การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ปัทมาวดี วงษ์เกิด
  • ภัคณิษา อภิศุทภกรกุล
  • สายใจ ทันการ
  • จงกล ศิริประภา
  • วิทวัส สหวงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ และเพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน ที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์  

ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ ปัจจัยภายในชุมชนในด้านทรัพยากรทางวัฒนธรรมซึ่งมีศักยภาพดึงดูดนักท่องเที่ยวมากที่สุด ได้แก่ ด้านเอกลักษณ์ ด้านวิถีชีวิต ภูมิปัญญา และองค์ความรู้ ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี และการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี โดยการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่นักท่องเที่ยวที่สร้างแรงจูงใจให้เดินทางมาท่องเที่ยวมากที่สุดคือ ประวัติศาสตร์ของปราสาทเมืองต่ำ และปัจจัยภายนอกคือจากสื่อมวลชนในด้านการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนบ้านโคกเมืองมากที่สุด 2) รูปแบบการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ นั้น พบว่า สื่อบุคคลมีผลต่อการตัดสินใจมาเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนบ้านโคกเมืองมากที่สุด และสื่อบุคคลก็เป็นสื่อที่นักท่องเที่ยวได้รับข้อมูลในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมากที่สุด จะเห็นว่ารูปแบบการสื่อสารที่พบเป็นรูปแบบการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ และความต้องการเพิ่มเติมของนักท่องเที่ยวด้านการสื่อสาร พบว่านักท่องเที่ยวต้องการให้มีการอัพเดทเว็บไซต์/เฟสบุ๊ค ให้เป็นปัจจุบัน มากที่สุด เพราะสื่อใหม่ยังเป็นประเภทสื่อประชาสัมพันธ์ที่นักท่องเที่ยวนิยมเปิดรับข่าวสารด้านการท่องเที่ยวมากที่สุด และศักยภาพของสื่อประชาสัมพันธ์ในการสร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านโคกเมือง พบว่า ศักยภาพของสื่อใหม่ ยังมีศักยภาพมากที่สุดเช่นเดียวกัน

References

บรรณานุกรม

ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว.(2556). แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม.
ภาควิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ.
สืบค้น 15 ตุลาคม 2563, จาก http://tour ism-dan1.blogspot.com
อัจฉรา ศรีลาชัย. (2559). แนวทางการจัดการรูปแบบ
การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนกรณี
ศึกษาชุมชนบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก
อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. หลักสูตร
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการและ
การท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ
หฤทัย พันธ์จุล. (ม.ป.ป.). โครงการพัฒนาเว็บไซต์
Google Site วิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
สืบค้น 17 ตุลาคม 2563 จาก https://sites.
google.com/site/
มลชลีณา กิตติขจร และคณะ. (2552). กลยุทธ์การสร้าง
แบรนด์กำแพงเพชรเพื่อพัฒนาศักยภาพ
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และ
วัฒนธรรม. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขา
บริหารเชิงกลยุทธ์.มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Tourism local life. (2561). บ้านโคกเมือง. สืบค้น 15
ตุลาคม 2563 จาก https://www.tourism
locallife.com/218217
วงศกร สิงหวรวงศ์. (2561). กระบวนการสื่อสาร และ
ปัจจัยการสื่อสารที่มีผลต่อกระบวนการ
ตัดสินใจเข้าร่วมกลุ่มรณรงค์การใช้จักรยาน
ของกลุ่มปั่นเดะ.ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
(นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม) คณะ
นิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบัน
บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
โปรดปราน รังสิมันตุชาติ. (2557). การสื่อสารเพื่อส่ง
เสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของศูนย์
อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง.นิเทศศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะ
นิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2540). การท่องเที่ยวทาง
วัฒนธรรม.กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุน
สนับสนุนการวิจัย.

เผยแพร่แล้ว

03-03-2021