การพัฒนาแอปพลิเคชันการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เรื่อง พื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของบัณฑิตระดับอุดมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1)เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่เรื่องพื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านแอปพลิเคชันการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่เรื่องพื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อแอปพลิเคชันการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เรื่อง พื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เรียน บัณฑิตระดับอุดมศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 90 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มกลุ่มอย่างง่าย จำนวน 30 คน โดยเครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แอปพลิเคชันการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ โดยใช้สถิติ ร้อยละ เฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1)แอปพลิเคชันการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่เรื่องพื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีคุณภาพด้านประสิทธิภาพของกระบวนการ (=32.53, S.D.=1.67) ด้านประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (=24.60, S.D.=1.92 ) และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.32/82 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ ที่กำหนด
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านแอปพลิเคชันการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่เรื่องพื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ
3) ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อ แอปพลิเคชันการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่เรื่องพื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.63, S.D.= 0.61)
Downloads
Article Details
References
ก่อเกียรติ ขวัญสกุล. (2564). การบูรณาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนานวัตกรรมสื่อโครงการชุมชนท่องเที่ยวโอท้อปนวัตวิถี บ้านวังยาว ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม วารสารศึกษา ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 32(1), 164-184. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/239381
เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2562). วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) https://dol.dip.go.th/th/category/2019-02-08-08-57-30/2019-
ชุติมาธร นะมาเส และ กรวรรณ โหม่งพุฒ. (2567). การพัฒนาแอปพลิเคชันส่งเสริมทักษะสมองเพื่อจัดการชีวิตให้สำเร็จด้านความจำขณะทำงานของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 7(23), 156-166. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/270470
ณาตยา สิงห์สุตีน, และ เสาวคนธ์ จันต๊ะ. (2566). มาตการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาจีนสู่การเรียนรู้ ในวิถีใหม่ (New Normal) สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 34(3), 12-25. https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/education2/article/view/8994
ธเนศ ฉัตรานุฉัตร และเอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2567). การบริหารและการเรียนรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ : กรอบแนวคิดและการพัฒนา. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 7(2), 393-480. https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/4666
ธนวัต สุขจิตร. (2566). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ด้วย Glide App เรื่องกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขาณุวิทยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/6059/3/ThanawatSukjit.pdf
ธัญนันทร์ สัจจะบริบูรณ์ .(2567). การพัฒนาแอปพลิเคชันช่วยสอนทบทวนรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(41), 283-295. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/250525
ไพรัตน์ กลิ่นทับ, พระมหาอุดร อุตฺตโร และ วรกฤต เถื่อนช้าง. (2566). การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษา. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 11(1), 103-116. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jgsnsbc-journal/article/view/267467
พิมพ์ปวีณ์ สุวรรณโณ. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ รายวิชาการวิจัยทางการศึกษา บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. วารสารกลุ่มมนุษยศาสตร์- สังคมศาสตร์, 3(1), 38-49. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/cemt/article/view/12878
เมธาพร นามศรี, ณัฐวงศ์ พูนพล และ สุมิตรา จิระวุฒินันท์. (2563). ผลกระทบของทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อประสิทธิผลในการบริการข้อมูลทางการบัญชีของนักบัญชีธุรกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมในภาค ตะวันออก เฉียงเหนือ. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(2), 371-86. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/mbs/article/view/266826
รุ่งทิวา บุญศรี. (2566). การพัฒนาครูด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในศตวรรษที่ 21.วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(1), 126-135. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/soc-rmu/article/view/257935
รัฐกรณ์ คิดการ, และ ลลิตา ธงภักดี. (2565). การพัฒนารูปแบบการสร้างครูของพระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 6(4), 69-83. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/260968
วิไลวรรณ วงศ์จินดา, นิกร สุกขชาติ และ ธีรชาติ นุสโส. (2566) การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะ Reskill & Upskill และเตรียมความพร้อมรองรับการทำงานในอนาคตหลังวิกฤตการโรคระบาดของ COVID-19, Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(5), 114-127 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/260581
ศุภวิชญ์, นามบุตร. (2565). ทักษะที่พึงประสงค์ของบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานประกอบการเขตนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 21(2), 33-43. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/247784