https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/issue/feed วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง 2024-08-20T00:00:00+07:00 พรทิพย์ เรืองธรรม jadcarch@msu.ac.th Open Journal Systems <p> วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง (Journal of Architecture, Design and Construction : JADC) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นวารสารวิชาการที่จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ องค์ความรู้ของคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา สถาปนิก วิศวกร นักออกแบบและบุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยที่มีความสนใจ ด้านสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง และเพื่อการพัฒนาวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล Thai-Journal Citation Index (TCI) </p> <p> ISSN (Print Edition): 2673-0332 </p> <p> ISSN (Online Edition): 2673-0340 </p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><br /> 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ องค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี<br /> 2. เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ความรู้ ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ องค์ความรู้ของคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิตนักศึกษา สถาปนิก วิศวกร นักออกแบบและบุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย<br /> 3. เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และเป็นฐานความรู้นำไปสู่การพัฒนาทางด้านสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมผังเมือง สาขาสถาปัตยกรรมภายใน ภูมิสถาปัตยกรรม การจัดการงานก่อสร้าง นฤมิตศิลป์ การออกแบบสร้างสรรค์ การออกแบบอุตสาหกรรม และในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/article/view/264036 แนวทางการปรับปรุงอาคารเพื่อลดการใช้พลังงาน กรณีศึกษา : อาคารที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลวะตะแบก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ 2023-10-19T11:05:40+07:00 รุ้งตะวัน กลิ่นเฉย rungtawan.kr@gmail.com ชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์ bchumn@kku.ac.th <p>งานวิจัยนี้ได้นำเสนอแนวทางการปรับปรุงอาคารที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อลดการใช้พลังงาน และทำการประเมินการใช้พลังงานก่อนปรับปรุงอาคาร โดยใช้โปรแกรม BEC V.1.0.6 พบว่า อาคารมีค่า OTTV, RTTV และ LPD ยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานพลังงานขั้นต่ำตามกฎกระทรวงฯ ปี พ.ศ. 2564 จึงเสนอแนวทางการปรับปรุง 4 แนวทาง โดยเสนอวิธีที่สามารถทำได้สะดวกและมีผลกระทบกับรูปลักษณ์อาคารน้อยที่สุด เมื่อทำการปรับปรุงแล้วจึงเสนอแนวทางการใช้พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์กับอาคาร โดยใช้โปรแกรม PVWatts Calculator ผลการศึกษาพบว่า แนวทางที่เหมาะสมเพื่อให้ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐาน คือ การปรับปรุงตามแนวทางที่ 4 โดยการปรับปรุงอุปกรณ์ไฟฟ้าส่องสว่าง ปรับปรุงสีผิววัสดุภายนอก ปรับปรุงวัสดุผนังโปร่งแสง และปรับปรุงวัสดุหลังคาทึบแสง ทำให้สามารถลดค่า LPD ลง 59.15% OTTV 41.55% RTTV 84.92% และค่าการใช้พลังงานโดยรวมของอาคารลดลง 22.46% มีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงอาคารรวม 431,775 บาท และเมื่อร่วมกับแนวทางการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ จำนวน 83 แผง มีค่าใช้จ่ายสำหรับแผงเซลล์แสงอาทิตย์รวม 509,205 บาท ทำให้สามารถเป็นอาคารที่ใช้พลังงานเป็นศูนย์ได้ โดยมีระยะเวลาคืนทุนโครงการ 6.14 ปี</p> <p> </p> 2024-08-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/article/view/268487 แนวทางการออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแสงธรรมชาติและการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติในอาคารจอดแล้วจร 2024-06-14T09:28:16+07:00 ธัญวรัตม์ ศิลวัฒนาวงศ์ silawatanawongse@gmail.com พิมลศิริ ประจงสาร silawatanawongse@gmail.com <p>อาคารจอดรถระบบจอดแล้วจรเป็นองค์ประกอบที่ช่วยส่งเสริมให้การเชื่อมต่อการเดินทางด้วยระบบสาธารณะเป็นไปได้สะดวก และเป็นแรงจูงใจให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางจากการพึ่งพารถยนต์ส่วนตัวเป็นการใช้บริการขนส่งสาธารณะ ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของระบบการคมนาคมที่ยั่งยืน การศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการออกแบบอาคารจอดแล้วจรที่มีการใช้แสงธรรมชาติและการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถสร้างสภาพแวดล้อมภายในอาคารที่มีความปลอดภัยทางการมองเห็นและคุณภาพอากาศให้กับผู้ใช้งาน ผ่านการวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของอาคารที่มีใช้ในปัจจุบัน 2 รูปแบบ คือ แบบพื้นเรียบและพื้นเล่นระดับที่มีความกว้าง 2 ขนาด คือ 32 เมตรและ 60 เมตร ภายใต้สภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร จากผลการจำลองประสิทธิภาพอาคารด้วยโปรแกรม DIALux evo 10.0 และ DesignBuilder v.5.5.2.007 ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบอาคาร ความกว้างของอาคาร และขนาดของช่องเปิดเป็นปัจจัยที่ส่งอิทธิพลต่อค่าความส่องสว่างและอัตราการแลกเปลี่ยนอากาศของอาคาร และอาคารกรณีศึกษาที่สามารถใช้แสงธรรมชาติและการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมภายในอาคารที่มีความปลอดภัยทางการมองเห็นและคุณภาพอากาศตามที่กฎหมายและมาตรฐานกำหนดได้แก่ อาคารจอดรถแบบพื้นเล่นระดับที่มีความกว้าง 32 เมตรและมีความสูงช่องเปิด 1.20-1.40 เมตร</p> 2024-08-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/article/view/264060 สัมภาระทางวัฒนธรรมในการอยู่อาศัยกลุ่มชาติพันธุ์แสก จังหวัดนครพนม 2023-07-26T11:11:56+07:00 ลัคนา อนงค์ไชย lakkana11anongchai@gmail.com อดิศร ศรีเสาวนันท์ lakkana11anongchai@gmail.com <p>งานวิจัยนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยอ้างอิงผลจากการวิจัยรูปแบบสำรวจเชิงพื้นที่ อธิบายลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการใช้หลักการวิจัยแบบบรรยาย ควบคู่กับการสำรวจลงพื้นที่เก็บข้อมูลในงานวิจัย ตามกระบวนการปฏิบัติลงพื้นที่ภาคสนามในงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เน้นการศึกษาเปรียบเทียบผ่านองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอยู่อาศัยของผู้พูดภาษาแสกภายใต้ความเป็นวัฒนธรรมชาติพันธุ์แสกในเขตพื้นที่จังหวัดนครพนมเป็นหลัก โดยศึกษาเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐาน และรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกเรือนกรณีศึกษาและแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ เรือนรูปแบบจากวัฒนธรรมสืบทอด เรือนรูปแบบผสมผสาน และเรือนรูปแบบร่วมสมัย โดยมีเรือนกรณีศึกษาทั้งหมด 15 หลัง</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า การย้ายถิ่นฐานในช่วงแรกเป็นการย้ายถิ่นฐานลักษณะรูปแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ จากความจำเป็นใน 2 ปัจจัยหลัก กล่าวคือ ปัจจัยด้านการดำรงชีพจากผลกระทบของภัยสงครามและปัจจัยด้านการย้ายถิ่นเพื่อหาพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ใหม่ ถือเป็นการย้ายถิ่นฐานในระดับพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ช่วงที่สองคือหลังภัยสงคราม เป็นการย้ายถิ่นฐานลักษณะรูปแบบการกระจายตัวตามแนวคิดกระบวนการเกิดของชุมชน ใน 2 รูปแบบคือ รูปแบบการเกิดของชุมชนระหว่างบุคคลต่อกลุ่มคน และรูปแบบการเกิดของชุมชนระหว่างกลุ่มสังคมและกลุ่มชุมชนวัฒนธรรมเดียวกันที่มีความคล้ายคลึงกัน ลักษณะรูปแบบเรือน สิ่งที่คงอยู่ความดั้งเดิม คือ พื้นที่เรือนนอนกับพื้นที่เซีย สิ่งที่ปรับเปลี่ยน คือ พื้นที่ครัวบนเรือนมีการถูกจัดวางในลักษณะที่ต่างกัน สิ่งที่เปลี่ยนแปลงละทิ้ง คือ ความต่างของระดับเรือน และรูปแบบการต่อขยายเรือนที่เปลี่ยนเปลี่ยนไป สะท้อนถึงวิถีชีวิตในรูปแบบใหม่ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงไป</p> 2024-08-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/article/view/268993 สำรวจพื้นที่มีชีวิตชีวาของย่านช้างม่อยด้วยแนวคิดของญาน เกห์ล 2024-06-04T10:36:27+07:00 ธนกร เจริญเชื่อมสกุล thanakornsingsom@gmail.com สันต์ สุวัจฉราภินันท์ sant.s@cmu.ac.th <p>บทความวิจัยชิ้นนี้มุ่งเน้นไปที่การศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความมีชีวิตชีวาภายในย่านช้างม่อย โดยมีจุดประสงค์เพื่อเข้าไปสำรวจและแยกองค์ประกอบพื้นที่เมืองด้วยแนวคิดเมืองมีชีวิตของญาน เกห์ล ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 อย่าง ได้แก่ ผู้คน กิจกรรม และพื้นที่เมือง เพื่อวิเคราะห์และทำความเข้าใจกลไกการทำงานร่วมกันภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสมจนกระทั่งก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้คนและนำไปสู่ความมีชีวิตชีวาภายในย่านช้างม่อย การศึกษาวิจัยใช้วิธีการสังเกตการณ์ด้วยเครื่องมือแบบเดียวกับที่เกห์ลใช้งานจากหนังสือวิธีเรียนรู้ชีวิตสาธารณะที่เขาได้เขียนร่วมกับสวาร์ ได้แก่ การวาดผัง การลากตามรอย และการถ่ายภาพเพียงเท่านั้น ทุกเครื่องมือดังกล่าวเป็นวิธีการบันทึกข้อมูลโดยหลีกเลี่ยงการมีส่วนร่วมกับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อไม่ให้ข้อมูลของพื้นที่ถูกรบกวนจากการเข้าไปมีส่วนร่วมของผู้วิจัย ท้ายที่สุดแล้วผลสรุปจากการศึกษาพื้นที่มีชีวิตชีวาของย่านช้างม่อย แสดงให้เห็นว่า พื้นที่มีชีวิตชีวาของย่านช้างม่อยมีอยู่เพียงแค่บริเวณจุดตัดระหว่างถนนช้างม่อยและถนนช้างม่อยเก่าเท่านั้น ซึ่งเกิดจากมีเงื่อนไขทั้งสามข้อครบถ้วน ได้แก่ จำนวนคนและระยะเวลาที่ปรากฏตัว กิจกรรมทางเลือกมากกว่ากิจกรรมจำเป็น และริมขอบอ่อนนุ่ม อันเกิดจากอิทธิพลของอาคารหัวมุมถนนบริเวณนั้นช่วยส่งเสริมให้เกิดขึ้น ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากายภาพบริเวณอื่น ๆ ของย่าน ช้างม่อยให้มีชีวิตชีวาเพิ่มขึ้นเหมือนกันได้</p> <p> </p> 2024-08-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/article/view/264063 Public Understanding and Opinion on Thai Wellbeing Standard 2023-08-15T11:54:46+07:00 Thanunchai Limpakom thanunchai.l@rsu.ac.th <p>The idea of wellbeing is based on Abraham Maslow’s theory called “the Hierarchy of Needs” and Martin Seligman’s theory called “PERMA”. In Year 2021, the Thailand Green Building Institute (TGBI) issued the SOOK building standard as a design and evaluation criterion for buildings. Upon review, the researcher found that both theories and the standard were in conflict. Therefore, this research aims to investigate people’s perceptions of the standard and to identify which criteria are important to them. The research questions, therefore, focused on public understanding and opinions about the standard as well as the criteria considered most essential. The researcher selected about 800 members who met the criteria from the Khon Design group as population and distributed online questionnaires. After 2 months with 122 participants, constituting approximately 15.25% of the total population which is considered a proper sample size. The poll results revealed that 91% knew its benefits, but 56.2% believed that the standard was merely a marketing tool. They merely devoted themselves to general items such as plants, safety, universal design, light, thermal comfort, ventilation, and noise, with percentages of 81%, 86.9%, 83.6%, 79.5%, 86.9%, 81.1%, and 78.7% respectively. Conversely, they exhibited less concern for certain aspects: 33.8% expressed awareness of the sense of place, 61.5% considered toxic materials, 50% were mindful of smoking control, and 57.4% were concerned about air leakage. Moreover, while the standard related to both architectural and engineering design, participants demonstrated more attention to architectural design aspects than to engineering systems.</p> 2024-08-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/article/view/265270 การพัฒนารูปแบบเครื่องประดับถมเงินนคร จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเพิ่มมูลค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น 2023-10-03T14:51:00+07:00 เรวัต สุขสิกาญจน์ suksikarn@gmail.com เจษฎา สุขสิกาญจน์ jedsada_pat@nstru.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบเครื่องประดับถมเงินนคร ให้มีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายใหม่จากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่ มีรูปแบบที่ร่วมสมัยและจัดจำหน่ายได้ในเชิงพาณิชย์ โดยใช้วิธีการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนกลุ่มนครหัตถกรรม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช วิธีดำเนินการเริ่มตั้งแต่ศึกษารูปแบบดั้งเดิมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพัฒนารูปแบบใหม่ ศึกษาแนวทางในการพัฒนาร่วมกับชุมชน วางแผนดำเนินการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ปฏิบัติการออกแบบ ผลิตต้นแบบเครื่องประดับถมเงินนครและผลิตซ้ำเพื่อจัดจำหน่าย ผลการวิจัยพบว่าชุมชนมีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีรูปแบบที่ร่วมสมัยเพื่อขยายฐานของผู้บริโภคให้กว้างขึ้น มีผู้เข้าร่วมดำเนินการพัฒนารูปแบบ จำนวน 20 คน สรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาการออกแบบ ต้องเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบแปลกใหม่ สวยงาม มีขนาดที่เหมาะสม ผลิตได้ง่ายในเชิงช่าง ราคาไม่แพง และยังคงคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์มี 2 กิจกรรม ได้แรงบันดาลใจและแนวคิดการออกแบบมาจากหยดน้ำ และ นครสองธรรม ออกแบบเป็นชุดเครื่องประดับ ประกอบด้วย สร้อยคอและจี้ แหวน กำไลหรือสร้อยข้อมือ และต่างหู ทดลองผลิตต้นแบบด้วยกรรมวิธีเชิงช่าง และแบบสมัยใหม่ด้วยการหล่อเหวี่ยง ระดับความพึงพอใจในผลงานมีค่าเฉลี่ยรวม 4.57 อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเฉลี่ยรวม 0.548 ประโยชน์ที่ได้รับครั้งนี้ ชุมชนผู้ผลิตมีความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์เครื่องประดับถมเงินนคร ให้มีความแปลกใหม่จากที่ทำแต่รูปแบบเดิม รูปแบบที่ได้รับการพัฒนาเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภค เกิดการทำงานเป็นทีม เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ต้นแบบผลิตภัณฑ์สามารถผลิตซ้ำและนำไปจัดจำหน่ายเชิงพาณิชย์ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน </p> <p> </p> 2024-08-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/article/view/266292 การพัฒนาแผ่นชิ้นไม้อัดชุมชนอย่างยั่งยืนเพื่อใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก 2024-01-03T15:45:46+07:00 ชานนท์ ตันประวัติ chanon.t@rmutp.ac.th ศรัณยู สว่างเมฆ chanon.t@rmutp.ac.th <p> การวิจัยนี้เป็นการศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจ BCG โดยชุมชนพื้นที่วิจัยมีพื้นฐานในการผลิตแผ่นชิ้นไม้อัด ซึ่งสามารถถอดความรู้สู่ชุมชนอื่นๆ ได้ โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์และวางแนวทางในการพัฒนาแผ่นชิ้นไม้อัดสำหรับชุมชนอย่างยั่งยืน 2) เพื่อทดลองส่วนผสมวัสดุสำหรับใช้ในการพัฒนาแผ่นชิ้นไม้อัดจากวัตถุดิบในชุมชนพื้นที่วิจัย 3 ) เพื่อทดสอบ วิเคราะห์ และสรุปผลแผ่นชิ้นไม้อัดที่พัฒนาในโครงการ</p> <p>วิธีการศึกษา ใช้วิธีการลงพื้นที่ชุมชน เก็บข้อมูลและสรุปประเด็นเพื่อวางแนวทางในการพัฒนาแผ่นชิ้นไม้อัดสำหรับชุมชนอย่างยั่งยืนและนำแนวทางการพัฒนาที่กำหนดไปสู่การทดลองส่วนผสมของวัตถุดิบ เพื่อสร้างสีและพื้นผิวของแผ่นชิ้นไม้อัดโดยใช้แผนการทดลองส่วนผสมแบบเส้นตรง จำนวน 20 สูตร จากนั้นนำแผ่นชิ้นไม้อัดที่ได้ไปทดสอบและวิเคราะห์คุณสมบัติและทดลองใช้งานในการสร้างผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง</p> <p>ผลการทดลอง พบว่า 1) แนวทางในการพัฒนาแผ่นชิ้นไม้อัดสำหรับชุมชนอย่างยั่งยืน สามารถใช้กำหนดเป็นปัจจัยในการวิเคราะห์สำหรับชุมชนต่างๆ 2) วัตถุดิบที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ผงถ่านใช้เป็นส่วนผสมในวัสดุได้ไม่เกิน 10 % กากกาแฟสามารถใช้เป็นส่วนผสมเพื่อให้เกิดสีและค่าน้ำหนักในแผ่นชิ้นไม้อัดได้ไม่เกิน 70 % ของน้ำหนักวัตถุดิบรวม แผ่นชิ้นไม้อัดที่พัฒนาในโครงการจำนวน 8 ตัวอย่าง มีค่าความหนาแน่น ค่าความชื้น ค่าการพองตัวตามความหนา ค่าความต้านทานแรงดึงตั้งฉากกับผิวหน้า อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และ 3) สามารถนำแผ่นชิ้นไม้อัดไปสร้างสรรค์เป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกได้ตามแนวทางที่กำหนดไว้ได้</p> <p> </p> 2024-08-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/article/view/265206 การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ข้าวเจ็กเชยเสาไห้ (ข้าว GI) จังหวัดสระบุรี 2023-11-16T14:09:32+07:00 มัทธนี ปราโมทย์เมือง mattanee.p@rmutp.ac.th <p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น 2) เพื่อประเมินผลความพึงพอใจต่อรูปแบบใหม่ของผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ข้าวเจ็กเชยเสาไห้ (ข้าว GI) จังหวัดสระบุรี โดยใช้เครื่องมือในงานวิจัยรูปแบบผสมผสาน ใช้วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการศึกษาค้นคว้าข้อมูล การสัมภาษณ์ สนทนากลุ่มย่อย แบบสอบถาม โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ผล เพื่อกำหนดแนวคิดนำสู่กระบวนการออกแบบ พัฒนา ผลิตต้นแบบผลงานและประเมินผลความพึงพอใจต่อรูปแบบใหม่ของผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ จากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนและนักท่องเที่ยวภายในจังหวัดสระบุรี จำนวน 70 คน ผลการวิจัย พบว่า “ฟางข้าว” เป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรของพื้นที่จากการทำนา เกี่ยวข้าวที่จะเผาทำลาย มาทำให้เกิดประโยชน์ เป็นกระดาษจากฟางข้าว แล้วต่อยอดสู่กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ มี 2 ส่วน คือ 1) การออกแบบกระเป๋าสะพายและการะเป๋าถือสำหรับสุภาพสตรี และ 2) การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เป็นลักษณะสายคาดกล่องอาหาร, ป้ายสินค้า (Tag) และเป็นหูจับ ซึ่งในการประเมินผลรูปแบบใหม่ของผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.23 และแยกข้อย่อยหัวข้อที่มีความพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ 1) ที่มีการนำฟางข้าวมาใช้ได้เหมาะสมและเกิดประโยชน์ได้อย่างดี มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.35 </p> 2024-08-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/article/view/262722 การประเมินความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างบนที่สูง ของโครงการก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร 2023-05-31T16:33:46+07:00 สุนันท์ มนต์แก้ว sunun.m@rmutp.ac.th ชูเกียรติ ชูสกุล sunun.m@rmutp.ac.th ไพศาล สุขสม sunun.m@rmutp.ac.th <p>จากสถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานในงานก่อสร้าง มีผู้ประสบอันตรายที่ระดับความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตอยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาก ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการตกจากที่สูง งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างบนที่สูง แบบประเมินความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างบนที่สูง ถูกพัฒนาขึ้นโดยอ้างอิงมาจากกฎกระทรวงแรงงาน 2 เรื่อง คือ (1) อันตรายจากการตกจากที่สูง วัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และ (2) การทำงานเกี่ยวกับนั่งร้านและค้ำยัน พ.ศ. 2564 ได้รายการประเมิน จำนวน 25 หัวข้อ จากนั้นนำไปประเมินความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างบนที่สูง ของโครงการก่อสร้างอาคารสูงในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 20 โครงการ พบว่า ระดับความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างบนที่สูงอยู่ในเกณฑ์ที่ดี อย่างไรก็ตามยังพบว่า สถานที่ก่อสร้างบางโครงการยังคงละเลยเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องในงานก่อสร้าง ต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันอันตรายเกี่ยวกับการตกจากที่สูง</p> 2024-08-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/article/view/263796 การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปและพฤติการณ์ของผู้รับจ้างที่ถูกระบุให้เป็นผู้ทิ้งงานก่อสร้างภาครัฐโดยการแจกแจงแบบไคสแควร์ 2023-12-15T14:00:27+07:00 อนันต์ สาวะโห aann.008@gmail.com เมธากุล มีธรรม may.metham@gmail.com เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์ cherdsak.su@rmuti.ac.th นาถ สุขศีล nartsooksil@npu.ac.th <p>เนื่องจากโครงการก่อสร้างงานราชการในปัจจุบันยังมีความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง ทำให้ได้ผู้รับจ้างที่ขาดศักยภาพและความพร้อมมาดำเนินโครงการ ส่งผลให้งานไม่ได้คุณภาพ ส่งมอบงานล่าช้า หรือส่งมอบงานไม่ได้และเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ผู้รับจ้างเกิดการทิ้งงาน นอกจากนั้นปัญหาการทิ้งงานอาจเกิดจากสาเหตุอื่นอีกในหลายปัจจัย ทั้งจากผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้าง ข้อจํากัดต่าง ๆ ในงานก่อสร้าง ตลอดจนถึงการบริหารงานก่อสร้างที่ขาดประสิทธิภาพจนส่งผลทำให้เกิดความล่าช้า ไม่สามารถส่งมอบงานตามกำหนดทำให้เกิดค่าปรับและส่งผลให้ผู้รับจ้างตัดสินใจทิ้งงานในที่สุด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและระบุพฤติการณ์ของผู้รับเหมาที่ถูกระบุให้เป็นผู้ทิ้งงานก่อสร้างภาครัฐ เพื่อที่จะนำผลที่ได้ไปใช้เป็นข้อสังเกตในกระบวนจัดหาผู้รับจ้าง เพื่อที่จะไม่ให้ได้ผู้รับจ้างที่มีแนวโน้มจะเป็นเป็นผู้ทิ้งงานต่อไป กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ คือผู้รับเหมาที่ทิ้งงานก่อสร้างภาครัฐ ตามหนังสือแจ้งเวียนผู้ทิ้งงานของกระทรวงการคลัง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2563 จำนวน 154 ราย หลักการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ Chi-Square ด้วยวิธีเปียร์สัน ได้ถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์พฤติการณ์หรือแนวโน้มของผู้รับจ้างที่มีโอกาสจะถูกระบุให้เป็นผู้ทิ้งงาน ซึ่งพบว่า ผู้รับจ้างที่มีรูปแบบการจดทะเบียนแบบบุคคล มีรูปแบบทุนจดทะเบียนนามบุคคล รับงานมูลค่าโครงการ ≤ 1 ล้านบาท รับงานก่อสร้างประเภทอาคาร และอยู่ในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย นั้นมีโอกาสจะถูกระบุให้เป็นผู้ทิ้งงานก่อสร้างภาครัฐ</p> 2024-08-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง