ผลการเรียนรู้ในห้องเรียนคู่กับออนไลน์แบบเคลื่อนที่ โดยใช้วัฎจักรการเรียนรู้ ในสังคมพหุวัฒนธรรม

Main Article Content

ธีติมา มูรติการ
คณิตา นิจจรัลกุล
ชิดชนก เชิงเชาว์

บทคัดย่อ




การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์วิจัยดังนี้ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนในห้องเรียนคู่กับออนไลน์แบบเคล่ือนที่โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรมกับการเรียนแบบปกติ 2) เปรียบเทียบผลจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนการเรียนรู้ในห้องเรียนคู่กับออนไลน์แบบเคลื่อนที่โดยใช้วัฏจักรการ เรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรมกับการเรียนแบบปกติ 3) เปรียบเทียบผลความเข้าใจสังคมพหุวัฒนธรรมในห้องเรียน ของนักเรียนในห้องเรียนกับการเรียนแบบปกติ 4) ศึกษาระดับความพึงพอใจต่อบทเรียนออนไลน์แบบเคล่ือนที่โดย ใช้วัฏจักรการเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ได้มาด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบจับคู่กลุ่ม (Matching group) ที่มีสมบัติเหมือนกันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นนักเรียนกลุ่มอ่อนท่ีได้จากการวัด ความรู้เดิมจำนวน 60 คน เครื่องมือท่ีใช้ในการวิจัย (1) บทเรียนออนไลน์แบบเคลื่อนที่เรื่องการiเคลื่อนที่แบบ โพรเจกไทล์ท่ีประสิทธิภาพที่ 86.6/80.5 (2) แผนการจัดการเรียนรู้ (3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าความ เชื่อมั่น 0.42 (4) แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์มีค่าความเชื่อมั่น 0.51 (5) แบบวัดความเข้าใจสังคมพหุวัฒนธรรมมีค่า ความเชื่อมั่น 0.75 และ(6) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์แบบเคลื่อนที่มีคุณภาพระดับ ดีที่ 4.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัยมีค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบที


ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนรู้ในห้องเรียนคู่กับออนไลน์แบบเคลื่อนท่ี โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรมสูงกว่าการเรียนแบบปกติที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 (2) ผล จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนด้วยการเรียนรู้ในห้องเรียนคู่กับออนไลน์แบบเคลื่อนท่ีโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ในสังคม พหุวัฒนธรรมสูงกว่าการเรียนแบบปกติแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (3) ผลความเข้าใจสังคมพหุวัฒนธรรมในห้องเรียน ของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์แบบเคล่ือนท่ีโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรมสูงกว่าการเรียน แบบปกติท่ีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.001 และ (4) ระดับความพึงพอใจของนักเรียนท่ีมีต่อบทเรียนออนไลน์แบบ เคลื่อนท่ีโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรม 4.3 อยู่ในระดับดี




Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ธีติมา มูรติการ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ศษ.ม. (เทคโนโลยีและส่ือสารการศึกษา), นักศึกษาปริญญาโท 

คณิตา นิจจรัลกุล, ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

Ph.D. (Curriculum and Instruction), รองศาสตราจารย์ 

ชิดชนก เชิงเชาว์, ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

Ph.D. (Research Design and Testing), รองศาสตราจารย์