สภาพที่เป็นจริงกับสภาพที่คาดหวังในการจัดสวัสดิการสังคมสังคม ของเทศบาลตำบลหนองปล่อง อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • สากล พรหมสถิตย์
  • สถาพร วิชัยรัมย์
  • ธนพัฒน์ จงมีสุข
  • รชต อุบลเลิศ
  • ธัญญรัตน์ พุฑฒิพงษ์ชัยชาญ
  • ญาสุมิน สาระปัญญา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริงกับสภาพที่คาดหวังในการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลหนองปล่อง อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสภาพที่เป็นจริงกับสภาพที่คาดหวังในการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ของเทศบาลตำบลหนองปล่อง อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลหนองปล่อง อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 279 คน โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ตามสูตรคำนวณของ ทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม เรื่อง สภาพที่เป็นจริงกับสภาพที่คาดหวังในการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลหนองปล่อง อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐาน t-test (t-test for Independent ) ผลการวิจัยพบว่า

1) ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองปล่อง อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ มีระดับสภาพความเป็นจริงได้รับสวัสดิการสังคม โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (  = 3.33) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย พบว่า การจัดสวัสดิการสังคมด้านสุขภาพ มีค่าเฉลี่ยมากสุด ( = 3.58) รองลงมา คือ สวัสดิการสังคมด้านการบริการทางสังคม ( = 3.25) ส่วนสวัสดิการสังคมด้านรายได้ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( = 3.18) ตามลำดับ และระดับสภาพที่คาดหวังในการจัดสวัสดิการสังคม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.89) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย พบว่า สวัสดิการสังคมด้านการบริการทางสังคมมีค่าเฉลี่ยมากสุด ( = 4.28) รองลงมา คือ สวัสดิการสังคมด้านรายได้ ( = 4.17) ส่วนสวัสดิการสังคมด้านสุขภาพมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( = 3.25) ตามลำดับ

2) ผลการเปรียบเทียบสภาพความเป็นจริงและสภาพที่คาดหวังในการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลหนองปล่อง อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมทั้ง 3 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หมายความว่า สภาพที่คาดหวังมีระดับที่สูงกว่าสภาพที่เป็นจริงในการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลหนองปล่อง อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์

3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาล       ตำบลหนองปล่อง อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า อยากให้เทศบาลจัดทำโครงการส่งเสริมส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้านของผู้สูงอายุเพิ่มเข้าไปในแผนพัฒนาท้องถิ่น  ทำให้ผู้สูงอายุมีรายได้เพิ่มขึ้น

References

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2549). แผนพัฒนางานสวัสดิการสังคม

และสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ฉบับที่ 4 (2545-2549). กรุงเทพฯ: สำนักงาน

คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ.

โกวิทย์ พวงงาม. (2552). มิติใหม่การปกครองท้องถิ่น วิสัยทัศน์กระจายอำนาจ และการบริหารงานท้องถิ่น (พิมพ์ครั้งที่5). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

จันทร์เพ็ญ ลอยแก้ว. (2555). การศึกษาความต้องการในการได้รับสวัสดิการสังคมสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. รัฐประศาสนศาสตมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

จินตนา รอดอารมณ์. (2554). ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการจัดสวัสดิการสังคมสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองกิ่ว อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ) คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์. (2542). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. บุรีรัมย์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

“พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่น พ.ศ. 2542” ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116. ตอนที่ 114 ก. หน้า 48-66.

พฤศจิกายน 2542.

วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย. (2552). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2

(2545- 2564). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Maslow, A. (1943). A Theory of Human Motivation Psychological Review. New York: McGraw-Hill.

เผยแพร่แล้ว

03-12-2021