เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หรือหากมีกรุณาอธิบายในข้อความส่งถึงบรรณาธิการ).
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ OpenOffice, Microsoft Word หรือ RTF
  • มีการให้ URLs สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16 pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt (ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้นิพนธ์ (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสมในบทความ ให้เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนดของวารสารฯ ทั้งในแง่ของรูปแบบและการอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

        1.ส่วนประเภทของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร
               1.1 บทความพิเศษ (Special Article) บทความทางวิชาการพิเศษ ที่เสนอเนื้อหาความรู้วิชาการอย่าง เข้มข้น และผ่านการอ่านและพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นๆ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิชาการในวงการวิชาการ/วิชาชีพ
               1.2 บทความวิจัย (Research Article) ได้แก่ รายงานผลงานวิจัยใหม่ที่มีองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดๆ มาก่อน
               1.3 บทความทางวิชาการ (Academic Articles) ที่เสนอเนื้อหาความรู้วิชาการมีความโดดเด่นเพื่อนําเสนอองค์ความรู้ใหม่สู่สังคม
        2.การส่งบทความ
        บทความที่จะตีพิมพ์ใน Journal of Roi Kaensarn Acadami ให้ผู้เขียนทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
              2.1 ให้ผู้เขียนบทความดาวน์โหลด Template บทความวิจัย หรือ Template บทความวิชาการ บทความพิเศษ  Template บทความปริทรรศน์  ปกิณกะ ซึ่งเป็นตัวอย่างของการเขียนบทความวารสาร โดยสามารถดาวน์โหลดได้ดังนี้
                    2.1.1 Template บทความวิจัย  (.pdf)  ตัวอย่างบทความ (.pdf) (.docx)
                    2.1.2 Template บทความวิชาการ บทความพิเศษ (.pdf)  ตัวอย่างบทความ (.pdf)(.docx)
              2.2 ให้ผู้เขียนบทความดาวน์โหลดหนังสือรับรองก่อนตีพิมพ์บทความใน Journal of Roi Kaensarn Academi โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่ (.pdf)  และให้กรอกรายละเอียดให้ครบถ้วน พร้อมทั้งบทความที่เขียนส่งเข้า คิวอาร์โค้ด Line หน้าเว็บวารสารเพื่อตรวจสอบเบื้องต้น
              2.3 รอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับตามเอกสารที่แนบของผู้เขียนบทความที่ส่งเข้า คิวอาร์โค้ด Line หน้าเว็บวารสาร เจ้าหน้าที่ส่งแบบ Google Form ให้ผู้เขียนดำเนินการตามแบบฟอร์มดังกล่าว
              2.4 เจ้าหน้าที่แจ้งให้เข้าในระบบสมัครสมาชิกออนไลน์ของวารสารและ/หรือ (กรณีผู้สมัครแล้วต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่ 2.1 และ 2.2 เช่นเดียวกัน) ถึงให้เข้าระบบได้ตามลิงค์นี้ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/user/register (สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ระบบ Thaijo) เมื่อส่งบทความเข้าระบบแล้ว เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบและดำเนินการตามขั้นตอนในการจัดทำบทความให้ผู้เขียนบทความทราบตามลำดับต่อไป
        3.การตรวจสอบบทความและพิสูจน์อักษร
               ผู้เขียนควรตระหนักถึงความสําคัญในการเตรียมบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบของบทความที่วารสารกําหนด ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องแน่นอน พร้อมทั้งพิสูจน์อักษรก่อนที่จะส่งบทความให้กับบรรณาธิการ การเตรียมบทความให้ถูกต้องตามข้อกําหนดของวารสารจะทําให้การพิจารณาตีพิมพ์มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาบทความจนกว่าจะได้แก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกําหนดของวารสาร
        4.รูปแบบการจัดเตรียมบทความ
               4.1 สำหรับภาษาไทย บทความต้องเป็นตัวพิมพ์ดีด โดยใช้ชุดแบบอักษร (Font) ชนิดไทยสารบรรณ (TH SarabunPSK) ขนาดอักษร 16 จัดกั้นหลังตรง ส่วนบทความภาษาอังกฤษให้ใช้แบบอักษร Times New Roman ขนาดอักษร 12 ในการจัดให้มีระยะห่างระหว่างบรรทัดหนึ่งช่อง (Double spacing) ตลอดเอกสาร พิมพ์หน้าเดียวลงบนกระดาษพิมพ์สั้นขนาดเอ 4 (A4) ระยะ ขอบกระดาษบน/ล่าง 1 นิ้ว, ซ้าย/ขวา 1 นิ้ว พร้อมใส่หมายเลขหน้ากํากับทางมุมขวาบนทุกหน้า บทความมีความยาวระหว่าง 8-15 หน้ากระดาษ โดย นับรวมภาพประกอบและตาราง
               4.2 ชื่อเรื่องต้องมีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ไว้หน้าแรกตรงกลาง
               4.3 ชื่อผู้เขียน ตําแหน่งทางวิชาการ สาขา คณะ สังกัด/หน่วยงานของผู้ร่วมหรือที่ปรึกษาทุกคน โดยเรียงจากผู้เขียนบทความ 1 ผู้ร่วม 2,3,4 ตําแหน่งใต้ชื่อเรื่อง เยื้องชิดฝั่งขวาของหน้ากระดาษ มี E – mail ที่ติดต่อในการส่งบทความได้
               4.4 มีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 300 คําต่อบทคัดย่อ
               4.5 กําหนดคําสําคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 3-5 คำ
               4.6 การเรียงหัวข้อ หัวข้อใหญ่สุด ให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้าย หัวข้อย่อยเว้นห่างจากหัวข้อใหญ่ 3-5 ตัวอักษรและหัวข้อย่อยขนาดเดียวกันต้องพิมพ์ให้ตรงกัน เมื่อขึ้นหัวข้อใหญ่ควรเว้น ระยะพิมพ์ 0.5 ช่วงบรรทัด
               4.7 การใช้ตัวเลข คําย่อ และวงเล็บ ใช้เป็นตัวเลขอารบิกทั้งหมด ใช้คําย่อที่เป็นสากลเท่านั้น (ระบุคําเต็มไว้ในครั้งแรก) การวงเล็บภาษาอังกฤษ ควรใช้ดังนี้ (Network Organization) เป็นต้น

        บทความวิจัย ให้เรียงลําดับสาระ ดังนี้  
               1) บทคัดย่อ (Abstract)
               2) บทนํา (Introduction) ระบุความสําคัญของปัญหาการวิจัย
               3) วัตถุประสงค์การวิจัย (Research Objectives)
               4) ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) ระบุแบบแผนการวิจัยการได้มาซึ่งกลุ่ม ตัวอย่างและการกําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีการเก็บ รวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
               5) กรอบแนวคิดในการวิจัย
               6) ผลการวิจัย/ผลการทดลอง (Results) เสนอผลที่พบตามวัตถุประสงค์การวิจัยตามลําดับอย่างชัดเจน ควรเสนอในรูปตารางหรือแผนภูมิ
               7) อภิปรายผล/วิจารณ์ (Discussion) เสนอเป็นความเรียง ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยง ของผลการวิจัยกับกรอบแนวคิด และงานวิจัยที่ผ่านมา ไม่ควรอภิปรายเป็นข้อๆ แต่ ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด
               8) ข้อเสนอแนะ (Suggestion) ระบุข้อสรุปที่สําคัญและข้อเสนอแนะในการนําผลการวิจัยไปใช้ และประเด็นสําหรับการวิจัยต่อไป
               9) เอกสารอ้างอิง (References) ต้องเป็นรายการที่มีการอ้างอิงไว้ในเชิงอรรถเท่านั้น เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

        บทความพิเศษ บทความวิชาการ  ให้เรียงลําดับสาระ ดังนี้  
               1) บทคัดย่อ (Abstract)
               2) บทนํา (Introduction)
               3) เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสําคัญที่ต้องการนําเสนอตามลําดับและมีกรอบแนวคิดผลสัมฤทธิ์ของบทความ
               4) บทสรุป (Conclusion)
               5) เอกสารอ้างอิง (References)

        สําหรับการอ้างอิงเอกสารในบทความนั้นใช้ระบบ APA ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยใช้ วงเล็บ เปิด-ปิด และระบุชื่อ-นามสกุล ของผู้เขียน ปี พ.ศ. และเลขหน้า ของเอกสารที่นํามาอ้างอิงกํากับท้ายเนื้อความที่ได้อ้างอิง เอกสารที่อ้างอิงในบทความจะต้องปรากฏในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกรายการ และผู้เขียนบทความต้องรับผิดชอบถึงความถูกต้องของเอกสารที่นํามาอ้างอิงทั้งหมด การอ้างอิงเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ โดยรูปแบบของการอ้างอิงเอกสาร มีดังนี้
               1.หากชื่อผู้แต่งอยู่หน้าข้อความที่อ้างถึงให้ใช้ชื่อผู้แต่ง (ปีที่พิมพ์ : เลขหน้า) เช่น ศิริวรรณ เสรีรัตน์ (2545 : 15-16) หรือ Baruard, Chester L, (1938 : 50)
               2.หากชื่อผู้แต่งอยู่ท้ายข้อความที่อ้างถึง ให้ใช้ (ชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์ : เลขหน้า) เช่น
                    1) กรณีผู้แต่ง 1 คน ให้เขียนเป็น (ชื่อผู้เขียน, ปีที่พิมพ์ : เลขหน้า) เช่น  (ชวลิต ประภวานนท์, 2545 : 19)  หรือ (Chandler, Alfred D, 1962 : 42)
                    2) กรณีผู้แต่ง 2 คน ให้เขียนเป็น (ชื่อที่ 1 และชื่อที่ 2, ปีที่พิมพ์: เลขหน้า) เช่น  (ทองใส นามดี และวิทยา แสงทอง, 2556 : 20)  หรือ (Chandler,Ralph C. and Plano Jack C, 1982 : 3)
                    3) กรณีผู้แต่งมากกว่า 3 คนขึ้นไป ครั้งแรกให้เขียนชื่อผู้เขียนทั้งหมด และครั้งต่อไปให้เขียนเป็นคณะ เช่น (ชื่อผู้เขียนคนที่ 1 และคณะ, ปีที่พิมพ์: เลขหน้า) เช่น (สมศักดิ์ วานิชยาภรณ์ และคณะ, 2556 : 23) หรือ (Argyris et al.,1972 :9)
                    4) การอ้างอิงท้ายบทความ ให้ใช้รูปแบบ APA เวอร์ชัน 6 ดังตัวอย่างนี้ (http://www.apastyle.org)
                         1) หนังสือ
                         ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สํานักพิมพ์. เช่น
                              1.1) ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2543).  2475 การปฏิวัติสยาม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
                              1.2) Simon,Herbert A. (1976). Administrative Behavior. (3rd ed.). New York: The Free Press.
                         2) บทความในวารสาร
                         ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ ปรากฏบทความในวารสาร. เช่น
                              2.1) ฉลอง พัฒนา. (2556). การสร้างฐานความรู้ในการบริหารจัดการชุมชน. วารสารปกครองท้องถิ่น, 1(1), 52-67.
                              2.2) Jurkovich,R (1974). A Core Typology of Organization Environments. Administrative Science Quarterly, 19 (2), 380-394.
                         3) วิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์/สารนิพนธ์/รายงานการวิจัย
                         ชื่อผู้วิจัย. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ระดับของงาน.หน่วยงานที่รับผิดชอบ : มหาวิทยาลัย
                              3.1สมพร เกษตรศิริ (2550). การบริหารจัดการองค์กรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
                              3.2 Jaffee,D. (2001). The Development on New Generation of Thai Farmers to Propel Thai Eeonomy . Research Report. College : Thepsatri Rajabhat University.
                         4) แหล่งข้อมูลจากเว็บไซต์
                          ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ วัน เดือน ปี. แหล่งที่มา : Url
                               4.1 พีรพล หาญพิชัยยุทธ. (2553). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2555.  แหล่งที่มา http://www.buddhismth.com/index.hp?y.
                               4.2 BBC New. (2016). Etnical Alzheimers or Social Advocates solution. Online. Retrieved May 3, 2017. from : http://www.bbc.com/2016/ WORLD
                          5) รายงานการประชุมหรือสัมมนาทางวิชาการ
                          ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ชื่อเอกสารรวมเรื่องรายงานการประชุม. วัน เดือน ปี. สถานที่จัด. สถานที่พิมพ์: สํานักพิมพ์. 
                                5.1 สมาน นิดตาทอง. (2550). การพัฒนาการเรียนรู้แห่งศาสตร์ทางการจัดการ.เอกสารประกอบการประชุมการประสานงานชุมชน. 25 พฤศจิกายน 2550. โรงแรมนภานิมิต. กรุงเทพมหานคร: พิสุดการพิมพ์.
                                5.2 Natthabhan, S. (2000). The Besuty of Wonmen in Theravada Philosopy. Nebraska Symposium on Motivation : voll. 38. Perspectives on Motivation. 18 July 2000. Lincoln. USA: University of Nebraska Prees.
                          6) พจนานุกรม
                          ชื่อหนังสือ. (ปีที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สํานักพิมพ์.
                                 6.1 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2525). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานราชบัณฑิตยสถาน.
                                 6.2 Shoter Oxford English dictionary. (2002). New York: Oxford University Press.
        6.ส่วนภาพประกอบ (Figure) และส่วนตาราง (Table)
        ภาพประกอบและตารางควรมีเท่าที่จําเป็น โดยพิมพ์หน้าละ 1 ภาพ หรือ 1 ตาราง สําหรับคําบรรยายภาพและตารางให้พิมพ์เหนือภาพหรือตาราง ส่วนคําอธิบายเพิ่มเติมให้ใส่ใต้ภาพหรือตาราง