ และด้านการรับรู้คุณภาพของเสียง (Tone Quality) จำนวน 4 ตัวบ่งชี้