กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาด้วยระบบสารสนเทศเพื่อรองรับยุคโลกพลิกผัน (VUCA World) วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • สายสิริ สายยศ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพระบบนิเวศของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ (2) กำหนดกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาด้วยระบบสารสนเทศเพื่อรองรับยุคโลกพลิกผัน วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ (3) ดำเนินการตามกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาด้วยระบบสารสนเทศเพื่อรองรับ ยุคโลกพลิกผัน วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ และ (4) ประเมินผลการดำเนินการตามกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาด้วยระบบสารสนเทศเพื่อรองรับยุคโลกพลิกผัน วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ การดำเนินการวิจัย เริ่มจากการศึกษาสภาพระบบนิเวศของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ กับตัวแทนผู้บริหาร  ครู บุคลากรทางการศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ ร่างเป็นกลยุทธ์ นำไปสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สรุปและปรับปรุงแก้ไขเพื่อนำไปสนทนากลุ่มอีกครั้ง สรุปเป็นกลยุทธ์ นำไปดำเนินการภายใต้โครงการ 5 โครงการ และประเมินผลการดำเนินการตามกลยุทธ์ จากตัวแทนผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามกลยุทธ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพระบบนิเวศของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ เป็นแหล่งวิทยบริการด้านวิชาการ วิชาชีพแก่ชุนชนและสังคม สามารถพัฒนาอาชีพให้แก่ชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา ช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสทางการศึกษา มีความรู้ความสามารถ มีทักษะทางวิชาชีพ ควรส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน การวิจัยประยุกต์ เพื่อนำผลการวิจัยมาใช้ในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน พัฒนางานบริหารทั่วไป และพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้สมบูรณ์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น2) ผู้ทรงคุณวุฒิ เห็นด้วยในระดับมากที่สุด กับกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาด้วยระบบสารสนเทศเพื่อรองรับยุคโลกพลิกผัน วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ ที่ประกอบด้วย (1) การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information System) เพื่อการบริหารสถานศึกษายุคโลกพลิกผัน (2) ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการความรู้แบบ Team Learning สู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) (3) ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูและบุคลากรมีวิธีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) (4) ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างงานสร้างอาชีพสู่ชุมชน 3) ผลการดำเนินการตามกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาด้วยระบบสารสนเทศเพื่อรองรับยุคโลกพลิกผัน วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ ผลการดำเนินการตามกลยุทธ์ทุกโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีการสร้างและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา 4) ผลการประเมินผลการดำเนินการตามกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาด้วยระบบสารสนเทศ เพื่อรองรับยุคโลกพลิกผัน วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ ที่มีต่อผลการดำเนินการตามกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาด้วยระบบสารสนเทศเพื่อรองรับยุคโลกพลิกผัน วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ ทุกโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กมลวรรณ จันทร, และศัลสนีย์ จะสุวรรณ์ (2564). การบริหารสถานศึกษายุคโลกพลิกผัน ฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

จุฑาลักษณ์ พิมพร. (2560). การศึกษาความพึงพอใจของครูต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, 1-7.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. Veridian E-Journal Humanities, Social Sciences, and Arts Silpakorn University, 10(2), 1342-1354.

เชฎฐพร ปิติพล. (2557). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรองรับการตรวจประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา. Veridian E-Journal Science and Technology Silpakorn University, 1(6), 15-25.

บุญธรรม อ้วนกันยา, ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ, วาโร เพ็งสวัสดิ์, และพรเทพ เสถียรนพเก้า. (2562). กลยุทธ์การบริหารงานการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา ขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 15(1), 25-35.

พงษ์ศักดิ์ สาลีกงชัย. (2562). กลยุทธ์การพัฒนาสถานศึกษาสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(8), 4133-4148.

พระมหาจักรพล สิริธโร. (2564). การศึกษาในยุค New Normal The New Normal in Education.

Journal of Modern Learning Development, 6(6), 346-356.

วรรณศร จันทโสลิด. (2560). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในองค์กรกรณีศึกษามหาวิทยาลัย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สิริพร อินทสนธิ์. (2563). โควิด - 19: กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), 203-214.

อุมาพร ห่านรุ่งชโรทร. (2560). การประยุกต์ใช้แบบจำลองนิเวศวิทยาในการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 11(2), 78-85.

เผยแพร่แล้ว

24-12-2022