การสร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพเพื่อพัฒนาชุมชนให้เป็นมิตร ต่อการเดินและใช้จักรยาน

Main Article Content

ศุภธิดา สว่างแจ้ง
พลเดช เชาวรัตน์
ดารุณี สุดาอิ้ง

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาชุมชนให้เป็นมิตรต่อการเดินและใช้จักรยาน มีพื้นที่ศึกษา คือ ชุมชนหนองไชยวาน และชุมชนสุขสบายใจ เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นโครงการที่มีการดำเนินงานต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาแนวทางในการออกแบบปรับปรุงพื้นที่สาธารณะชุมชน 2) ศึกษาพฤติกรรมการใช้พื้นที่สาธารณะชุมชน 3) ศึกษาทัศนคติที่มาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ


ผลการศึกษาพบว่า 1) แนวทางหลักในการปรับปรุงพื้นที่สาธารณะประกอบด้วย การวาดภาพศิลปะบนกำแพงและการทาสีตีเส้นจราจร ร่วมกับแนวทางการสร้างถิ่นที่โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) มีการมาใช้พื้นที่สาธารณะชุมชน (ร้อยละ 65.55) โดยที่ตั้งของพื้นที่สาธารณะชุมชมที่อยู่ใกล้กับบ้านเรือนมีผลต่อการมาใช้งาน ระยะห่างระหว่างกลุ่มบ้านเรือนกับพื้นที่สาธารณะชุมชนยังมีผลต่อรูปแบบการเดินทาง โดยกิจกรรมหลักของการใช้พื้นที่สาธารณะชุมชน คือ การออกกำลังกาย (ร้อยละ 68.71) 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อการใช้พื้นที่สาธารณะชุมชน คือ ความปลอดภัยในการใช้งาน ไฟฟ้าส่องสว่าง ประโยชน์ใช้สอยในการออกกำลังกาย และความสวยงามสุนทรียภาพ  มาตรการที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพื้นที่คือ การทาสีตีเส้นจราจร (ร้อยละ 90.6) ภาพศิลปะบนกำแพง (ร้อยละ84.9)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์. (2562). แผนพัฒนาสามปีเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2560-2562. [ออนไลน์]. ได้จาก: : http://www.kalasin-mu.go.th/sj/images/pdf/year360-62.pdf [สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563].

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2563). กิจกรรมทางกาย กิจกรรมดีดี เพื่อสุขภาพที่ดี. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://thaincd.com/good-stories-view.php?id=8362 [สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2563].

Copenhagenize Design Company. (2017). The Criteria & FAQs. [Online]. Retrieved from: http://copenhagenize.eu/index/criteria.html [accessed 22 May 2020].

Cosgrove, D. & Dora, V. (2008). Introduction: High Places. Cultural Geographies of Mountains, Ice, and Science. 23(2), 1 - 17.

John, G, & Jennifer, D. (2008). Understanding and Measuring Bicycling Behavior: A Focus on Travel Time and Route Choice. Oregon Transportation Research and Education Consortium (OTREC).

Nicholas, E. (2008). Introduction: Jeffrey Alexander on Materiality. Environment and Planning D: Society and Space. 26(5).

Main Street America and Project for Public Spaces. (2019). Navigating Main Streets as Places: A People-first Transportation Toolkit. [Online]. Retrieved from: https://www.mainstreet.org/ [accessed 23 May 2020].

National Centre for Space Studies. (2019). Google map [Online]. Retrieved from: https://www.google.co.th/ maps / @16.4401949,103.5190456,6902m. [accessed 15 May 2020].

Project for Public Spaces. (2019). What makes a successfu place. [Online]. Retrieved from: https://www.pps.org/article/grplacefeat [accessed 20 May 2020].

Roger, T. (1986). Finding Lost Space: Theories of Urban Design. New York: Van Nostrand Reinhold.

Sriramatr, S. (2014). Physical activities for wellness. Bangkok: Printing of Chulalongkorn University.