การพัฒนาหลักสูตรพลศึกษาเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ สำหรับเด็กปฐมวัย

Main Article Content

ศุภกร บัวหยู่
พิมพา ม่วงศิริธรรม
อนันต์ มาลารัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาหลักสูตรพลศึกษาเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่สำหรับเด็กปฐมวัย โดยมีจุดมุ่งหมายเฉพาะเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพข้อมูลพ้ืนฐานในการสร้างหลักสูตรพลศึกษาเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่สำหรับเด็กปฐมวัย 2) พัฒนาและหาคุณภาพของหลักสูตรพลศึกษาเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่สำหรับเด็กปฐมวัย 3) ศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรพลศึกษาเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่สำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยสำหรับการสนทนากลุ่มจำนวน 14 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนระดับปฐมวัย นักกิจกรรมบำบัดสำหรับเด็ก และอาจารย์ผู้สอนระดับอุดมศึกษาสาขาวิชาปฐมวัย สำหรับการทดลองใช้หลักสูตร พลศึกษาเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่สำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนจำนวน 470 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีและซี ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพข้อมูลพื้นฐานในการสร้างหลักสูตรพลศึกษาเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่สำหรับเด็กปฐมวัย แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านหลักสูตรพลศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย 2) ด้านข้อมูลพื้นฐาน เป็นบริบทของสถานศึกษา นโยบาย เป้าหมายที่สถานศึกษา 3) ด้านสภาพการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนปฐมวัย และ 4) สิ่งสนับสนุนการสอนด้วยสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน (2) หลักสูตรพลศึกษาเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่สำหรับเด็กปฐมวัย ประกอบด้วยทักษะการเคลื่อนไหว 3 แบบ คือ 1) การเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ 2) การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ 3) การเคลื่อนไหวแบบประสานสัมพันธ์ของระบบประสาทกับกล้ามเนื้อ และ (2) ผลการใช้หลักสูตรพลศึกษาเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่สำหรับเด็กปฐมวัย พบว่า กลุ่มทดลองเป็นนักเรียนอนุบาลเพศชายและหญิงที่ได้รับการฝึกทักษะการเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่แบบเคลื่อนที่ และแบบประสานสัมพันธ์ของระบบประสาทกับกล้ามเนื้อมีสมรรถภาพทางกายด้านการวิ่ง การกระโดด การเตะ และการขว้าง แตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 Physical Education CurriculuGross Musclem ,  , Early Childhood

Article Details

บท
บทความวิจัย