ปัจจัยการพัฒนานักศึกษา การส่งเสริมและเตรียมความพร้อมด้วยสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

ผู้แต่ง

  • วณิชา แผลงรักษา
  • นิธิโรจน์ ศุภกฤษสุวรรณกุล
  • กุลกันยา ศรีสุข
  • อนงค์ ทองเรือง
  • คธาวุฒิ จันบัวลา
  • ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง
  • ชลิตา เจริญเนตร

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, การพัฒนานักศึกษา, การเตรียมความพร้อม, ด้วยสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

บทคัดย่อ

รวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยในการพัฒนานักศึกษา การส่งเสริมและเตรียมความพร้อม ด้วยสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อปัจจัยในการพัฒนานักศึกษา และการเตรียมความพร้อม ด้วยสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำแนกตามเพศ อายุ ระดับชั้นปีและเกรดเฉลี่ยสะสม ผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอันเกิดประโยชน์ต่อนักศึกษา สถานศึกษาและกลุ่มตัวอย่างเป็นจากนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำนวน 199 คน สถิติที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเพศหญิง (66.83%) ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นปีที่ 1 มากที่สุด (29.65%) รองลงมาเป็นนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 3 และนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 2 (25.63%) ช่วงเกรดเฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.99 – 2.50 มากที่สุด (35.68%) และรองลงมาคือเกรดเฉลี่ย 2.49 – 2.00 (27.14%) มีความพึงพอใจต่อปัจจัยในการพัฒนานักศึกษา และการเตรียมความพร้อมด้วยสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ อยู่ในระดับที่แตกต่างกัน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากที่สุดไปหาน้อย รายด้านของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจโดยรวมเป็นรายด้านอยู่ในระดับอยู่ในระดับมากที่สุด ( X̅ =4.58, S.D.=0.67) เมื่อพิจารณารายได้ตามความพึงพอใจ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย โดย 3 ลำดับแรกอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ลำดับที่ 1 ได้แก่ ด้านการรับและเตรียมพร้อมแก่นักศึกษา ( =4.68, S.D.=0.73) ลำดับที่ 2 ด้านปัจจัยเกื้อกูลในการเรียนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ (X̅ =4.61, S.D.=0.58) และลำดับที่ 3 ด้านการจัดการเรียนการสอน และการให้คำปรึกษา ( X̅ =4.59, S.D.=0.72) รองลงมาคือระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านรับรู้ข่าวสาร ( X̅ =4.57, S.D.=0.74), ด้านการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา ( X̅ =4.55, S.D.=0.64) และด้านการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา (X̅ =4.53, S.D.=0.64) ซึ่งมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในส่วนของการร้องเรียนของนักศึกษาและได้มีการจัดการด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ โดยสรุปดังนี้ จำนวนคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอสำหรับนักศึกษา

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ประการกระทรวง
ศึกษาธิการ.กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). จำนวนนักเรียน นักศึกษา
ในระบบ จำแนกรายสถานศึกษา รายจังหวัด
ปีการศึกษา.ค้นเมื่อ 21 เมษายน 2564 จาก
http://www.mis.moe.go.th/in
dex.php?option=com_content&view=ar
ticle&id=557&Itemid=113
จตุรวัฒน์ ผนึกรัมย์. (2557). การมีส่วนร่วมในกิจกรรม
นักศึกษาของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี
มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี.ปีการศึกษา
2556. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
สุรนารี
นิภา ศรีไพโรจน์, อำนาจ เงินงามมีสุข. (2557). บทบาท
ผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการ
เรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของ
โรงเรียนใน สหวิทยาเขตสัตตบงกช สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต
4.กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวัดและประเมินผล
ทางการศึกษา : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประภาพรรณ เส็งวงค์ (2551). การพัฒนานวัตกรรมการ
เรียนรู้ด้วยการวิจัยในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพฯ : อี.เค.บุค๊ส์.
ปราโมทย์ จันทร์เรือง. (2553). การพัฒนารูปแบบการ
จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการทักษะการ
คิดและการสรรค์สร้างความรู้สำหรับนักเรียน
ช่วงชั้นที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏเทพสตรี, 21(1), 29.
พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. (2542). จิตวิทยาทางการศึกษา.
กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.
พัชรินทร์ กันต์ไพเราะ. (2554). ความพึงพอใจในการ
ปฏิบัติงานและข้อร้องเรียนของบุคลากรโรง
พยาบาลบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ.
ปัญหาพิเศษรัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต,
สาขานโยบาย สาธารณะ, วิทยาลัยการบริหาร
รัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์.(2553). กระบวนการออกแบบย้อน
กลับ : การพัฒนาหลักสูตรและออกแบบ การ
สอนอิงมาตรฐาน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เพิ่มศักดิ์ บัวล่อง. (2553). การประเมินความพึงพอใจ
ที่มีต่อการจัดการเรียนของนักศึกษาจาก
ประเทศกัมพูชาที่ศึกษาในอาชีวศึกษา ศรีษะเกษ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มาลินี วงษ์สิทธิ์, ศิริวรรณ ศิริบุญ และอัจฉรา เอ๊นซ์.
(2541). รายงานเบื้องต้นการมีส่วนร่วมของ
ชุมชนในการให้การดูแลให้บริการและ
กิจกรรมต่าง ๆ แก่ผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร:
สถาบันประชากรศาสตร์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
รสริน เจิมไธสง, และสำลี ทองธิว. (2556). การพัฒนารูป
แบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความ
สามารถในการออกแบบการสอนอย่าง ไตร่ตรอง เชิงวิพากษ์ของนักศึกษาครู. วารสาร
ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(2), 26.
ศักดา ตั้งตระกูล วราพร บัวพรม และปรางทิพย์ เสย
กระโทก (2560). ทัศนคติของนักศึกษาต่อการ
เข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษา วิทยาลัยธาตุพนม
มหาวิทยาลัยนครพนม. รายงานสืบเนื่องการ
ประชุมสัมมนาวิชาการ ในการนำเสนอผล
งานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฎภาคเหนือ ครั้งที่ 17.
พิษณุโลก: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพิบูล
สงคราม. 1184-1189
อมรเทพ สีนวนสูง. 2559. “ความคิดเห็นต่อการเข้าร่วม
กิจกรรมนักศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราช มงคลกรุงเทพ.” Veridian
E-Journal สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์
และศิลปะ 9 (1): 1053-1065.
อนิวัช แก้วจำนงค์. (2552). การจัดการทรัพยากรมนุษย์
= Human resource management.
กรุงเทพฯ : ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะ
เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย
ทักษิณ
อัครเดช เกตฉ่ำ และคณะ, (2559). การวัดและประเมิน
ผลการเรียนรู้ (Learning Measurement and
Evaluation). หนังสือประกอบการเรียนรู้
วิชาพื้นฐานของหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต.
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Heung Vincent, C. S., & Tianming, G. U. (2012).
Influence of restaurant atmospherics
on patron satisfaction and behavioral
intentions. International Journal of Hos
pitality Management, 31(4), 1167-1177.
Internet World Stats. (2018). World Internet Users
and 2018 Population Stats. (Online). from
: http://www.internetworldstats.com/
stats.htm
Jan, B., Marwan, K. & Gareth, G. (2010). E-busi
ness complaint management: percep
tions and perspectives of online credi
bility. Journal of Enterprise Information
Management, 23(5), 653- 660.

เผยแพร่แล้ว

01-06-2021