การจัดการเรียนรู้ภัยพิบัติ : อุทกภัยในภาคใต้

Main Article Content

กาญจนา ศิริมุสิกะ
ศิริขวัญ ชิณศรี

บทคัดย่อ




ภัยพิบัติอุทกภัยในพื้นท่ีภาคใต้ของประเทศไทยเป็นปัญหาท่ีเกิดข้ึนทุกปี อีกทั้งยังมีความรุนแรงและส่ง ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ และการดำรงชีวิตของประชากร บทความน้ี ต้องการนำเสนอเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เร่ืองภัยพิบัติอุทกภัยภาคใต้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำคัญ ดังนี้ 1. ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยพิบัติอุทกภัยในภาคใต้ 2. ให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะในการป้องกัน และการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติอุทกภัยในภาคใต้ 3. ปลูกฝังให้ผู้เรียนตระหนักถึงภัยอันตรายจากภัยพิบัติ อุทกภัยในภาคใต้ 4. ให้ผู้เรียนมีจิตอาสา และมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติอุทกภัยในภาคใต้ 5. ให้ผู้เรียนตระหนักถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับส่ิงแวดล้อมทางกายภาพ มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการจัดการ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ 5 รูปแบบ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) การจัดการเรียนรู้โดยการใช้กรณีตัวอย่าง (Case Study) การจัดการเรียนรู้โดยผ่านสื่อ สารคดี หนัง และคลิปวิดิโอ (Studio Based Learning) การจัดการเรียนรู้โดยวิธีสืบสอบ (Guided Inquiry) การจัดการเรียนรู้ภาคสนาม (Fieldwork) โดยสอดแทรกทักษะทางภูมิศาสตร์ มีสื่อประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และมีการวัดและประเมินผล ตามสภาพจริง (Authentic assessment) เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ภัยพิบัติอุทกภัยภาคใต้




Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biographies

กาญจนา ศิริมุสิกะ, โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

กศ.ม. (ภูมิศาสตร์), ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 

ศิริขวัญ ชิณศรี, โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ค.ม. (การสอนสังคมศึกษา), อาจารย์