วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Jadc
<p> วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง (Journal of Architecture, Design and Construction : JADC) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นวารสารวิชาการที่จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ องค์ความรู้ของคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา สถาปนิก วิศวกร นักออกแบบและบุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยที่มีความสนใจ ด้านสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง และเพื่อการพัฒนาวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล Thai-Journal Citation Index (TCI) </p> <p> ISSN (Print Edition): 2673-0332 </p> <p> ISSN (Online Edition): 2673-0340 </p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><br /> 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ องค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี<br /> 2. เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ความรู้ ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ องค์ความรู้ของคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิตนักศึกษา สถาปนิก วิศวกร นักออกแบบและบุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย<br /> 3. เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และเป็นฐานความรู้นำไปสู่การพัฒนาทางด้านสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมผังเมือง สาขาสถาปัตยกรรมภายใน ภูมิสถาปัตยกรรม การจัดการงานก่อสร้าง นฤมิตศิลป์ การออกแบบสร้างสรรค์ การออกแบบอุตสาหกรรม และในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p>
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
th-TH
วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง
2673-0332
<p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</p>
-
ตึกแถวในภูมิทัศน์ย่านการค้าเมืองเก่านครราชสีมากับแนวทางการอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวย่านประวัติศาสตร์
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/article/view/266343
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสถาปัตยกรรมตึกแถวในย่านการค้าเมืองเก่า นครราชสีมา ประเมินคุณค่าและเสนอแนวทางการอนุรักษ์โดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับย่านในแต่ละด้าน สำรวจตึกแถวเพื่อคัดเลือกอาคารกรณีศึกษาด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง และสัมภาษณ์เจ้าของ อาคาร จากนั้นจึงจัดทำเป็นแบบสถาปัตยกรรม วิเคราะห์การวางผัง การจัดพื้นที่ใช้สอย องค์ประกอบ วัสดุ โครงสร้าง และจำแนกรูปแบบตามยุคสมัย ประเมินคุณค่าพร้อมเสนอแนวทางการอนุรักษ์เพื่อ ส่งเสริมการท่องเที่ยวย่านประวัติศาสตร์ผลการศึกษาพบว่าตึกแถวภายในย่านเป็นมรดกสถาปัตยกรรม ที่มีคุณค่าทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม ด้านภูมิทัศน์ ด้านการศึกษา ด้านประวัติศาสตร์และ ศิลปะวัฒนธรรม อาคารเหล่านั้นมีศักยภาพเพียงพอที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวย่านประวัติศาสตร์ เนื่องจากมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นสะท้อนรูปแบบของแต่ละยุคสมัย ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญ ในการนำเรื่องราวเกี่ยวกับอาคารและวิถีชีวิตดั้งเดิมภายในย่านการค้าเก่าที่เจริญรุ่งเรืองมาเป็นจุดขาย อีกทั้งอาคารแต่ละหลังตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อกับศาสนาคารและสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ จึงสามารถพัฒนาเป็นเส้นทางท่องเที่ยวโดยการเดินชมเมืองได้ การอนุรักษ์ตึกแถวภายในย่าน มี5 แนวทาง ได้แก่1) การสร้างความตระหนักให้เห็นคุณค่าและรณรงค์ให้เกิดการอนุรักษ์ 2) การให้ ความรู้กับเจ้าของอาคารเกี่ยวกับการอนุรักษ์เพื่อควบคุมสภาพแวดล้อม ป้องกันการเสื่อมสภาพและ เสริมความมั่งคง 3) การสร้างทางเลือกในการอนุรักษ์ โดยการปรับเปลี่ยนการใช้งานอย่างเหมาะสม 4) การกำหนดนโยบายด้านการอนุรักษ์จากหน่วยงานราชการ เพื่อสร้างความเป็นระเบียบสวยงาม ส่งเสริมอัตลักษณ์ความเป็นย่านการค้าเก่า 5) การส่งเสริมให้อาคารเก่าภายในย่านเป็นส่วนหนึ่ง ของกิจกรรมการท่องเที่ยว เพื่อให้อาคารถูกเก็บรักษาได้อย่างมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ</p>
การุณย์ ศุภมิตรโยธิน
Copyright (c) 2024 วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-17
2024-10-17
6 3
12
26
-
การศึกษาแนวคิดร่วมสร้างรูบริคเพื่อประเมินแบบก่อสร้าง
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/article/view/271970
<p>การศึกษาแนวคิดร่วมสร้างรูบริคเพื่อประเมินแบบก่อสร้างเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย "การร่วมสร้างรูบริคประเมินงานเขียนแบบก่อสร้าง" วัตถุประสงค์ของบทความนี้คือ (1) วิเคราะห์แนวคิดการร่วมสร้างด้วยรูบริค (2) สังเคราะห์กรอบแนวคิดการร่วมสร้างรูบริคสำหรับประเมินการเขียนแบบก่อสร้าง และ (3) นำเสนอกระบวนการประยุกต์ใช้แนวคิดร่วมสร้างในการพัฒนาเกณฑ์การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ วิธีดำเนินการศึกษา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ และการสังเคราะห์แนวคิด การบูรณาการแนวคิดการร่วมสร้างจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนารูบริคเพื่อประเมินแบบก่อสร้างได้ โดยกรอบแนวคิดที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินการที่สำคัญ ได้แก่ การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง การรวบรวมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การประเมินงานตัวอย่างโดยนิสิต การระดมความคิดเห็นเพื่อสร้างรูบริคใหม่ และการทดลองใช้รูบริคที่พัฒนาขึ้น ผลการศึกษาแนวคิดนี้ชี้ให้เห็นว่า การใช้แนวคิดร่วมสร้างพัฒนารูบริคประเมินการเขียนแบบก่อสร้างเป็นปัจจัยที่สามารถส่งเสริมผลลัพธ์ในการเรียนรู้ (1) ด้านระดับความรู้ความเข้าใจ (2) ด้านระดับเจตคติ และ (3) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จึงนำมาใช้เป็นตัวแปรตามในการวิจัยต่อไป</p>
ชัยนันท์ พรหมเพ็ญ
จารุณีย์ นิมิตศิริวัฒน์
วิภา พันธวงค์
สกลชัย บุญปัญจา
นิลปัทม์ ศรีโสภาพ
อมฤต หมวดทอง
วรวรรณ เนตรพระ
บริรักษ์ อินทรกุลไชย
เจนจิรา ตราชู
Copyright (c) 2024 วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-17
2024-10-17
6 3
28
43
-
แนวโน้มการวิจัยทางสถาปัตยกรรมระดับบัณฑิตศึกษาในประเทศไทย
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/article/view/268680
<p>บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยภายใต้การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ผลิตกำลังคนด้านการศึกษา ออกแบบและวิจัยทางสถาปัตยกรรม ของสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทิศทางด้านการวิจัยทางสถาปัตยกรรมผ่านการศึกษาเอกสารงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย จากการศึกษาข้อมูลวิทยานิพนธ์กว่า 3,000 เล่ม พบว่า ในภาพรวมปริมาณงานวิจัยมีความสัมพันธ์กับจำนวนหลักสูตรที่เปิดสอน โดยมีหัวข้อในสาขาสถาปัตยกรรมมากที่สุด รองลงมาคือสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง สาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ และสาขาภูมิสถาปัตยกรรมตามลำดับ หัวข้อวิทยานิพนธ์ที่มีสัดส่วนสูงสุดอยู่ในกลุ่มคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ (ร้อยละ 18.58) รองลงมาคือกลุ่มคำสำคัญการออกแบบตอบสนองสภาพแวดล้อม (ร้อยละ 15.72) และสถาปัตยกรรมและการออกแบบ (ร้อยละ 12.90) และกลุ่มคำสำคัญกลุ่มสถาปัตยกรรมไทยและการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม (ร้อยละ 11.00) ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับผลการศึกษาความคิดเห็นระดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิต ปัจจัยด้านอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นหัวข้อที่มีการทำวิจัยสูงสุดนั้นมีค่าระดับสำคัญน้อยโดยอยู่ลำดับที่ 2 จากท้ายสุด ในขณะที่ปัจจัยด้านทัศนคติและคุณลักษณะของสถาปนิกซึ่งมีค่าระดับความสำคัญสูง แต่หัวข้อวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณลักษณะของสถาปนิก เช่น จรรยาบรรณและการทำงานร่วมกัน ในปัจจุบันยังมีสัดส่วนค่อนข้างน้อย ดังนั้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะในด้านการศึกษาสถาปัตยกรรม และการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมจึงควรได้รับการพิจารณาและสนับสนุนให้มีงานวิจัยมากขึ้น นอกเหนือจากนั้นประเด็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบตอบสนองกับสภาพแวดล้อม การนำองค์ความรู้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมมาใช้ในบริบทร่วมสมัย รวมถึงการออกแบบเพื่อทุกคนและเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นปัจจัยอันเกี่ยวข้องกับการทำงานในปัจจุบันที่ได้รับความสนใจและให้ความสำคัญ ก็ควรได้รับการศึกษาและวิจัยเพิ่มขึ้นด้วย</p>
สันต์ จันทร์สมศักดิ์
สิริมาส เฮงรัศมี
ภูดิท เงารังษี
ณัฐพงษ์ ไผทฉันท์
ประรินทร์ บุตรดี
เพชรลัดดา เพ็ชรภักดี
กรรณิกา สงวนสินธุกุล
Copyright (c) 2024 วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-17
2024-10-17
6 3
45
55
-
การสะสมหน่วยการเรียนรู้ สำหรับหลักสูตรสถาปัตยกรรมภายใน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/article/view/256493
<p>การศึกษาเกี่ยวกับการสะสมหน่วยการเรียนรู้สำหรับหลักสูตรสถาปัตยกรรมภายในของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความต้องการของนักศึกษาทั้งปัจจุบันและอนาคตในการสะสมหน่วยการเรียนรู้ โดยการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มนักศึกษาในงานแนะแนว (Open House) จำนวน 400 คน และนักศึกษาปี 1 จำนวน 41 คน ผ่านแบบสอบถามออนไลน์ที่มี ค่าคะแนน 4 ระดับ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มนักศึกษาในอนาคตรู้จักและสนใจในระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้ในระดับมาก โดยเฉพาะในกลุ่มวิชาทฤษฎีพื้นฐานและวิชาปฏิบัติการด้านการออกแบบ ส่วนกลุ่มนักศึกษาปัจจุบันมีความต้องการเรียนในกลุ่มวิชาที่สนับสนุนการออกแบบและการเขียนแบบในระดับมากถึงมากที่สุด จากผลการสำรวจ สรุปได้ว่าหลักสูตรสถาปัตยกรรมภายในควรเปิดกลุ่มวิชาตามลำดับดังนี้ 1. กลุ่มวิชาพื้นฐานด้านการปฏิบัติการเขียนแบบและออกแบบ เช่น พื้นฐานการออกแบบ การเขียนแบบสถาปัตยกรรมภายในเบื้องต้น การนำเสนอสำหรับงานสถาปัตยกรรมภายใน 2. กลุ่มวิชาทฤษฎีพื้นฐานที่สำคัญ เช่น แนวคิดและเกณฑ์การออกแบบสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมภายใน และสถาปัตยกรรมไทย 3. กลุ่มวิชาทฤษฎีพื้นฐานสนับสนุน เช่น จิตวิทยาการออกแบบสภาพแวดล้อม การจัดการเรียนการสอนในกลุ่มวิชาดังกล่าวจะช่วยให้หลักสูตรสถาปัตยกรรมภายในมีความทันสมัยและตอบสนองต่อความต้องการของนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
นิพัทธา หรรนภา
จตุรงค์ ประเสริฐสังข์
ศรัทธาชาติ ศรีสังข์
Copyright (c) 2024 วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-17
2024-10-17
6 3
57
66
-
การศึกษาสภาพการส่องสว่างที่สอดคล้องกับนาฬิกาชีวภาพของร่างกายในอาคารสำนักงานที่มีการวางผังแบบเปิดในกรุงเทพมหานคร
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/article/view/266644
<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและเปรียบเทียบปริมาณการส่องสว่างในพื้นที่ทำงานของอาคารสำนักงานและประเมินประสิทธิภาพของแสงเพื่อการกระตุ้นระบบนาฬิกาชีวภาพตามเกณฑ์ Well Building standard และเพื่อประเมินคุณภาพการนอนหลับและระดับความง่วงนอนตอนกลางวันจากการสัมผัสแสงในพื้นที่ทำงานตามเกณฑ์แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับของแบบสอบถามพิตส์เบิร์ก (The Pittsburgh Sleep Quality Index : PSQI) และแบบประเมินระดับความง่วงนอนตอนกลางวัน (Epworth Sleepiness Scale : ESS) โดยใช้การสำรวจความส่องสว่าง (Lux) บนระนาบพื้นโต๊ะทำงานและอุณหภูมิแสง (Kelvin) ในตำแหน่งที่นั่งทำงานประจำของบุคคล จากการศึกษาพบว่าปริมาณแสงสว่างในพื้นที่ไม่สามารถกระตุ้นระบบนาฬิกาชีวภาพตามเกณฑ์ของ Well Building standard โดยมีค่าเฉลี่ยของความส่องสว่างทั้ง 3 ชั้น ( 23, 25 และ 27) อยู่ที่ 460.97 หรือ Melanopic Lux เท่ากับ 207.44 ซึ่งเป็นค่าความส่องสว่างเพื่อการใช้งานปกติในอาคารเท่านั้น ไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นการทำงานของระบบนาฬิกาชีวภาพ โดยปริมาณความส่องสว่างในพื้นที่ทำงานเฉพาะที่ส่งผลต่อนาฬิกาชีวภาพที่เหมาะสมคือ ≥ 560 Lux (หลอดFluorescent) หรือ Melanopic Lux เท่ากับ 250 ขึ้นไปอย่างน้อย 4 ชั่วโมงต่อวันหรือทุกวันตลอดทั้งปี ซึ่งสอดคล้องกับผลประเมินด้านคุณภาพการนอนหลับและระดับความง่วงนอนในตอนกลางวันจากการทำแบบประเมินของกลุ่มผู้เข้าร่วม พบว่าสัดส่วนผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่มีคุณภาพการนอนไม่ดีร้อยละ 71 และมีระดับความง่วงนอนตอนกลางวันมากกว่าปกติร้อยละ 46 ซึ่งผลคะแนนประเมินมีความสัมพันธ์กับสัดส่วนของการใช้แสงธรรมชาติในอาคารที่มีน้อยและใช้แสงประดิษฐ์ (Fluorescent) เป็นแสงหลักและเป็นแสงที่ไม่มีประสิทธิภาพการกระตุ้นระบบนาฬิกาชีวภาพ ฉะนั้นการบริหารจัดการอาคารสำนักงานควรให้ความสำคัญด้านแสงสว่างของสภาพแวดล้อมและแสงสว่างภายในให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์การกระตุ้นนาฬิกาชีวภาพเพื่อส่งเสริมสุขภาวะที่ดีและประสิทธิภาพการทำงานของผู้ใช้พื้นที่ภายในอาคาร</p>
ธีริทธิ์ บริสุทธิ์
ธาริณี รามสูต
Copyright (c) 2024 วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-17
2024-10-17
6 3
68
80
-
Built Environment and Users’ Behavior in Co-sharing Spaces: A Comparative Study of Traditional and Modern Real Estate Development in the Bangkok Metropolitan Region
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/article/view/267171
<p>The goal of this comparative study is to provide real estate developers, urban planners, and architects with a deeper understanding of the development and management of the built environment and users’ behaviour. This understanding can serve as an alternative investment strategy for the changing demands of the new target market. The main objectives of this research are 1) to study the behaviour of tenants and visitors in the environment of modern types of real estate development of the co-sharing spaces consisting of co-working space, serviced offices, and hostels and 2) to compare the modern types with traditional types of real estate consisting of home-based work/ café, traditional offices, and hotels. An in-depth structured interview of 19 samples was conducted as the primary approach to collecting information based on real estate in the Bangkok Metropolitan Region (BMR), Thailand.</p> <p>The result of this study reveals that the built environments of modern real estate types differ significantly from traditional types, particularly in terms of design objectives (functional, aesthetic, and symbolic). This difference also influences users’ physical determinism, which affects overt behaviour comprising personal space, territoriality, and privacy. However, this decline in overt behaviour does not imply a disadvantage in developing modern types of real estate projects. On the contrary, due to the users' underlying concerns, developers can adapt these development concepts to enhance project opportunities in particular dimensions of cost-saving, focus and convenience, and new experiences. Therefore, properly balancing design objectives (aesthetic, symbolic, and functional aspects) and overt behavior (personal space, territoriality, and privacy) is crucial to conveying the success of development purposes for the new generations.</p>
Niti Rattanaprichavej
Monthinee Teeramungcalanon
Kang Hogu
Copyright (c) 2024 วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-17
2024-10-17
6 3
82
99
-
แนวทางการออกแบบศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม ของหน่วยงานภาครัฐและชุมชน จังหวัดน่าน
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/article/view/268697
<p>จังหวัดน่านนับเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ หน่วยงานส่วนท้องถิ่นจึงมีแนวคิดจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแบบไม่พักค้างคืนขึ้น ซึ่งมีเป้าหมายให้เป็นโครงการที่ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้ทำงานร่วมกันผ่านการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์ในงานวิจัย คือ ศึกษากระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อนำไปสู่การสร้างแนวทางการออกแบบศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่เหมาะสมตามหลักบริการสุขภาพ และศึกษากิจกรรมการทำงานแบบมีส่วนร่วมที่ส่งเสริมทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 โดยผลการวิจัยภายใต้แนวคิดการทำงานแบบมีส่วนร่วมพบว่า ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแบบไม่พักค้างคืน ควรมีพื้นที่ใช้สอยเพื่อการดูแล ฟื้นฟู สุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เป็นหลัก ได้แก่ ส่วนกายภาพบำบัด ส่วนกิจกรรมบำบัด และส่วนออกกำลังกายเพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ซึ่งผลที่ได้นั้น เป็นผลลัพธ์ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพึงพอใจ อีกทั้งกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมโดยมีสถาบันการศึกษาเป็นผู้ผลิตผลงาน ยังเป็นการสร้างระบบนิเวศน์แห่งการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 ตามความต้องการของตลาดในอนาคต</p>
นิลุบล ปุระพรหม
Copyright (c) 2024 วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-17
2024-10-17
6 3
101
119
-
การศึกษาการออกแบบภูมิทัศน์เพื่อประยุกต์ใช้ในการบำบัดน้ำเสียครัวเรือน
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/article/view/264729
<p>งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อออกแบบภูมิทัศน์บ้านที่เหมาะสมสำหรับการบำบัดน้ำเสียครัวเรือน และเสนอแนวทางการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียครัวเรือนตามบริบทของแต่ละพื้นที่ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงพื้นที่ศึกษา 2 แห่ง ใช้แบบสำรวจและแบบสัมภาษณ์เจ้าของบ้านแบบไม่มีโครงสร้างเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลพื้นที่ ข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประเมินศักยภาพพื้นที่ด้วยสมการถ่วงน้ำหนัก(simple weighting scores equations) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและการบรรยายประกอบภาพเชิงพรรณนา จากผลการประเมินศักยภาพพื้นที่ พบว่า ค่าศักยภาพของแปลงที่ 1 เท่ากับ 3.43 และแปลงที่2 เท่ากับ 3.27 ระดับศักยภาพปานกลาง ซึ่งเป็นลักษณะทางกายภาพเป็นภูมิทัศน์ชนบททั่วไปที่มีการปล่อยน้ำทิ้งครัวเรือนตามธรรมชาติ โดยกระบวนการออกแบบพิจารณาจาก 4 ปัจจัยหลัก และ 22 ตัวชี้วัด และมีตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดของทั้ง 2 พื้นที่ ได้แก่ การจัดการพลังงาน (มีการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อลดของเสีย, ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า หรือนำพลังงานธรรมชาติมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ) สำหรับแปลงที่ 1 ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 11.67 และแปลงที่ 2 เท่ากับ 6.67 และปัจจัยระบบป้องกันของเสียหรือป้องกันมลภาวะในพื้นที่ แปลงที่ 1 ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 11.67 และแปลงที่ 2 เท่ากับ 8.33 จากผลลัพธ์เหล่านี้ จึงได้เสนอแนวทางการออกแบบภูมิทัศน์สำหรับบำบัดน้ำเสียครัวเรือนตามบริบทของแต่ละพื้นที่ ได้เป็น 2 รูปแบบ ในแบบที่ 1 แบบบึงประดิษฐ์น้ำอยู่เหนือผิวดิน(free water surface, FWS)ผสมผสานกับระบบกักเก็บน้ำด้วยพืชพรรณบำบัดน้ำเสียรวม(bioretention management practice (BMP) หรือ FWS+BMP) เหมาะกับบ้านที่ไม่มีระบบบำบัดน้ำเสีย และแบบที่ 2 แบบแทรกซึม (infiltration),กรอง (filtration), เติมใหม่ (recharge) หรือแบบ IFR นำมาผสมผสานกับระบบกักเก็บน้ำด้วยพืชพรรณบำบัดน้ำเสียรวม หรือ IFR+BMP ก่อนปล่อยสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะ เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน</p>
พิทักษ์พงศ์ แบ่งทิศ
รมย์ชลีรดา ด่านวันดี
Copyright (c) 2024 วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-17
2024-10-17
6 3
122
133
-
ความคิดเห็นต่อประโยชน์ที่มีแก่โครงการและผู้ปฏิบัติงานในการปฏิบัติงานล่วงเวลา: กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างกลุ่มอาคารชุดพักอาศัย
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/article/view/267204
<p>การปฏิบัติงานล่วงเวลาสามารถถูกนำมาใช้กับสถานการณ์ที่โครงการก่อสร้างต้องเร่งรัดการดำเนินงาน โดยแนวทางนี้มักนำมาใช้กับโครงการก่อสร้างอาคารสูงแม้อยู่ในสถานการณ์ปกติซึ่งทำให้เกิดข้อกังขาถึงการนำมาใช้เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตนหรือเป็นการเอาเปรียบฝ่ายอื่น การศึกษานี้มุ่งสำรวจทัศนคติของผู้ปฏิบัติงานในโครงการ 2 กลุ่ม (กลุ่มผู้มอบหมายให้มีการปฏิบัติงานล่วงเวลาและกลุ่มผู้ปฏิบัติงานล่วงเวลาตามการมอบหมาย) เพื่อประเมินความคิดเห็นที่มีต่อประโยชน์ที่โครงการและผู้ที่ปฏิบัติงานในโครงการก่อสร้างกลุ่มอาคารชุดพักอาศัยกรณีศึกษาพึงได้รับจากการปฏิบัติงานล่วงเวลา ทั้งเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานแต่ละกลุ่มโดยใช้ค่าสถิติทดสอบ Mann-Whitney U ผลการศึกษาสรุปได้ว่าทุกฝ่ายในโครงการเห็นด้วยตรงกันว่าการกำหนดให้มีการปฏิบัติงานล่วงเวลาสามารถทำให้บริษัทและโครงการได้รับประโยชน์โดยตรงและสามารถบรรลุหมุดหมายทั้งทางการเงินและกำหนดเวลาที่ได้วางไว้ ตลอดจนมิได้มีผลจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่จะแสวงหาประโยชน์หรือความได้เปรียบจากการปฏิบัติงานล่วงเวลาจนถึงเป็นการเอารัดเอาเปรียบและสร้างภาระและภาวะการปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสมให้กับตัวผู้ปฏิบัติงานล่วงเวลา</p>
พิเชษฐ์ สุขเสกสรรค์
Copyright (c) 2024 วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-17
2024-10-17
6 3
135
147
-
คุณสมบัติเชิงกลของเสาและคานไม้ประกอบจากไผ่ซางหม่น
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/article/view/264503
<p>เสาและคานไม้ประกอบจากไผ่ซางหม่น ถูกทดสอบคุณสมบัติเชิงกลการต้านทานแรงอัดตามแนวแกน และการต้านทานแรงดัด ลักษณะไม้ไผ่ประกอบใช้การเรียงไม้ไผ่แบบสลับและอัดกาว ตัวอย่างที่ใช้การต้านทานแรงตามแนวแกนของเสาไม้ไผ่ซางหม่นประกอบที่มีขนาดหน้าตัด 3 แบบ โดยใช้ความสูงต่อความกว้างเท่ากับ 2 มีขนาดดังนี้ 10 x 10 ซม. สูง 20 ซม., ขนาด 12.5 x 12.5 ซม. สูง 25 ซม. และขนาด 15 x 15 ซม. สูง 30 ซม. และสำหรับการทดสอบการต้านทานแรงดัดของคานไม้ไผ่ประกอบที่มีขนาดความกว้าง 5 ซม. ยาว 120 ซม. โดยทดสอบที่ 3 ความลึก ได้แก่ 15, 20 และ 25 ซม. จากการศึกษาเสาไม้ไผ่ซางหม่นประกอบ พบว่าเมื่อเสาขนาดที่มีอัตราส่วนความสูงต่อความกว้างที่เท่ากัน เมื่อหน้าตัดที่เพิ่มขึ้น ค่าหน่วยแรงอัดตามแนวแกน ณ ขีดปฏิภาคเพิ่มขึ้น สำหรับ คานไม้ไผ่ซางประกอบความลึกน้อยรับกำลังได้มากกว่า ทั้งนี้พบว่าเสาไม้ไผ่ประกอบมีกำลังสูงกว่าไม้เนื้ออ่อน ขณะที่คานไม้ไผ่ประกอบมีกำลังต่ำกว่าไม้เนื้ออ่อน จากการวิบัติของคานและเสาประกอบจากไม้ไผ่ซางหมน วิบัติเนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวของกาว โดยมีค่าแรงเฉือนเฉลี่ยเท่ากับ 7.3 กก./ตร.ซม. โดยที่ไม่มีความเสียหายในส่วนชิ้นไม้เลย ดังนั้นการพัฒนากำลังของคานและเสาประกอบนี้ จะต้องทำการศึกษาและพัฒนากาว หรือการยึดไม้แผ่นเล็กเข้าด้วยกัน จะทำให้ไม้ประกอบมีกำลังสูงขึ้นจนใช้งานได้ในอนาคต</p>
ศุภชัย สินถาวร
เกษราภรณ์ พานะดร
ชลดา อ่อนนุ่ม
Copyright (c) 2024 วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-17
2024-10-17
6 3
149
161