การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะ Reskill & Upskill และเตรียมความพร้อมรองรับการทำงานในอนาคตหลังวิกฤตการโรคระบาดของ COVID-19

Main Article Content

วิไลวรรณ วงศ์จินดา
นิกร สุกขชาติ
ธีรชาติ นุสโส

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อเสริมทักษะ Reskill & Upskill และการรองรับตลาดแรงงานในช่วงสภาวะสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแอพพลิเคชั่นเพื่อเสริมทักษะ Reskill & Upskill และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษามีต่อแอพพลิเคชั่นเพื่อเสริมทักษะ Reskill & Upskill กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ที่จบการศึกษาในช่วงปี 2556-2560  ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี จำนวน 25 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แอปพลิเคชันเพื่อเสริมทักษะ Reskill & Upskill แบบวัดผลสัมฤทธิ์และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติเพื่อการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) แบบสองกลุ่มที่ไม่อิสระจากกัน (Dependent Samples)
          ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลการพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อเสริมทักษะ Reskill & Upskill และการรองรับตลาดแรงงานในช่วงสภาวะสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 คุณภาพความเหมาะสมของแอปพลิเคชันเพื่อเสริมทักษะ Reskill & Upskill โดยรวมทั้งด้านเนื้อหาและการนำเสนอมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก และมีค่าประสิทธิภาพ 81.67/80.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อแอพพลิเคชั่นเพื่อเสริมทักษะ Reskill & Upskill อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2560). แผนแม่บทหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศระยะ 20 ปี. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์. 5 (3), 7-20.

ธัญนันทร์ สัจจะบริบูรณ์. (2564). การพัฒนาแอปพลิเคชันช่วยสอนทบทวนรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารรัชต์ภาคย์, 15 (41), 284-295.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น

บุญชม ศรีสะอาด. (2557). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น

พิมพ์ปวีณ์ สุวรรณโณ. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ รายวิชาการวิจัยทางการศึกษาบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์สื่อนวัตกรรมและการศึกษาเชิงสร้างสรรค์. 3 (1), 38-49.

วิโรจน์ แกว้เรือง และคณะ. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เรื่อง พื้นฐานการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. 13 (2), 43-57.

สมพร ปานดำ. (2564). พัฒนาทักษะ เพิ่มทักษะและสร้างทักษะใหม่สิ่งสำคัญสำหรับคนอาชีวศึกษาในโลกยุคปกติใหม่. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา. 5 (2). 150-160.

เสาวณี จันทะพงษ์ และคณะ. (2564). Upskill & Reskill: วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันให้ “แรงงานชนะ” ในโลกทำงานยุคดิจิทัล. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.bot.or.th/ Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_2Mar2021.aspx,

อภินันท์ จุ่นกรณ์, ภรัณยา ปาลวิสุทธิ์, มงคล รอดจันทร์ และธานิล ม่วงพูล. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชันตลาดแรงงานท้องถิ่นตามมาตรฐานชุด ISO 9241-151. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. 6 (2), 40-48.

Azmi S., Mat Noor S.F., Mohamed H. (2018). Construction of TVET M-Learning Model based on Student Learning Style. (IJACSA) International Journal of Advanced Computer Science and Applications. 9 (12), 495-499

Falode, O. C., Dine, K., Chukwuemeka, E. J., & Falode, M. E. (2022). Development of an interactive mobile application for learning undergraduate educational technology concepts. International Journal of Professional Development, Learners and Learning, 4 (1), 1-7.

Rouah et al. (2021). Mobile Learning Driving the Development of Higher Education Through a New Vision of Teaching Methods Thanks to Educational Technology.